ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นะ (วิญญาณ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พุทธามาตย์ ย้ายหน้า นัต (ผี) ไปยัง นัต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
[[ไฟล์:Thagyamin Nat.jpg|thumb|150px|ตะจาเมงหรือ[[ท้าวสักกะ]] ([[พระอินทร์]]) ประมุขแห่งนัตทั้งปวง]]
'''นัต''' ({{MYname|MY=[[ไฟล์:Nat.png]]‌|MLCTS=nat}}; {{lang-en|nat}}; {{IPA2|naʔ}}) ออกเสียง ''น่ะต์'' (มาจากคำว่า ''นาถะ'' ใน[[ภาษาบาลี]] ที่แปลว่า "ที่พึ่ง") หมายถึง[[ผี]]ของชาวพม่า เป็นความเชื่อพื้นเมืองที่มีมาก่อนที่[[พุทธศาสนา]]จะเข้ามาในพม่า นัตเป็นผีบรรพบุรุษ ลักษณะกึ่งผีกึ่ง[[เทวดา]] คล้าย[[เทพารักษ์]] คอยดูแลคุ้มครองสถานที่ที่ตนเมื่อครั้งยังมีชีวิตมีความสัมพันธ์อยู่ แต่ไม่มีฤทธานุภาพเทียบเท่าเทวดา<ref name=พ/> โดยอาจจะมีศาลลักษณะคล้ายศาลเพียงตาตั้งบูชาอยู่ในสถานที่นั้น ๆ
 
แต่เดิม นัตเป็นเพียงผีหรือวิญญาณทั่วไปที่สิงสถิตย์ตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ หรือภูเขา แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่านไป จึงมีความเชื่อว่านัตเริ่มมีตัวตนและเริ่มผูกพันเข้ากับการตายของคน จึงกลายเป็นสภาพผีอย่างที่เชื่ออยู่ในปัจจุบัน
บรรทัด 7:
เมื่อ[[พระเจ้าอโนรธามังช่อ]] แห่ง[[อาณาจักรพุกาม|ราชวงศ์พุกาม]] นำศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจากมอญเข้าสู่พม่า ใน[[พุทธศตวรรษที่ 18]] ความเชื่อเรื่องนัตจึงถูกผสมผสานเข้ากับศาสนาพุทธ โดยยกเลิกการบูชานัตตามแบบพื้นบ้าน และนัตถูกยกระดับให้เป็นนัตหลวง คือ นัตระดับประเทศ พระองค์ได้ทำการตั้งศาลนัตหลวงขึ้นที่[[เขาโปปา]] หรือเรียกว่า มหาคีรีนัต 1,300 เมตร ใกล้เมืองพุกาม มีทั้งหมด 37 องค์ โดยองค์สำคัญคือ นัตตัจจาเมง (หรือ นัตสักรา หรือ [[พระอินทร์]]), นัต[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]], นัตโยนบะเยง (นัต[[พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์]]) เป็นต้น
 
โดยบุคคลที่จะได้รับการรับถือเป็นนัตนั้น ต้องมาจากสาเหตุการตายที่ไม่ใช่การตายธรรมดา กล่าวโดยง่ายคือ [[ผีตายโหง|ตายโหง]] (ตายด้วยโรคปัจจุบันที่ไม่ใช่ด้วยโรคชรา) หรือ ตายห่า ([[อหิวาตกโรค]]หรือโรคระบาดอย่างอื่น) นั่นเอง เพราะเชื่อว่าจะมีฤทธานุภาพสูงกว่าผีทั่ว ๆ ไป
 
นัตถูกแบ่งออกได้เป็น 3 จำพวก คือ นัตพุทธ (นัตท้องถิ่นที่ผสมผสานกับความเชื่อทางพุทธศาสนา<ref name=พ/>), นัตใน (นัตท้องถิ่นและนัตที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศอินเดีย) และนัตนอก (นัตที่มีถิ่นฐานอยู่นอกกำแพง[[พระมหาธาตุเจดีย์ชเวซีโกน|เจดีย์ชเวสิโกง]]) ซึ่งนัตที่สำคัญและผูกพันกับชาวพม่ามากที่สุด คือ นัตนอก หรือนัตหลวง <ref name="นัต"/>
 
== รายชื่อผีนัต ==
[[ไฟล์:Mount Popa 002.jpg|thumb|เหล่าผีนัตในวัดบนภูเขาโปปา]]
 
