ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แวมไพร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 49.230.207.164 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Sry85
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
ชาวยุโรปในยุคกลางนั้น หวาดกลัวแวมไพร์มาก ผู้ที่สงสัยว่าเป็นแวมไพร์ จะตกอยู่ในสถานะเดียวกับ[[แม่มด]] หรือ [[มนุษย์หมาป่า]] คือ ถูกตัดสินลงโทษด้วยการเอาถึงชีวิต มีวิธีการป้องกันการรุกรานของแวมไพร์หลายวิธี เช่น บางหมู่บ้านจะโปรยเมล็ดข้าวไว้บนหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าแวมไพร์จะง่วนกับการนับเมล็ดข้าวเป็นการถ่วงเวลาจนรุ่งเช้า หรือ โรยเศษขนมปังไว้ตั้งแต่สุสานให้แวมไพร์เดินเก็บเศษขนมนั้นวนเวียนไปมา หรือแม้แต่การวางไม้กางเขนหรือดอกกุหลาบที่มีหนามแหลมเพื่อเป็นการพันธนาการไว้ในโลง
 
เรื่องราวของผีแวมไพร์ มีมากมาย ที่เป็นนิทานพื้นบ้านและวรรณกรรม โดยวรรณกรรมที่ว่าถึงแวมไพร์ที่เก่าแก่ที่สุด มีมาตั้งแต่สมัย[[โรมัน]] วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของแวมไพร์คือ เรื่อง[[แดรกคูลา]] ของ [[บราม สโตกเกอร์]] ที่โด่งดังจนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ละคร ละครเวที หรือแม้แต่กระทั่งภาพยนตร์การ์ตูนมากมายตราบจนปัจจุบัน เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ''[[นอสเฟอราตู อะ ซิมโฟนี ออฟ ฮอร์เรอร์|Nosferatu : A Symphony of Horror]]'' ในปี ค.ศ. 1922 เป็นต้น
 
เป็นไปได้ว่าความเชื่อเรื่องของแวมไพร์ที่สามารถแปลงร่างเป็นค้างคาวได้ อาจมีที่มาจากที่ภูมิภาค[[อเมริกากลาง]]และทวีป[[อเมริกาใต้]] มีค้างคาวขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ [[Desmodontinae]] มีพฤติกรรมดูดเลือดสัตว์ที่ใหญ่กว่าเป็นอาหารในเวลากลางคืน ซึ่งค้าวคาวในวงศ์นี้ก็ได้มีการเรียกชื่อสามัญว่า ''[[ค้างคาวดูดเลือด|แวมไพร์]]'' เช่นกัน
 
==ศัพทมูลวิทยา ==
== ที่มาของคำ ==
[[พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด]] ระบุการปรากฏครั้งแรกของคำว่า แวมไพร์ ใน[[ภาษาอังกฤษ]] เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1734 ในสารคดีท่องเที่ยวที่ชื่อ ''Travels of Three English Gentlemen'' ตีพิมพ์ในหนังสือ ''Harleian Miscellany'' ในปี 1745<ref>{{Cite encyclopedia| title=Vampire|encyclopedia=Oxford English Dictionary|editor=J. Simpson, E. Weiner (eds)| year=1989 |edition= 2nd edition| location=Oxford |publisher=Clarendon Press|id= ISBN 0-19-861186-2}}</ref><ref>{{cite book |title=Harleian Miscellany |last=Johnson |first=Samuel |authorlink=Samuel Johnson|year=1745|chapter=IV|publisher=T. Osborne |location=London|pages=358}}</ref> ในวรรณกรรมเยอรมันได้มีการถกกันเรื่องแวมไพร์มาแล้ว<ref name=barber5/> หลังจากที่ออสเตรียเพิ่มการควบคุมเซอร์เบียเหนือและ Oltenia ในปี ค.ศ. 1718 เจ้าหน้าที่บันทึกเกี่ยวกับร่างที่ขุดมาจากหลุมศพ และ "แวมไพร์ที่ตายแล้ว"<ref name=barber5/> รายงานนี้เขียนขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1725 ถึง ค.ศ. 1732 และได้รับรู้สู่สาธารณะ<ref name=barber5>Barber, ''Vampires, Burial and Death'', p. 5.</ref>