ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบทูด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
}}
 
'''กบทูด''' หรือ '''กบภูเขา''' หรือ '''เขียดแลว''' ({{lang-en|Kuhl's creek frog, Giant asian river frog}}; [[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: ''Limnonectes blythii'') เป็น[[กบ]]ขนาดใหญ่ที่สุดในที่พบได้ใน[[ประเทศไทย]] <ref>http://www.focuspaktai.com/index.php?file=news&obj=news.view (id=9724) </ref> ความยาวจากปลาย ปากถึงก้น ประมาณ 1 [[ฟุต]] น้ำหนักกว่า 5 [[กิโลกรัม]] มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณป่าต้นน้ำบนภูเขาสูง อยู่ตามลำห้วย[[ป่าดิบ]]เฉพาะแห่ง โดยพบ[[ภาคตะวันตก]]ของไทย ตั้งแต่[[ภาคเหนือ]]จรด[[ภาคใต้]]ไปจนถึง[[มาเลเซีย]]และ[[อินโดนีเซีย]] เช่นใน[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา]], [[อุทยานแห่งชาติเขาสก]] เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังพบได้ใน[[กัมพูชา]], [[ลาว]] และ[[เวียดนาม]]
 
มีลักษณะ ปลายปากเรียวแหลมจนเห็นได้ชัด ส่วนลำตัวอ้วนใหญ่ ผิวเป็นตุ่มเล็ก ๆ ไม่สะดุดตาดูคล้ายเป็นผิวหนังเรียบ เมื่อโตเต็มที่ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดง ริมฝีปากดำ มีขีดดำจากท้ายตาลากมาจนถึงเหนือวงแก้วหู บริเวณสีข้างอาจมีลาย หรือจุด[[สีดำ]] [[สีน้ำตาล|น้ำตาล]]เข้ม ส่วนขามีลายเข้มคาด เป็นระยะ ๆ นอกจากนี้ ยังพบว่ามันสามารถปรับเปลี่ยนสีผิวไปตามที่อยู่อาศัย เช่น ลำตัวของมันจะมีสีน้ำตาลแดงเมื่ออาศัยอยู่ตามพงหญ้าแห้ง หรือมีสีดำเมื่อหลบซ่อนอยู่ในโพรงไม้ กบทูดเป็นสัตว์ที่มีนิสัยหากินตอน[[กลางคืน]] ชอบสภาพอากาศค่อนข้าง[[เย็น]] เวลากลางวันมักหลบซ่อนอยู่ตามที่มืดทึบ เช่น โพรงไม้, หลุม, พงหญ้า บริเวณเหล่านี้ล้วนมีสภาพ[[ชุ่มชื้น]]อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากกบทูดไม่สามารถอาศัยอยู่ในที่แห้งแล้งหรือร้อนจัดได้นาน เพราะสภาพเช่นนี้จะทำให้ผิวหนังแห้ง อาจทำให้[[ตาย]]ได้
บรรทัด 24:
ความแตกต่างเพศผู้เพศเมีย สามารถดูได้จากระยะห่างระหว่างตากับวงแก้วหู ตัวผู้จะมีระยะห่างดังกล่าวนี้ยาวกว่าตัวเมีย นอกจากนี้ ยังสังเกตได้จากเขี้ยว ซึ่งตัวผู้จะเห็นได้เด่นชัดมากกว่าตัวเมียที่มีลักษณะคล้ายตุ่มเล็ก ๆ และโดยส่วนใหญ่แล้ว กบทูดตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
 
ฤดู[[ผสมพันธุ์]]ของกบทูดอยู่ระหว่างเดือน[[มกราคม]]-[[มีนาคม]] เมื่อช่วงฤดูวางไข่ ตัวผู้จะขุดหลุมสำหรับตัวเมียวางไข่ เวลาผสมพันธุ์ตัวผู้ลงไปอยู่ในหลุมที่มันตัวเองขุด แล้วจะส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์ก็จะลงไปในหลุมนั้น หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันกลบหลุมไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกองหินนูนขึ้นมา ทั้งตัวเมียและตัวผู้จะผลัดกันเฝ้าหลุมไข่พร้อมกับออกหาอาหาร
 
กบทูด จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ใน[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535]] แต่จัดเป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ <ref>[http://www.ubonzoo.com/law/law_department/law_department6.htm กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535]</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กบทูด"