ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชีอะฮ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ในหลายๆประเทศมีศาสนาอิสลามที่มีหลากหลายนิกายปะปนอยู่
ย้อนการแก้ไขของ 182.232.157.9 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย BotKung
บรรทัด 1:
{{อิสลาม}}
ยังไม่ได้บัญญัติไว้ ณ ที่นี้
{{รีไรต์}}สิ่งที่ศาสนาอิสลาม
ในประเทศไทย ที่สตูลมีชัอะห์มากที่สุด จากการคาดเดา
{{โปร}}
'''ชีอะฮ์''' (บ้างสะกด ชีอะห์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งนับถือพระเจ้าพระองค์เดียว และท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นนบีคนสุดท้าย หากแต่มีความแตกต่างกับ[[ซุนนีย์]]ในเรื่องของผู้นำศาสนาต่อจากท่านนบี[[มุฮัมมัด]] ว่ามาจากการแต่งตั้งของ[[อัลลอฮ์]]และท่านนบี[[มุฮัมมัด]]เท่านั้น หากผู้ใดได้ศึกษาประวัติของวันอีดฆอดีรคุมแล้ว จะพบว่าวันนั้นเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งอะลีให้เป็นอิมามหรือผู้นำศาสนาคนต่อไปโดยผ่านท่านนบี(ศ็อลฯ) นั้นคือ[[อิมามสิบสอง]]คน อันได้แก่อิมาม[[อะลีย์]]และบุตรหลานของอิมามอะลีกับท่านหญิงฟาติมะห์(บุตรีของท่านนบี(ศ็อลฯ)อีก 11 คน
 
ชีอะฮ์ ตามความหมายของปทานุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮ์หมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ผู้นำศาสนาหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เสียชีวิตแล้ว เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งชีอะฮ์จึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ
 
ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น
และเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์
 
== ประวัติ ==
 
การเริ่มต้นชีอะฮ์ครั้งแรก เริ่มที่ชีอะฮ์ของอะลี(อ.) ซึ่งทางชีอะฮ์เชื่อว่าท่านคือผู้นำคนแรกจากบรรดาผู้นำ([[อิมามสิบสอง|อิมาม]])ที่บริสุทธิ์ทั้ง 12 ท่าน ภายหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ) ซึ่งชีอะฮ์ของอะลีย์(อ.)ได้เริ่มต้นตั้งแต่ยุคที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่ การเผยแพร่ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ตลอด 23 ปีนั้นเป็นสาเหตุทำให้มีผู้คนจำนวนมากมายเข้ารับอิสลาม มีการเติบโตและเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วการเกิดกลุ่มเล็ก กลุ่มน้อยเป็นเรื่องธรรดาของการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้เกิดขึ้นในหมู่ของเหล่าเศาะฮาบะฮฺ (สหาย) ของท่านศาสดาเช่นกัน
 
อนึ่ง ชื่อกลุ่มแรกที่ถูกกล่าวในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือ ชีอะฮ์ซึ่งหมายถึงท่าน ซัลมาน, อบูซัร, มิกดาด และ[[อัมมาร บินยาสิร]] (ฮาฎิรุ้ลอาลัมมิ้ลอิสลามี 1 : 188)
 
ประการแรก ท่านศาสดาในวันแรกของการแต่งตั้งได้มีบัญชาลงมาว่า ให้ท่านเชิญชวนครอบครัวของท่านเข้ารับศาสนาที่ท่านนำมาเผยแพร่
 
อัลกุรอานกล่าวว่า “จงตักเตือนวงศาคณาญาติของเจ้าที่ใกล้ชิด” (อัชชุอะรออ์:214)
 
ในวันนั้นท่านได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า “ใครก็ตามตอบรับคำเชิญชวนของท่านเป็นคนแรก ท่านจะแต่งตั้งให้เขาเป็นผู้สืบทอดของท่านทันที” และท่านอะลี เป็นคนแรกที่ตอบรับคำเชิญชวนของท่านศาสดา ซึ่งศาสดาก็ได้ปฏิบัติตามคำสัญญาของท่าน *
 
* ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า“ฉันได้กล่าวกับท่านศาสดาว่า ฉันเป็นเด็กกว่าใครเพื่อนและฉันจะได้เป็นตัวแทนของท่านหรือ ขณะนั้นท่านศาสดาได้เอามือมาแตะที่ต้นคอของฉันและกล่าวว่า เขาผู้นี้คือน้องชายของฉันและเป็นตัวแทนของฉัน จำเป็นที่พวกท่านทั้งหลายต้องปฏิบัติตามเขา ซึ่งประชาชนได้พากันหัวเราะเยาะท่านศาสดา และหันไปกล่าวกับอะบีฏอลิบว่า เขาได้สั่งให้ท่านปฏิบัติตามลูกชายของท่าน”
 
(ตารีคฏ็อบรีย์ 2 :321 ตารีคอะบิ้ลฟิดาอฺ 1 :116 อัล-บิดายะฮฺวัลนิฮายะฮฺ3 :39 ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 320)
 
แน่นอนเป็นไปไม่ได้ที่วันแรกของการเผยแพร่ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จะมีคำสั่งให้ผู้คนไปยึดถือ และปฏิบัติตามตัวแทนของท่าน ในวันนั้นท่านได้แนะนำเพียงแค่ว่า อะลีคนนี้ คือ ผู้นำและเป็นตัวแทนของฉันในวันข้างหน้า และตลอดระยะเวลาของการเผยแพร่อิสลาม ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่เคยถอดถอนท่านอะลีออกจากตำแหน่ง ขณะที่ท่านอะลี (อ.) ก็ไม่เคยแสดงตัวให้แตกต่างไปจากคนอื่น
 
ประการที่สอง ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้หลายต่อหลายครั้ง (ทั้งริวายะฮฺที่เป็นมุสตะฟีฏและริวายะฮฺที่เป็นมุตะวาติรฺจากรายงานของซุนนีย์และชีอะฮ์) ว่า “ท่านอะลีนั้นบริสุทธิ์จากความผิดบาปและไม่ผิดพลาดทั้งคำพูดและการกระทำ”
 
ท่านหญิงอุมมุสะลามะฮฺ กล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า อะลีนั้นอยู่กับสัจธรรมและอัล-กุรอาน และสัจธรรมและอัล-กุรอานนั้นอยู่กับอะลีโดยที่ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันจนกว่าจะถึงวันกิยามะฮฺ” หะดีษดังกล่าวนี้มีรายงานจากซุนนีย์ถึง 15 สายรายงาน และจากชีอะฮ์ 11 สายรายงาน ซึ่งมีท่านหญิงอุมมสะลามะฮฺ ท่านอิบนุอับบาส ท่านอบูบักรฺ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ท่านอะลี อบูสะอีดคุดรีย์ อบูลัยลา และอบูอัยยูบอันศอรีย์เป็นผู้รายงาน (ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 539-540)
 