[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงกล่าวไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพม่า กล่าวว่ามีผีนัตถึง 39 ตน เรียกว่า '''นัตมิน''' (กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเรียกว่า ''แน็ตมิน'') หรือ ผีหลวง และมีตำราว่าด้วยเรื่องผี ชื่อว่ามหาคีตะเมคะนี (Maha Gita Megani) ซึ่งอยู่ในคัมภีร์โลกาพยุหะ อันเป็นตำราประเพณีของพม่า ซึ่งเซอร์ยอช สก็อต เป็นผู้เรียบเรียงหนังสือภิธานเมืองพม่าเหนือ หรือ Upper Burma Gasetteer มีรายชื่อเมืองและประวัติของผีหลวงทั้ง 39 ตน บอกถึงธรรมเนียมลงผีซึ่งส่วนใหญ่คนทรงจะเป็นผู้หญิง และผีนัตินัตแต่ละตนจะมีการขับร้อง การฟ้อนรำ เครื่องดนตรี และเพลงเฉพาะตน โดยในวัดเจดีย์ชเวสิโกง เมืองพุกาม มีการสร้างผีนัตที่ทำจากไม้ ขนาดเท่าหุ่นกระบอกที่มีครบอยู่ 37 ตนเพียงแห่งเดียว ซึ่งแต่ละตัวต่างแต่งตัวด้วยอาภรณ์หลากสี ตั้งอยู่บนฐานชุกชีในวิหารยาวประมาณ 4 ห้อง มีเพียงรูปเดียวที่มีขนาดเท่าคนจริงสวมเครื่องทรงกษัตริย์ซึ่งคือพระอินทร์ผู้เป็นหัวหน้าแห่งผีนัตทั้งปวง
 
ในหนังสือ''เที่ยวเมืองพม่า'' ของไพรัตน์ สูงกิจบูลย์ได้มีการกล่าวถึงผีนัตว่ามีเพียง 37 ตน โดยในช่วงสมัย[[อาณาจักรพุกาม]] เหลือผีนัตอยู่เพียง 22 ตน ต่อมาได้เพิ่มขึ้นในสมัย[[พระเจ้าอโนรธา]]อีก 15 ตน โดยมีรายนามดังต่อไปนี้<ref>บุญยงค์ เกศเทศ. '''อรุณรุ่งฟ้าฉาน เล่าตำนานคนไท'''. กรุงเทพฯ:หลักพิมพ์, 2548. หน้า 76</ref>
บรรทัด 111:
 
==การบูชานัต==
ในประเทศพม่า การบูชาหรือประเพณีเกี่ยวกับผีนัต มีตลอดทั้งปี แต่งานเทศกาลเกี่ยวกับนัตที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุด คือ หมู่บ้านต่องปะโยง ใน[[เขตมัณฑะเลย์]] เป็นเวลา 6 วัน ในเดือนสิงหาคมของทุกปี เนื่องจากนัตสองพี่น้อง หรือ ชเวปยินยีดอ และชเวปยินนองดอ เคยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโนรธา ซึ่งเชื่อว่าเป็นเชื้อสายแขกผสมพม่า ถูกสั่งประหาร ณ ที่แห่งนี้ เนื่องจากละเลยต่อการขนอิฐสร้างพุทธเจดีย์ตามพระราชบัญชา และกลายเป็นผีมาหลอกหลอนพระเจ้าอโนรธา พระองค์จึงมีบัญชาให้ตั้งศาลบูชาไว้ ณ ที่แห่งนี้<ref name=พ>หน้า 94-105, ''นัต พลังศรัทธาของมวลชน'' โดย ยศธร ไตรยศ. นิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกฉบับภาษาไทย: ฉบับที่ 180 กรกฎาคม 2559</ref>
 
คนทรงนัต มีชื่อเรียกว่า "นัตกะด่อ" (နတ်ကတော်; ''nat kadaws'') นัตกะด่อจะนับถือนัตชเวปยินยีดอเป็นเสมือนนัตครู นัตกะด่อจากทั่วพม่าจะเดินทางมาที่นี่เพื่อบูชาปีละครั้ง ผู้ที่เป็นนัตกะด่อจะเป็นผู้ที่ชาวพม่าให้ความเคารพในทุกชนชั้น และความเชื่อจะถูกส่งต่อมาเป็นทอด ๆ หากพ่อแม่ศรัทธานัตกะด่อคนใด ลูกหลานก็จะถูกพามาด้วยและมอบตัวเป็นศิษย์