ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นะ (วิญญาณ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''นัต''' ({{MYname|MY=[[ไฟล์:Nat.png]]‌|MLCTS=nat}}; {{lang-en|nat}}; {{IPA2|naʔ}}) ออกเสียง ''น่ะต์'' (มาจากคำว่า ''นาถะ'' ใน[[ภาษาบาลี]] ที่แปลว่า "ที่พึ่ง") หมายถึง[[ผี]]ของชาวพม่า เป็นความเชื่อพื้นเมืองที่มีมาก่อนที่[[พุทธศาสนา]]จะเข้ามาในพม่า นัตเป็นผีบรรพบุรุษ ลักษณะกึ่งผีกึ่ง[[เทวดา]] คล้าย[[เทพารักษ์]] คอยดูแลคุ้มครองสถานที่ที่ตนเมื่อครั้งยังมีชีวิตมีความสัมพันธ์อยู่ แต่ไม่มีฤทธานุภาพเทียบเท่าเทวดา<ref name=พ/> โดยอาจจะมีศาลลักษณะคล้ายศาลเพียงตาตั้งบูชาอยู่ในสถานที่นั้น ๆ
 
แต่เดิม นัตเป็นเพียงผีหรือวิญญาณทั่วไปที่สิงสถิตย์ตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ หรือภูเขา แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่านไป จึงมีความเชื่อว่านัตเริ่มมีตัวตนและเริ่มผูกพันเข้ากับการตายของคนผู้คน จึงกลายเป็นสภาพผีอย่างที่เชื่ออยู่ในปัจจุบัน
 
เมื่อ[[พระเจ้าอโนรธามังช่อ]] แห่ง[[อาณาจักรพุกาม|ราชวงศ์พุกาม]] นำศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจากมอญเข้าสู่พม่า ใน[[พุทธศตวรรษที่ 18]] ความเชื่อเรื่องนัตจึงถูกผสมผสานเข้ากับศาสนาพุทธ โดยยกเลิกการบูชานัตตามแบบพื้นบ้าน และนัตถูกยกระดับให้เป็นนัตหลวง คือ นัตระดับประเทศ พระองค์ได้ทำการตั้งศาลนัตหลวงขึ้นที่[[เขาโปปา]] หรือเรียกว่า มหาคีรีนัต 1,300 เมตร ใกล้เมืองพุกาม มีทั้งหมด 37 องค์ โดยองค์สำคัญคือ นัตตัจจาเมง หรือ นัตสักรา ([[พระอินทร์]]), นัต[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]], นัตโยนบะเยง (นัต[[พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์]]) เป็นต้น