ท่านศาสดาได้กล่าอีกว่า“และทุกๆคำพูดหรือการกระทำที่อะลีได้ทำล้วนตรงกันอย่างสมบูรณ์กับคำเชิญชวนของศาสนา อะลีเป็นผู้ที่มีความรู้ในหลักชะรีอะฮฺ (หลักปฏิบัติ) และความรู้ทั้งหลายของอิสลาม มากที่สุดในหมู่ของประชาชน”
 
และกล่าวอีกว่า “วิทยปัญญานั้นมี 10 ส่วน 9 ส่วนนั้นอยู่ที่อะลีย์ และอีก 1 ส่วนกระจัดกระจายอยู่ในหมู่ของประชาชน” (อัล-บิดายะฮฺวัลนิฮายะฮฺ 7 :359)
 
ประการที่สาม อะลีย์ได้รับใช้อิสลามไว้อย่างมากมาย และการเสียสละของท่านนั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าจะหาสิ่งในมาเทียบเคียงได้ เช่น ท่านเสียสละนอนแทนที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในคืนของการอพยพหรือในสงครามต่างๆ เช่น สงครามอุฮุด คอนดัก คัยบัรฺ และอื่นๆ ซึ่งสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าถ้าในสงครามเหล่านั้นไม่มีท่านอะลีอยู่ แน่นอนอิสลามคงไม่เติบโตจวบจนถึงปัจจุบัน และคงตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของศัตรู หรือถูกขุดรากถอนโคนไปนานแล้ว*
 
* อนึ่ง เมื่อผู้ปฏิเสธชาวมักกะฮฺตัดสินใจว่า ต้องฆ่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โดยได้มาล้อมบ้านตั้งแต่หัวค่ำ ท่านศาสดาจึงตัดสินใจอพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ และก่อนไปท่านได้สั่งแก่ท่านอะลีว่า “อะลีเจ้าพร้อมที่จะนอนแทนที่ฉันไหม เพื่อจะได้อำพรางพวกศัตรูว่า ฉันยังนอนหลับอยู่พวกเขาจะได้ไม่ติดตามฉัน”ท่านอะลีได้ตอบรับคำของท่านศาสดาด้วยกับความกล้าหาญทั้งที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
 
ประการที่สี่ เหตุการณ์เกี่ยวกับเฆาะดีรคุม เป็นเหตุการณ์ที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำการแต่งตั้งท่านอะลี(อ.) ให้เป็นตัวแทนของท่านต่อหน้าสาธารณชนอย่างเป็นทางการ และถือว่าท่านอะลี(อ.) คือ “ผู้สืบต่อของท่าน”
 
หะดีษเกี่ยวกับอีดฆอดีรคุม เป็นหะดีษที่ชัดเจนอย่างยิ่งในหมู่ของ ซุนนีย์และชีอะฮ์ซึ่งได้มีเศาะฮาบะฮฺเกินกว่า 100 คนเป็นผู้รายงานด้วยตัวบท และสายรายงาที่แตกต่างกันและมีบันทึกไว้ทั้งในตำราของซุนนีย์และชีอะฮ์ หารายเอียดเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 79, หนังสืออัลเฆาะดีร อัลลามะฮฺอามีนี
 
แน่นอน อะลี(อ.) นั้นมีความประเสริฐเฉพาะตัว ที่แตกต่างไปจากคนอื่นซึ่งเป็นที่เห็นพร้องต้องกันของทุกฝ่ายดังที่มีบันทึกไว้ในตำราต่างๆมากมายเช่น ตารีคยะอฺกูบีย์ พิมพ์ที่นะญัฟ 2 :138 -140 ตารีคอะบิ้ลฟิดาอฺ 1 : 156 เศาะฮีย์บุคคอรีย์ 4 : 107 มุรูญุซซะฮับ 2 : 437 อิบนุอะบิ้ลหะดีด 1 : 127 และหน้าที่ 161 เป็นต้น
 
ความรักที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีต่อท่านอะลี(อ.) ซึ่งท่านได้แสดงอย่างอย่างเปิดเผยมีบันทึกอยู่ใน (เศาะฮีย์มุสลิม 15 : 176 เศาะฮีย์บุคคอรีย์ 4 : 207 มุรูญุซซะฮับ 2 : 23 – 2 : 437 ตารีคอะบิ้ลฟิดาอฺ 1 : 127 และหน้าที่ 181 )
 
โดยธรรมชาติแล้วเศาะฮาบะฮฺส่วนหนึ่งที่มีความเข้าใจถึงแก่นแท้ของความจริง เกิดความหวัง และรอคอยว่า วันหนึ่งข้างหน้าพวกเขาจะได้ปฏิบัติตามท่านอะลี(อ.)เหมือนกับวันนี้ที่พวกเขาได้ปฏิบัติตามท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แต่มีเศาะฮาบะฮฺอีกส่วนหนึ่ง ไม่พอใจต่อการกระทำของท่านศาสดา พวกเขามีความอิจฉาริษยาและเกิดอัคติในใจขึ้น
 
และนอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวมาแล้วนามของชีอะฮ์อะลี(อ.)หรือชีอะฮ์อะฮฺลุลบัยตฺได้ถูกท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวเรียกไว้อย่างมากมายหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน*
 
* ท่านญาบีรฺกล่าวว่า ฉันได้นั่งอยู่ใกล้ๆกับท่านศาสดา และขณะนั้นได้เห็นท่านอะลีเดินมาแต่ไกลซึ่งท่านศาสดาได้กล่าวขึ้นว่า“ฉันขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในฝ่ามือของเขาว่า ชายผู้นี้และชีอะฮ์ของเขาคือผู้สัตย์จริง ที่จะได้รับความช่วยเหลือในวันกิยามะฮฺ” ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่าเมื่อโองการ“แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และประพฤติสิ่งดีงามต่างๆ พวกเขาเหล่านั้นเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุด” (อัล-บัยยินะฮฺ: 7) ได้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับท่านอะลีว่า หลักฐานที่ยืนยันถึงโองการดังกล่าวคือเจ้าและชีอะฮ์ของเจ้า ซึ่งในวันกิยามะฮฺเจ้าจะพึงพอใจในพระองค์ และพระองค์ทรงพึงพอพระทัยต่อเจ้า” (หะดีษทั้งสองกับอีกหลายหะดีษมีกล่าวไว้ใน ตับสีรฺอัด-ดูรุ้ลมันษูรฺ 6 : 379 และฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 326 )
 
== หลักศรัทธาของชีอะฮ์ ==
 
1. เตาฮีด (เอกภาพ) คือศรัทธาว่าอัลลอฮ์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากพระองค์ ศรัทธาว่าพระองค์มีอำนาจเหนือทุกสิ่ง พระองค์เป็นพระผู้ทรงสร้าง และพระผู้ทรงกำหนด
 
