ผลต่างระหว่างรุ่นของ "องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
'''องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา''' หรือ '''โออีซีดี''' ({{lang-en|Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD}}) เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่ม[[ประเทศที่พัฒนาแล้ว]] และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก แต่เดิมองค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในนาม[[องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป]]หรือโออีอีซี (Organization for European Economic Co-operation : OEEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 ([[พ.ศ. 2491]]) ในช่วงสมัย[[สงครามเย็น]] วัตถุประสงค์คือเพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลับคืนมาและคงไว้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโดย[[แผนการมาร์แชลล์]] สัญญาในการก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยมีสมาชิกประเทศยุโรปตะวันตกจำนวน 19 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ [[ออสเตรีย]],[[ เบลเยี่ยม]], [[เดนมาร์ก]], [[ฝรั่งเศส]], [[กรีซ]], [[ไอซ์แลนด์]], [[ไอร์แลนด์]],[[ อิตาลี]], [[ลักเซมเบิร์ก]], [[นอร์เวย์]],[[ เนเธอร์แลนด์]] ,[[โปรตุเกส]],[[ อังกฤษ]],[[ สวีเดน]],[[ สวิตเซอร์แลนด์]],[[ ตุรกี]],[[ สหรัฐอเมริกา]],[[เยอรมนีตะวันตก]]และแคว้นอิสระของตรีเอสเต
[[ไฟล์:Marshall Plan poster.JPG|thumbnail|โปสเตอร์สำหรับแผนมาร์แชลล์แสดงธงชาติของประเทศในยุโรปตะวันตก รวมไปถึงแคว้นอิสระตรีเอสเตที่มีพื้นหลังสีฟ้าอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ]]
นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูยุโรปแล้วยังเป็นการต่อต้านหยุดยั้งไม่ให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ของ[[สหภาพโซเวียต]]มาเผยแพร่ที่ยุโรปตะวันตกและยังเป็นการโน้มน้าวให้ยุโรปตะวันออกที่เป็นประเทศบริวารให้เห็นด้วยและเข้าร่วม แต่ในขณะเดียวกัน [[สหภาพโซเวียต]]ภายใต้การนำของ[[โจเซฟ สตาลิน]]ได้หวาดระแวงแผนการมาร์แชลล์ โดยมองว่า เป็นแผนการร้ายของสหรัฐฯที่จะขยายอิทธิพลและเผยแพร่ลัทธิระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ยุโรปตะวันออกจึงทำการบีบบังคับประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกให้ปฏิเสธแผนการดังกล่าวและได้เสนอ[[แผนการโมโลตอฟ]](Molotov Plan)ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ขึ้นมาแทนเพื่อเป็นการโต้ตอบแผนการมาร์แชล พร้อมก่อตั้ง[[สภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจร่วมกัน]]หรือโคคอมิคอน (Council for Mutual Economic Assistance or , Comecon) หรือเรียกอีกชื่อว่า ซีม่า(CEMA)เพื่อเป็นการคานอำนาจจากองค์กรโออีอีซีเช่นเดียวกับ[[สนธิสัญญาวอร์ซอ]]ต่อต้านองค์กร[[นาโต้นาโต]] (แต่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1991 โคคอมิคอนก็ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับ[[การล่มสลายของสหภาพโซเวียต]])
 
ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากองค์กรโออีอีซีมาเป็นโออีซีดี และมีการลงนามกันใหม่อีกครั้ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยมีอดีตประเทศสมาชิกโออีอีซีจำนวน 18 ประเทศ(แคว้นอิสระของตรีเอสเตได้ล่มสลายไปเมื่อปีค.ศ.1975และรวมผนวกกับอิตาลี)และมีเพิ่มขึ้นมาอีก 2 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ แคนาดาและสเปนรวมเป็น 20 ประเทศ สัญญาดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961 ปัจจุบันองค์การโออีซีดีก็ได้มีสมาชิกเพิ่มมาอีก 14 ประเทศได้แก่ [[ชิลี]],[[ เช็ก]],[[ อิสราเอล]],[[เม็กซิโก]],[[ ฮังการี]],[[ ออสเตรเลีย]] ,[[นิวซีแลนด์]],[[ เกาหลีใต้]],[[โปแลนด์]],[[ อิหร่าน]],[[ เอสโตเนีย]],[[สโลวาเกีย]],[[สโลวีเนีย]]และ[[ญี่ปุ่น]]รวมทั้งหมดเป็น 34 ประเทศ และมีประเทศที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมองค์การคือประเทศ [[รัสเซีย]]