ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คอคอดกระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Idolahu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 14:
'''คอคอดกระ''' หรือ '''กิ่วกระ''' เป็นส่วนที่แคบที่สุดของ[[คาบสมุทรมลายู]]อยู่ในเขตบ้านทับหลี [[ตำบลมะมุ]] [[อำเภอกระบุรี]] [[จังหวัดระนอง]] กับ [[อำเภอสวี]] [[จังหวัดชุมพร]] ประมาณกิโลเมตรที่ 545 ของ[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4]] ห่างจากเขตเทศบาลเมือง 66 กิโลเมตร ในบริเวณนี้มีแผ่นป้ายคอนกรีตขนาดใหญ่จำลอง
 
คอคอดกระ มีระยะทางจากฝั่งทะเลตะวันตกจรดฝั่งตะวันออกกว้างเพียง 50 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนนี้นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ที่ได้รับความสนใจตั้งแต่ในสมัย[[พระนารายณ์มหาราช]] ในการที่จะขุดคลองตัดผ่านจนกระทั่งถึง[[รัชกาลที่ 4]] [[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]คิดจะขุดคอคอดกระเพื่อร่นระยะทางในการเดินเรือจากฝั่ง[[ทะเลอันดามัน]]ข้ามมายังฝั่ง[[อ่าวไทย]] โดยไม่ต้องอ้อมไปทาง[[แหลมมลายู]] แต่เนื่องด้วยความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับ[[จักรวรรดิอังกฤษ|อังกฤษ]]ที่เป็นเจ้าของกิจการท่าเรือใน[[ปีนัง]]และ[[สิงคโปร์]]โครงการนี้จึงต้องระงับไป{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองใน[[ความตกลงสมบูรณ์แบบ|สนธิสัญญาสมบูรณ์แบบ]]ไทยยินยอมที่จะไม่ขุดคลองคอคอดกระหากไม่ได้รับความยินยอมจากอังกฤษก่อน{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
[[ปรีดี พนมยงค์]]ได้เสนอให้ขุดคลอง เมื่อ กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2501]]<ref>[http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=11&s_id=11&d_id=16 บันทึกข้อเสนอเรื่อง ขุดคอคอดกระ ของนายปรีดี พนมยงค์]</ref> แต่ยังคงไม่มีการขุดคลองแต่อย่างใดจวบจนปัจจุบัน ซึ่งมีหลายเหตุผลคัดค้านรวมถึงไม่ต้องการให้ประเทศไทยแยกออกเป็นสองส่วน{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ผนวกกับ[[ประเทศสิงคโปร์]]กลัวจะเสียผลประโยชน์ด้วย{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ใน [[พ.ศ. 2544]] [[วุฒิสภาไทย|วุฒิสภา]]ได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ ผลการศึกษาที่รายงานต่อที่ประชุมมีสาระสำคัญให้เรียกชื่อคลองว่า "[[คลองไทย]]" และบริเวณที่ขุดมิใช่คอคอดกระ เนื่องด้วยเหตุผลทางวิศวกรรมศาสตร์ อันได้แก่สภาพพื้นที่ที่ต้องขุดที่คอคอดกระนั้นเป็นหินและภูเขา และความมั่นคงเนื่องจากบริเวณคอคอดกระอยู่ที่ชายแดนพม่าปาก[[แม่น้ำกระบุรี]] บริเวณที่วุฒิสภาเห็นว่ามีความเป็นไปได้และเกิดประโยชน์สูงสุดในการขุดคลองไทย คือ เส้นทาง 9A ผ่านจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา ระยะทาง 120 กิโลเมตร