2. อะดาละฮฺ (ความยุติธรรม) คือศรัทธาว่าอัลลอฮ์ทรงยุติธรรมยิ่ง
 
3. นุบูวะฮฺ (ศาสดาพยากรณ์) คือศรัทธาว่าอัลลอฮ์ได้ทรงส่งศาสนทูตต่าง ๆ ที่อัลลอฮฺได้ทรงส่งมายังหมู่มนุษย์ และนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย ที่ได้รับคัมภีร์อัลกุรอาน ในนั้นมีคำสั่งสอนให้มนุษย์ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ศรัทธาในบรรดามะลาอิกะฮฺ ทาสผู้รับใช้อัลลอฮฺ มีบทบัญญัติ และพงศาวดารของประชาชาติในอดีต เพื่อเป็นข้อคิดและอุทธาหรณ์
 
4. อิมามะฮฺ (การเป็นผู้นำ) ศรัทธาว่าผู้นำสูงสุดในศาสนาจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก[[ศาสนทูตมูฮัมมัด]]เท่านั้น จะเลือกหรือแต่งตั้งกันเองไม่ได้ ผู้นำเหล่านั้น มี 12 คนคือ อะลี บินอะบีฏอลิบและบุตรหลานของ[[อะลี]] และ[[ฟาฏิมะฮฺ]]อีก 11 คน
 
5. มะอาด (การกลับคืน) ศรัทธาในวันฟื้นคืนชีพ คือหลังจากสิ้นโลกแล้ว มนุษย์จะฟื้นขึ้น เพื่อรับการตอบสนองความดีความชั่วที่ได้ทำไปบนโลกนี้
 
== ที่มาหลักศรัทธาชีอะฮ์ ==
 
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้กล่าวว่า
أُوْصِيْكُمْ بِكِتَابِ اللَّهِ وَ أَهْلِ بَيْتِي
ฉันขอสั่งเสียพวกท่าน(จงปฏิบัติ)ตามคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน
ดู หนังสือ อัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 286 หะดีษที่ 1
หลักอีหม่าน ที่ได้รับจาก อัลกุรอ่าน
يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُواْ آمِنُواْ بِاللّهِ وَرَسُوْلِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِيْ نَزَّلَ عَلَى رَسُوْلِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِيْ أَنْزَلَ مِن قَبْلُ وَمَن يَكْفُرْ بِاللّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلاَلاً بَعِيْدًا
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงศรัทธาต่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ และคัมภีร์(อัลกุรอาน)ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาแก่รอซูลของพระองค์ และคัมภีร์ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาก่อนหน้านั้น และผู้ใดไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และมลาอิกะฮ์ของพระองค์และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์และบรรดารอซูลของพระองค์ และวันสิ้นโลก แน่นอนเขาได้หลงทางอย่างห่างไกล ซูเราะฮ์ อันนิซาอ์ : 136
โองการนี้ระบุว่าอีหม่านมี 5 ประการคือ
1.การศรัทธาต่ออัลลอฮ์
2.มลาอิกะฮ์ของอัลลอฮ์
3.บรรดาคัมภีร์ของอัลลอฮ์
4.บรรดารอซูลของอัลลอฮ์
5.วันสิ้นโลก
หลักอีหม่าน ที่ได้รับจาก อะฮ์ลุลบัยต์นะบี
อิม่ามอาลี (อ) รายงาน عَنْ أَبَانَ بْنِ أَبِي عَيَّاشٍ عَنْ سُلَيْمِ بْنِ قَيْسٍ قاَلَ : سَمِعْتُ عَلِيَّ بْنَ أَبِي طَالِبٍ عَلَيْهِ السَّلَام وَسَأَلَهُ رَجُلٌ عَنِ الْإِيْماَنِ فَقاَلَ : يَا أَمِيرَ الْمُؤْمِنِينَ، أَخْبِرْنِي عَنْ الْإِيْمَانِ ، لَا أَسْأَلُ عَنْهُ أَحَدًا غَيْرَكَ وَلاَ بَعْدَكَ فَقَالَ عَلِىٌّ عَلَيْهِ السَّلاَمُ : جَاءَ رَجُلٌ إِلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَسَأَلَهُ عَنْ مِثْلِ مَا سَأَلْتَنِى عَنْهُ ، فَقَالَ لَهُ مِثْلَ مَقاَلَتِكَ، فَأَخَذَ يُحَدِّثُهُ. ثُمَّ قَالَ لَهُ : اُقْعُدْ (بَعْضُ رِواَيَةٍ اِفْعَلْ). فَقَالَ لَهُ : آمَنْتُ. ثُمَّ أَقْبَلَ عَلِىٌّ عَلَيْهِ السَّلَام عَلَيَ الرَّجُلِ فَقَالَ : أَمَا عَلِمْتَ أَنَّ جِبْرَئِيلَ أَتَى رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ فِى صُورَةِ آدَمِىٍّ قَالَ لَهُ : مَا الْإِسْلَامُ فَقَالَ : شَهَادَةُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ وَإِقَامُ الصَّلَاةِ وَإِيتَاءُ الزَّكَاةِ وَحَجُّ الْبَيْتِ وَصِيَامُ شَهْرِ رَمَضَانَ وَالغُسْلُ مِنْ الْجَنَابَةِ فَقَالَ : وَمَا الْإِيمَانُ قَالَ : تُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَبِالْحَيَاةِ بَعْدَ الْمَوْتِ وَبِالْقَدَرِ كُلِّهِ خَيْرِهِ وَشَرِّهِ وَحُلْوِهِ وَمُرِّهِ. فَلَمَّا قَامَ الرَّجُلُ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ : هَذاَ جِبْرَئِيلُ ، جاَءَكُمْ لِيُعَلِّمَكُمْ دِيْنَكُمْ . فَكَانَ كُلَّمَا قَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ شَيْئاً قاَلَ لَهُ : صَدَقْتَ قاَلَ : فَمَتَى السَّاعَةُ قَالَ : مَا الْمَسْئُولُ عَنْهَا بِأَعْلَمَ مِنْ السَّائِلِ قاَلَ : صَدَقْتَ อะบาน บิน อะบี อัยยาช รายงานจากสุลัยม์ บิน ก็อยส์(มรณะ ฮ.ศ.90)เล่าว่า ฉันได้ยินอิมามอาลี บิน อะบีตอลิบ(อ)เล่าว่า มีชายคนหนึ่งได้ถามอิมามเกี่ยวกับเรื่องอีหม่าน เขากล่าวว่า โอ้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน จงบอกฉันเกี่ยวกับเรื่องอีหม่าน ฉันไม่เคยถามมันกับผู้ใดนอกจากท่านและหลังจากท่าน อิมามอาลี(อ)ได้กล่าวว่า มีชายคนหนึ่งไปหาท่านนบี(ศ)แล้วเขาได้ถามเหมือนที่ท่านถามฉันถึงมัน แล้วเขาได้กล่าวกับท่าน(ศ)เหมือนคำพูดของท่านเลย ดังนั้นอิมามจึงเริ่มเล่าเรื่องให้เขาฟัง จากนั้นอิมามได้กล่าวกับเขาว่า จงนั่งลงสิ (บางรายงานกล่าวว่า จงปฏิบัติตามสิ่งที่ฉันจะกล่าวดังต่อไปนี้ เมื่อท่านได้ปฏิบัติมันแล้วท่านจะปลอดภัยเพราะอีหม่านคือการปฏิบัติ) เขากล่าวกับอิมามว่า ฉันเชื่อครับ แล้วอิมามอาลีได้หันมาหาชายคนนั้นพลางกล่าวว่า ท่านรู้ไหมว่า ญิบรออีลได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ในรูปมนุษย์ แล้วเขาได้กล่าวกับท่าน(ศ)ว่า อิสลาม ( ฟุรูอุดดีน ) คืออะไร ท่าน(ศ)ตอบว่า คือการปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และแท้จริงมุฮัมมัดคือศาสนทูตของอัลลอฮ์ ดำรงนมาซ จ่ายซะกาต ทำฮัจญ์ ถือศีลอดในเดือนรอมะฎอน และอาบน้ำฆุซุ่ลญินาบะฮ์ และญิบรออีลได้กล่าวว่า อีหม่าน ( อุซูลุดดีน ) คืออะไร ท่าน(ศ)ตอบว่า อีหม่านคือการที่ท่าน 1.ต้องศรัทธาต่ออัลลอฮ์ 2.มลาอิกะฮ์ของพระองค์ 3.บรรดาคัมภีร์ของพระองค์ 4.บรรดาศาสนทูตของพระองค์ 5.ต่อชีวิตหลังความตาย(คือวันสิ้นโลก) 6.และต้องศรัทธาต่อการกำหนดกฎสภาวะการณ์ทั้งหมดของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความดีและความชั่วของพระองค์ ความหวานและความขมของพระองค์ เมื่อชายคนนั้นได้ลุกจากไป ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้กล่าวว่า ชายคนนี้คือท่านญิบรออีล เขามาหาพวกท่านเพื่อสอน(หลักสำคัญของ)ศาสนาของพวกท่าน ให้กับพวกท่าน แล้วปรากฏว่าทุกครั้งที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ตอบสิ่งใดกับเขา เขาได้กล่าวกับท่าน(ศ)ว่า ท่านกล่าวถูกต้องแล้ว ญิบรออีลได้ถามว่า เมื่อใดจะถึงวันกิยามะฮ์ ท่าน(ศ)ตอบว่า ผู้ถูกถามเกี่ยวกับมันนั้นไม่ได้มีความรู้มากไปกว่าผู้ที่ถามเลย ญิบรออีลได้กล่าวว่า ท่านกล่าวถูกต้องแล้ว.
ดู กิตาบสุลัยม์ บิน ก็อยส์ อัลฮิลาลี บาบมะอ์นา อัลอิสลาม วัลอีหม่าน หน้า 87,88
อิม่ามอาลีรายงานจากท่านนะบี(ศ)ว่า อีหม่าน มี 6 ประการ 1. การศรัทธาต่ออัลลอฮ์ 2. มลาอิกะฮ์ของพระองค์ 3. บรรดาคัมภีร์ของพระองค์ 4. บรรดาศาสนทูตของพระองค์ 5. ต่อชีวิตหลังความตาย(คือวันสิ้นโลก) 6. กฎกำหนดสภาวะ ความดีและความชั่วของพระองค์
== อธิบายความหมายของ อีหม่าน 6 ประการ ==
1. ศรัทธา ใน พระเจ้าองค์เดียว คือ อัลลอฮ์ อิสลามถือว่า ในสากลจักรวาลทั้งหลายมี พระเจ้าที่เที่ยงแท้ เพียงองค์เดียว เป็นผู้สร้างสากลจักรวาลและ เป็นผู้บริหารควบคุม โลกนี้มิใช่เกิดมาด้วยความบังเอิญ ถ้าเกิดมาโดยบังเอิญ มันจะมีระบบระเบียบแบบแผน ในการโคจรไม่ได้ โลก ดวงอาทิตย์ และ ดวง จันทร์ ได้หมุนโคจรอย่างมีระบบ รักษาตำแหน่งหน้าที่ของมัน อย่างคงเส้น คงวา นับเป็นเวลานานไม่รู้กี่ล้านปี โดยที่มันไม่เคยชนกันเลย นี่ต้องแสดงว่ามีผู้บริหาร และต้องมีผู้ควบคุมมัน
2. ศรัทธาในบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์ มลาอิกะฮ์ คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่าง พระผู้เป็นเจ้า กับ ศาสดา ทั้งหลาย เพื่อจะได้ให้ ศาสดาดังกล่าวได้รับวิวรณ์จากอัลลอฮ์ มนุษย์เราแม้จะมีปัญญาสักปานใดก็ตาม ก็ต้องอาศัยสื่อภายนอกด้วยเหมือนกัน เช่น มนุษย์นั้น แม้จะมีสายตาดีสักเพียงใดก็ตาม เขาก็ไม่สามารถมองเห็นวัตถุใดๆ ได้เลยถ้าหากไม่มีแสงสว่างเป็นสื่อ คำว่า มลาอิกะฮ์ หาคำศัพท์แปลเป็นภาษาไทยไม่ได้ มลาอิกะฮ์ เป็นนามธรรม ไม่ใช่ เทวทูต เทวดา หรือ ทูตสวรรค์ แต่ในศาสนาอิสลาม ถือว่า มลาอิกะฮ์ ไม่มีเพศ ไม่ขัดขืนคำสั่งของอัลลอฮ์ ไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่หลับ ไม่นอน มลาอิกะฮ์คือ อำนาจแห่งความดี ส่วนอำนาจแห่งความชั่วนั้นคือ ชัยฎอน หรือซาตาน หรือ มาร นั่นเอง ดังนั้น มลาอิกะฮ์ จึงไม่ใช่ เทวดา และ นางฟ้า
3.ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ ทั้งหลายของพระองค์ มุสลิมต้องเชื่อถือ ต้นฉบับดั้งเดิมของคัมภีร์ทั้งหลายทุกๆเล่มในอดีตรวมทั้งอัลกุรอานด้วย ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่า คัมภีร์เหล่านั้นต้องเป็น วะห์ยู(ได้รับการดลใจ) มาจากอัลลอฮ์และ ต้องมีเนื้อหาสาระตรงกับอัลกุรอาน มุสลิมต้องเชื่อถือ ในส่วนบริสุทธิของคัมภีร์เท่านั้น อิสลามถือว่า คัมภีร์ที่สมบูรณ์ที่สุด และเป็นคัมภีร์สุดท้ายคือ อัลกุรอาน ซึ่งได้ถูกประกาศใช้ต่อมวลมนุษย์ชาติทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและ ความสันติสุข แก่มวลมนุษย์ทุกคน
4.ศรัทธาในบรรดานะบี(ศาสดา)ทั้งหลาย มุสลิมทุกคน ต้องยอมรับนับถือศาสดาทั้งหลายที่มาเทศนานับตั้งแต่นะบีอาดัม(อ)จนถึงนะบีมุฮัมมัด(ศ) ไม่ว่าศาสดาเหล่านั้นจะปรากฏชื่ออยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่า ศาสดาเหล่านั้น จะเป็นชนชาติใด อยู่ที่ไหน พูดภาษาอะไร ก็ตามมุสลิม ต้องให้เกียรติ ยกย่องศาสดาเหล่านั้น อย่างเท่าเทียมกันหมด นะบีมุฮัมมัด(ศ)เป็นศาสดาสุดท้ายของโลก ที่มารับภารกิจต่อจากศาสดาก่อนๆที่เชิญชวนมนุษย์ให้รู้จักพระเจ้า และดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระองค์ ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวว่า หลังจากท่านแล้วจะไม่มีศาสดาเกิดขึ้นมาอีกเพราะถือว่า ท่านได้นำคำสอน หรือ แนวทางแห่งการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์มาสู่มนุษย์ชาติแล้ว ก่อนที่ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)จะจากไป ท่านได้ประกาศแต่งตั้ง อาลี บิน อะบีตอลิบ ให้เป็นผู้ปกครองบรรดามุสลิมสืบต่อจากท่านไว้ที่ เฆาะดีรคุม ประเทศซาอุดิอารเบีย และท่าน(ศ)ยังได้ประกาศว่าผู้ปกครองที่สืบต่อจากท่านนั้นมีสิบสองคน โดยท่านได้ระบุรายชื่อพวกเขาเอาไว้อย่างชัดเจน หลังจากท่านนะบี(ศ)เสียชีวิต มุสลิมกลุ่มหนึ่งจึงถือว่าเรื่อง อิมามะฮ์ หรือ คอลีฟะฮ์นั้นเป็นสิทธิของท่านอาลีเท่านั้น ท่านนะบี(ศ)ได้เรียกชื่อมุสลิมกลุ่มนี้ว่า ชีอะฮ์อาลี
5. ศรัทธาในวันสุดท้าย และ การเกิดใหม่ ใน วันปรโลก อิสลามถือว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้ เป็นเพียงวัตถุธาตุชิ้นหนึ่ง ซึ่งต้องมีการแตกสลายเหมือนๆกับวัตถุหรือสิ่งอื่นๆ แน่นอนโลกของเรา ต้องถึงจุดจบไม่วันใดก็วันหนึ่ง เมื่อโลกแตกสลายแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับสิ้น เว้นแต่ อัลลอฮ์เท่านั้นที่ยังดำรงอยู่ และมนุษย์ทั้งหลาย ก็จะไปฟื้นคืนชีพใหม่อีกครั้งในโลกหน้า แต่จะไปเกิดในสภาพใดนั้นไม่มีมนุษย์ผู้ใดรู้ได้ การฟื้นขึ้นใหม่อีกในครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะให้มนุษย์รับผลตอบแทนตามที่เขาได้กระทำไว้เมื่อครั้งที่เขา ยังมีชีวิตอยู่ ผลงานของเขาในโลกนี้ จะเป็นตัวกำหนด ว่าเขาจะเป็นผู้ได้รับสวรรค์ หรือ นรก ไม่มีใครช่วยใครได้ ไม่มีการกลับชาติมาเกิด ถ้าเราไม่เชื่อในเรื่องการฟื้นขึ้นใหม่แล้ว สังคมของเราก็จะสับสนปั่นป่วนวุ่นวาย หาความสงบสุขไม่ได้ ดังเช่น พวกอาหรับ ในยุคญาฮิลียะฮ์ (ยุคแห่งอวิชาและป่าเถื่อน) ซึ่งเชื่อว่าเมื่อพวกเขาเกิดมาแล้วก็ตายไป คือตายแล้วศูนย์ เหมือนดังสัตว์อื่นๆ ความดี ความชั่ว ที่เขาได้กระทำมานั้น ไม่มีการตอบแทนใดๆทั้งสิ้น ดังนั้น พวกเขาจึงใช้ชีวิตความเป็นอยู่ ไปในทางชั่วช้าทุกรูปแบบ จนสร้างความเสียหายปั่นป่วนให้แก่สังคมเป็นอย่างยิ่ง
6.ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวะของพระองค์ คือต้องศรัทธา ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายในสากลจักรวาลนี้ล้วนเกิดขึ้นมา และดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ของอัลลอฮ์ทั้งสิ้น เช่น ไฟ มีคุณสมบัติ ร้อน น้ำไหลจากที่สูง ลงสู่ที่ต่ำแพะ แกะ วัว ควาย สุนัข ออกลูกเป็นตัว นก เป็ด ไก่ ออกลูกเป็นไข่ ต้นมะม่วงต้องออกลูกเป็นมะม่วง ต้นกล้วยจะออกลูกเป็น ต้น แอปเปิลไม่ได ทุกๆชีวิตต้องตาย นี่คือ กฎกำหนดสภาวะของอัลลอฮ์ หมายความว่า กฎ ธรรมชาติทั้งหลายนั้น อัลลอฮ์ เป็น ผู้ทรงสร้าง และ ควบคุม มัน ส่วนการกำหนด สภาวะในหลัก จริยธรรม ความดี ความชั่ว นั้น พระองค์จะเป็นผู้บอก เราเองว่า อะไรคือ ดี และอะไรคือ ชั่ว แต่สิ่งที่ใช้วัดความดีความชั่วนั้น ในอิสลาม ถือ ว่ามันไม่ได้มาจาก มติบุคคล หรือ มติของ มหาชน มิได้อาศัย ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือ ความนิยม หรือสิ่งแวดล้อม เป็น เครื่อง กำหนด เพราะถ้ามนุษย์เป็น ผู้กำหนดความดี ความชั่วแล้ว มาตรฐานความดีของมนุษย์ก็จะ แตกต่างกัน การที่มนุษย์ ได้กระทำความดี ความชั่วนั้น อัลลอฮ์ ไม่ได้เป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของเขา ไว้ล่วงหน้ามาก่อน สิ่งเหล่านี้มันขึ้นอยู่กับการกระทำ หรือ การตัดสินใจของมนุษย์เอง เพราะอัลลอฮ์ ได้ให้ความคิด อิสระเสรี แก่เขา ในการที่เขาจะเลือกทางเดินของเขาเอง ดังนั้นเหตุการณ์ต่างๆที่ สับสน วุ่นวาย อยู่ในบ้านเมือง หรือ สังคมนั้น มันเกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเองทั้งสิ้น มิใช่เกิดขึ้นจาก การกำหนด หรือการ ลิขิต ของ พระผู้เป็นเจ้า ความจน ความ รวย ความทุกข์ทรมาน ความทุกข์ยาก ความขมขื่น ที่เกิดแก่มนุษย์นั้น ก็เนื่องมาจากผู้ปกครองขาดความรับผิดชอบนั่นเอง การที่อัลลอฮ์ไม่ได้ เป็นผู้ขีดชะตากรรมของผู้ใดไว้ล่วงหน้ามานั้นก็เพื่อที่จะให้มนุษย์ได้มีความรับผิดชอบในการงานของตนเองที่ได้กระทำไว้ ความเชื่อเกี่ยวกับความดีและความไม่ดีที่อัลลอฮ์กำหนดนั้น พวกขวาสุดโต่งเชื่อว่า อัลลอฮ์กำหนดให้คนหนึ่งเป็นคนดีดังนั้นเขาจึงได้เข้าสวรรค์ และทรงกำหนดให้อีกคนหนึ่งทำความชั่วแล้วก็ทรงลงโทษเขาต่อความผิดกลุ่มนี้ชื่อว่า”พวกญับรียะฮ์” อีกพวกหนึ่งก็ซ้ายตกขอบเพราะเชื่อว่า อัลลอฮ์ทรงมอบเสรีภาพในการกระทำและการแสวงหาปัจจัยต่างๆให้เขาตามใจปรารถนา โดยที่พระองค์จะไม่เข้าไปก้าวก่ายเขาเลยสักนิด กลุ่มนี้ชื่อว่า “พวกตัฟวีฎ” เกี่ยวกับคนสองกลุ่มนี้ อิม่ามญะอ์ฟัร(อ)ได้สอนชีอะฮ์ว่า > لاَ جَبْر وَلاَ تَفْوِيْض بَلْ أمرٌ بَيْنَ أَمْرَيْنِ (เรา)ไม่ใช่พวกญับร์และไม่ใช่พวกตัฟวีฎ แต่ทว่า(ความเชื่อที่ถูกต้องนั้นเรา)อยู่ระหว่างสองเรื่อง < ชีอะฮ์อยู่ระหว่างทางสายกลางของสองความเชื่อนี้กล่าวคือ ชีอะฮ์เชื่อว่า อัลลอฮ์ตะอาลาทรงทำให้มนุษย์มีความสามารถบนการกระทำของเขา และทรงวางขอบเขตในการกระทำไว้ให้กับพวกเขา ทรงห้ามปรามพวกเขาให้ออกห่างจากสิ่งไม่ดีสิ่งชั่วร้ายและทรงสัญญาว่าจะลงโทษถ้าฝ่าฝืน และพระองค์ไม่เคยบังคับใครให้กระทำความชั่วและก็ไม่เคยปล่อยให้พวกเขากระทำชั่วโดยเสรี เพราะอัลลอฮ์ทรงรับสั่งมนุษย์ให้ทำความดีและทรงสั่งห้ามในเรื่องการทำความชั่ว นี่คือความเชื่อของชีอะฮ์ที่แตกต่างจากพวกญับรียะฮ์และพวกตัฟวีฎ หากถามว่า ความชั่วร้ายเลวทรามเกิดจากใคร อัลลอฮ์ ตะอาลา ตรัสว่า مَّا أَصَابَكَ مِنْ حَسَنَةٍ فَمِنَ اللّهِ وَمَا أَصَابَكَ مِن سَيِّئَةٍ فَمِن نَّفْسِكَ ความดีใดๆ ที่มาประสบแก่เจ้านั้นมาจากอัลลอฮ์ และความชั่วใดๆ ที่มาประสบแก่เจ้านั้นมาจากตัวของเจ้าเอง (อันนิซาอ์ : 79) เราเชื่อว่าเป็นไม่ได้ที่อัลลอฮ์จะทรงกำหนดให้มนุษย์คนหนึ่งเป็นคนชั่ว แล้วเอาเขาลงนรกเพราะเหตุที่เขาถูกกำหนดให้ทำชั่ว หากอัลลอฮ์ทรงกำหนดเช่นนั้นจริง ย่อมถือว่าอัลลอฮ์ไม่มีความยุติธรรมต่อมนุษย์และนั่นคือการอธรรม(ซอเล็ม) อัลลอฮ์ ตะอาลา ตรัสว่า أَلاَ لَعْنَةُ اللّهِ عَلَى الظَّالِمِينَ จึงรู้เถิดว่า อัลลอฮ์ทรงละอ์นัต(สาปแช่ง)คนซอเล็ม(ผู้อธรรม)ทั้งหลาย (ฮูด : 18) อัลลอฮ์คือผู้สร้างความชั่วร้ายจริงหรือ อัลลอฮ์ ตะอาลา ตรัสว่า مِن شَرِّ مَا خَلَقَ จากความชั่วร้ายที่พระองค์ทรงสร้างมา (อัลฟะลัก : 2) ชัรรุน – شَـرٌّ “ แปลว่า สิ่งไม่ดี,ความชั่วร้าย,ความเลว,อันตราย อธิบาย : ท่านต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนว่า ในตัวมนุษย์และทุกสิ่งในโลกนี้ มีทั้งสิ่งดีและไม่ดีอยู่ในตัวเองอย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต วัตถุหรือไม่ใช่วัตถุ มนุษย์หรือญิน หรือสัตว์ร้ายเช่นสิงห์โต,เสือ แมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานเช่น แมงป่อง,ตะขาบ,งูเห่า ต้นไม้ใบหญ้าพืชผักผลไม้ล้วนมีทั้งสรรพคุณและเป็นพิษเป็นอันตราย หรือโรคภัยไข้เจ็บ หรือภัยธรรมชาติเช่นลมพายุ,น้ำท่วม หรือชัยตอนมารร้ายที่มองไม่เห็นที่คอยกระซิบกระซาบจิตใจมนุษย์... สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความเดือดร้อนให้คนเราได้ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะความเป็นอยู่ของแต่ละคนว่าจะเผชิญกับสภาวะการณ์เช่นใด มนุษย์บางคนทุ่มเทชีวิตค้นคว้าตัวยาเพื่อรักษาโรคที่รักษาไม่หายจนหายได้ และมนุษย์บางคนก็ผลิตสารเคมีมาเพื่อทำลายชีวิตมนุษย์นับล้านคน มนุษย์ระเบิดภูเขามาสร้างอาคารบ้านเรือนเพื่อปกป้องชีวิตให้พ้นภัยอันตราย แต่ก้อนหินเหล่านั้นก็สามารถทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตายได้เช่นกัน สิงห์โตเป็นสัตว์ดุร้ายคร่าชีวิตมนุษย์ได้ในพริบตา แต่มนุษย์ก็สามารถฝึกฝนจนมันเชื่องนำมาแสดงละครสัตว์ให้ความเพลิดเพลินได้เช่นกัน แมงป่องทะเลทรายมีพิษร้ายแรงมากถ้าถูกต่อยก็ตายได้ แต่พิษของมันก็สามารถรักษาคนเป็นอัมพาตให้หายได้ งูเห่าฉกคนตายได้และพิษงูเห่าก็ผลิตเป็นเซรุ่มได้ด้วยเช่นกัน ลมและน้ำมีทั้งคุณและโทษ ถ้าลมไม่พัดอากาศจะร้อน แต่ถ้าพัดแรงก็กลายเป็นพายุ ถ้าฝนไม่ตกก็เกิดภัยแล้ง แต่ถ้าตกชุกมากไปน้ำก็ท่วม อัลลอฮ์ตะอาลาไม่ได้สร้างสิ่งเหล่านี้มาให้โทษให้ร้ายกับมนุษย์ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นมันขึ้นอยู่ที่สภาวะการณ์และตัวแปร เพราะฉะนั้นเราจะเหมาเอาสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นจากคนและสิ่งต่างๆที่เราเผชิญกับมันมาปรักปรำว่า อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะให้สิ่งร้ายๆเกิดขึ้นกับเรานั้นไม่ได้ เพราะอัลลอฮ์ทรงเปี่ยมด้วยความเมตตาความรักและทรงให้ความยุติธรรมต่อมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นมุอ์มินหรือกาเฟ็ร
== หลักอีหม่าน ที่ได้รับจาก นักปราชญ์ชีอะฮ์ ==
เรามักจะพบตำราหลักศรัทธาชีอะฮ์ได้แบ่งหลักศรัทธาออกเป็นห้าหัวข้อคือ 1,เตาฮีด 2,อาดิล 3,นุบูวะฮ์ 4,อิมามะฮ์ 5,มะอ๊าด
ใครคือผู้กำหนดหลักศรัทธาทั้งห้านี้
คำตอบคือ เชคมุฟีด
ชื่อจริง มุฮัมมัด บินมุฮัมมัด บินอัน-นุอ์มาน ชาวเมืองแบกแดด ประเทศอิรัค เกิดวันที่ 11 ซุลกิอ์ดะฮ์ ฮ.ศ.336 มรณะคืนวันศุกร์ที่ 3 รอมฎอน ฮ.ศ. 413 รวมอายุ 95 ปี ร่างถูกฝังไว้ที่เมืองกาซิเมน อิรัค ตรงบริเวณด้านล่างสุสานของอิม่ามญะวาด(อ)
ในหนังสือชื่อ “อันนุกัต อัลอิอ์ติกอดียะฮ์ “ เชคมุฟีดได้แบ่งหลักศรัทธาออกเป็น 5 บทคือ
1. มะอ์ริฟะตุลเลาะฮ์วะศิฟาติฮี (การรู้จักพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์)
2. อัลอัดลุ (ความยุติธรรมของอัลลอฮ์)
3. อัน-นุบูวะฮ์ ( การศรัทธาต่อศาสดาของอัลลอฮ์)
4. อัลอิมามะฮ์ ( การศรัทธาต่อผู้นำที่สืบต่อจากนะบีมุฮัมมัด)
5. อัลมะอ๊าด (การศรัทธาต่อวันปรโลก)
หลังจากเชคมุฟีดเสียชีวิต นักวิชาการชีอะฮ์ยุคต่อมาได้เรียบเรียงตำราอุซูลุดดีนโดยแบ่งหลักศรัทธาออกเป็นห้าหัวข้อเหมือนที่เชคมุฟีดได้นำเสนอไว้
1. เตาฮีด (การศรัทธาต่อเอกภาพของอัลลอฮ์)
2. อัลอัดลุ (การศรัทธาต่อความยุติธรรมของอัลลอฮ์)
3. อัน-นุบูวะฮ์ ( การศรัทธาต่อบรรดาศาสดาของอัลลอฮ์)
4. อัลอิมามะฮ์ ( การศรัทธาต่อผู้นำที่สืบต่อจากนะบีมุฮัมมัด)
5. อัลมะอ๊าด (การศรัทธาต่อวันปรโลก)
การแบ่งหลักศรัทธาของเชคมูฟีดเช่นนี้ ได้กลายเป็นเรื่องที่แพร่หลายกันในหมู่อุละมาอ์ชีอะฮ์ และได้ถ่ายทอดกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน
 
== ทัศนะที่วาฮาบีย์กล่าวหาชีอะฮ์ ==
ทัศนะที่วาฮาบีย์กล่าวหาชีอะฮ์ ผู้ยึดตามครอบครัวของท่านศาสดา(ศ.) กล่าวหาว่า ชีอะฮ์นั้นเป็นคนละศาสนา โดยมีเหตุผล 2 ประการใหญ่ๆ ดังนี้
 
1. วาฮาบีย์กล่าวว่าชีอะฮ์ได้สาปแช่งบรรดาสหายผู้ร่วมฟันฝ่าอุปสรรคเมื่อครั้งท่านศาสดาอยู่เมื่อง มักกะห์ ว่าตกศาสนา
 
*ชีอะฮ์ตอบเหตุผลข้อที่ 1 ว่า พวกเขาไม่ได้ปฏิเสธบรรดาสหายศาสดาทุกคน แต่พวกเขาเชื่อว่าบรรดาสาวกศาสดาที่ทรงธรรมเท่านั้นที่ควรได้รับการยกย่อง ไม่ไช่ทั้งหมด เพราะในประวัติศาสตร์ก็ได้มีการบันทึกว่า บรรดาสหายของท่านศาสดานั้น หลังจากท่านศาสดาเสียชีวิต ก็ได้มีการทำสงครามกันเอง
เช่นในสงครามญะมัล [http://www.balaghah.net/nahj-htm/thi/id/maqalat/sa/014.htm สงครามญะมัล : สงครามอูฐ]
 
ท่านอิมามอะลี (อ.) เขียนสารไปหาฏ็อลฮะฮฺและซุเบรกวามว่า
 
فإن كنتما بايعتماني طائعين , فارجعا و تو با إلي الله من قريب...فارجعا أيها الشيخان عن رأيكما , فإن الآن أعظم أمر كما العار من فبل أن يتجمع العار و النار
 
“หากท่านทั้งสองให้สัตยาบันต่อฉันในฐานะของผู้ที่เชื่อฟังฉันละก็ จงกลับมา แล้วก็ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ โดยพลัน โอ้ผู้เฒ่าทั้งสอง จงเปลี่ยนความคิดเสียเถิด เพราะตอนนี้ เรื่องของท่านทั้งสองมันช่างน่าอดสูยิ่งกว่าแต่ก่อน ก่อนที่ทั้งความอดสูและไฟนรกจะมารวมตัวกัน”
อ้างอิงจาก “นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮ์” สารที่ 54
 
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวคำเทศนาแก่มวลมิตรสหายของท่านว่า
 
عبادالله, امضوا علي حقكو وصدقكم و قتال عدوكم , فإن معارية و عمرا و ابن أبي معيط و حبيبا و ابن أبي سرح و , الضحاك ليسوا بأصحاب دين ولا قرآن , أنا أعرف بهم منكم قد صحبتهم أطفالا ثم رجالا , فكانوا شر أطفال وشر رجال, ويحكم الكتاب , فإنهم قد عصوا الله فيما أمرهم , و نسوا عهده , ونبذوا كتابه
 
“โอ้ปวงบ่าวของอัลลอฮฺ พวกท่านจงให้การรับรองต่อสิทธิอันชอบธรรม ความสัตย์จริง และการต่อสู้กับศัตรูของของพวกท่าน เพราะแท้จริงแล้ว มุอาวิยะฮฺ,อิบนุอบีมุฮีฏ,ฮะบีบ,อิบนุออะบีซัรฮ์และฎุฮ์ฮาก หาใช่ พลพรรคของศาสนาและอัลกุรอานไม่ ฉันรู้จักพวกเขาดียิ่งกว่า พวกท่าน ฉันได้คลุกคลีอยู่กับพวกเขานับตั้งแต่เล็กจนกระทั่งโต พวกเขา (เมื่อเป็นเด็ก็) เป็นเด็กชั่ว และ (เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็) เป็นผู้ใหญ่ชั่ว อนิจจา ขอสาบานต่ออัลลอฮฺพวกเขาไม่ได้ชูอะไรขึ้นมา นอกจากมันเป็นเพียงการลวงล่อความอ่อนแอและแผนการร้าย...เพราะอันที่จริงแล้วฉันต่อสู้กับพวกเขาก็เพื่อให้พวกเขาเห็นพ้องกับการตัดสินความของคัมภีร์แล้วพวกเขาก็ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์มีพระบัญชาแก่พวกเขา พวกเขาลืมสัญญาของพระองค์ และขว้างคัมภีร์ของพระองค์ทิ้ง”
อ้างอิงจาก “อัลกามิ้ลฟิตตารีค” เล่ม 3 หน้า 316-317 และ รายงานทำนองเดียวกันใน “อัลมุนตะชีอม” เล่ม 5 หน้า 121
 
ก่อที่การประจัญบานจะเริ่มขึ้น ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวกับซุเบรว่า
 
أنشدك الله , أسمعت رسول الله )ص( يقول : إنك تقاتلني و أنت ظالم لي
 
“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ท่านได้ยินที่ท่านเราะซูลกล่าวว่า ท่านจะต่อสู้กับฉัน และท่านนั้นคือผู้อธรรมต่อฉันหรือเปล่า ?”
 
เขากล่าวตอบว่า “เคยได้ยิน ฉันเพิ่งนึกขึ้นได้ตอนนี้เอง” แล้วเขาก็ผละจากไป แต่ทว่าเขาก็ยังหวนกลับไปอีก หลังจากที่ลูกของเขา อับดุลลอฮฺได้ปลุกปั่นเขา จานั้นเขาก็ได้ปล่อยทาสของเขาไป อันเป็นการไถ่ถอนคำสาบาน แล้วก็จับอาวุธต่อสู้อีก
อ้างอิงจาก “ตารีคุฏฏ่อบะรี” เล่ม 5 หน้า 200 “อัลกามิ้ลฟิตตารีค” เล่ม 3 หน้า 239 และ “ตะฮ์ซีบุตตารีดิมัชก์” เล่ม 5 หน้า 367-368
 
2. ฝ่ายวาฮาบีย์กล่าวว่าพวกชีอะฮ์ไม่ยอมรับว่า คัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ถูกต้องสมบูรณ์ เนื่องจากตอนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาในช่วงแรก ๆ เหล่าสาวกที่ชีอะฮ์บอกว่าเป็นคนตกศาสนา ที่เป็นคนบันทึกอัลกุรอานไว้ เนื่องจากท่านศาสดาไม่รู้หนังสือไม่สามารถเขียนหนังสือได้
 
*ชีอะฮ์ตอบเหตุผลข้อที่ 2 ว่าการใส่ร้ายนี้นั้นเลื่อนลอยทั้งที่กรุอานที่ชีอะห์ใช้ก็เป็นฉบับเดียวกับมุสลิมทั่วโลก
แต่วาฮาบีย์ต่างหากที่มีความเชื่อที่ผิดเพี้ยนเกี่ยวกับอัลกรุอาน
 
ชีอะฮ์ 6,236 อายัต
 
 
อิม่ามอาลี(อ) บอกชัดว่า อัลกุรอ่านมีทั้งหมด 6,236 อายัตเท่านั้น
 
 
Θ หลักฐานที่พบจากตัฟสีรซุนนี่
 
قال محمد بن عيسى : وجميع عدد آي القرآن في قول الكوفيين ستة آلاف آية ومائتا آية وثلاثون وست آيات
وهو العدد الذي رواه سليم والكسائي عن حمزة وأسنده الكسائي الى علي رضي الله عنه
 
มุฮัมมัด บินอีซากล่าวว่า : จำนวนอายัตกุรอ่านทั้งหมดตามทัศนะของชาวกูฟะฮ์คือ 6,236 อายัต
 
มันคือจำนวนที่ท่านสะลีมกับท่านอัลกะซาอีได้รายงานมันมาจากฮัมซะฮ์ และอัลกะซาอีได้อ้างอิงรายงานของเขาไปยังท่านอาลี (ร.ฎ.)
 
อ้างอิงจากตัฟสีรกุรตุบี เล่ม 1 หน้า 95
 
 
Θ หลักฐานที่พบจากตัฟสีรชีอะฮ์
 
رواه الطبرسي عن سعيد بن المسيب عن علي بن أبي طالب(عليه السلام) انّه قال: سألت النبيّ(صلى الله عليه وآله وسلم) عن ثواب القرآن فأخبرني بثواب سورة سورة على نحو ما نزلت من السماء إلى أن قال: ثمّ قال النبيّ(صلى الله عليه وآله وسلم): جميع سور القرآن مائة وأربع عشر سورة ، وجميع آيات القرآن ستّة آلاف آية ومائتا آية وست وثلاثون آية
تفسير مجمع البيان لعلامة الطبرسي ج 10 ص 189
 
ท่านต็อบร่อซีบันทึกว่า ท่านสะอีด บินมุสัยยับรายงานจากท่านอาลี บินอะลีตอลิบ(อ) แท้จริงเขาได้เล่าว่า
 
ฉันได้ถามท่านนะบี(ศ)ถึงผลบุญของ(การอ่าน)คัมภีร์กุรอ่าน แล้วท่านได้บอกกับฉันถึงผลบุญของ(การอ่านอัลกุรอ่าน)ทีละซูเราะฮ์ๆตามลำดับการประทานมันลงมาฟากฟ้า จนท่านได้กล่าวว่า...
 
จากนั้นท่านนะบี(ศ)ได้กล่าวว่า ซูเราะฮ์ทั้งหมดของอัลกุรอ่านมี 114 บทและ
อายะฮ์ของอัลกุรอ่านทั้งหมดมี 6,236 โองการ
 
อ้างอิงจากตัฟสีรมัจญ์มะอุลบะยาน โดยอัตต็อบร่อซี เล่ม 10 : 189
 
== อ้างอิง ==
* [http://www.q4sunni.com/forum/index.php?topic=733.0 นิกาย ต่างๆ ใน ศาสนา อิสลาม]
* [http://www.q4sunni.com/forum/index.php?topic=377.0 หลักศรัทธาอิสลาม ตามแนวทางมัซฮับชีอะฮ์ ]
* [http://www.q4sunni.com/forum/index.php?topic=1865.msg1901#msg1901 ษะเกาะลัยน์ : สิ่งหนัก 2 ประการ ]
* [http://www.q4sunni.com/forum/index.php?topic=1907.msg1907#msg1907 อายะฮฺมุบาฮะละห ]
* [http://www.ahlulbait.org/main/content.php?category=5&id=902 วันอีดฆอดีร วันศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม ]
 
{{กลุ่มศาสนาที่สำคัญ}}
 
[[หมวดหมู่:นิกายในศาสนาอิสลาม|ศาสนา]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ชีอะฮ์"