ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Quantplinus (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำผิด
บรรทัด 3:
| image =
| caption =
| titles = เจ้าเมืองพิษณุโลก<br>หัวเมืองชั้นเอก
| birth_date = พ.ศ. 2262
| birth_place =
บรรทัด 32:
* เจ้าพระยาสุรินทรภักดี (บุญมี)
* เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)
ต่อมาเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ได้รับรพะพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา เป็นต้นสายสกุลหลายสกุลเช่น [[หลวงอาสาสำแดง (แตง)|ราชินิกุลสุจริตกุล]] [[เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)|สกุลจันทโรจวงศ์]] สกุลบุรณศิริ สกุลภูมิรัตน สกุลชัชกุล และสกุลศิริวัฒนกุล นอกจากนี้เจ้าพระยาพิษณุโลกยังมีน้องชายซึ่งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับเชื้อสายชื่อ พระอินทร์อากร แต่เกี่ยวข้องกับเจ้าพระยาพิษณุโลก ขณะยึดหัวเมืองพิษณุโลกแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ ในชุมนุมใหญ่หลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] <ref>สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ราวปี พ.ศ. 2311</ref> ต่อมาเจ้าพระยานเรนทราภัย (บุญเกิด) มีบุตรคือ[[หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล)|นายพันโท หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล)]] ซึ่งรับราชการทหาร กรมทหารบกในสมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้รับยศนายพันโท บรรดาศักดิ์ชั้นหลวงเป็นบรรดาศักดิ์สุดท้าย ต่อมานายพันโท หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล) มีบุตรคือ[[หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ โรจนกุล)|หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ)]] เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ส่วนทายาทกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยปัจจุบันคือ รองอำมาตย์เอก [[หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล)]] รองอำมาตย์โท ขุนโรจนกุลประพัทธ์ (ปอน โรจนกุล) และศรีชัย โรจนกุล (แป้น) ชาวจังหวัดพิษณุโลกที่ดำรงบรรดาศักดิ์ชั้น "นาย" เป็นคนสุดท้าย ขณะที่บิดา - มารดาเข้าถวายรับใช้[[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]] [[วังสระปทุม]] ก่อน[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]]
 
== ราชการและบรรดาศักดิ์ ==
บรรทัด 45:
''หมายเหตุ:
 
1) สันนิษฐานว่าอาจจะได้ตั้งบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา และเจ้าพระยาในสมัย[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] เนื่องจากไม่พบหลักฐานว่า[[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์]]ตั้งเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เพราะขณะนั้นเป็นช่วงฉุกละหุกเกิดการสับเปลี่ยนกษัตริย์ภายในราชวงศ์ ประกอบกับหัวเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเอกที่เป็นหน้าด่านเกิดสงครามบ่อยครั้ง อย่าไรอย่างไรก็ตามปรากฏบรรดาศักดิ์เด่นชัดของเจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) ในสมัย[[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์]] เมื่อได้ทรงครองราชย์ต่อจาก[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]]''
 
2) สันนิษฐานว่าเจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) อาจเกี่ยวดองกับ[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]ในฐานะเครือญาติ ได้รับการไว้วางพระทัยให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนหัวเมืองพิษณุโลกทุกรัชสมัย และมีการกล่าวถึงในพระนิพนธ์เรื่อง ไทยรบพม่า ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนเจ้าฟ้าจีดพาพรรคพวกหนีไปยังเมืองพิษณุโลกว่าทำนองจะเกี่ยวดองว่าเป็นญาติกับเจ้าพระยาพิศณุโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรทัด 68:
เมื่อ พ.ศ. 2302 ในสมัยที่[[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์]] (พระเจ้าเอกทัศ) เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจาก[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]] (เจ้าฟ้าดอกเดื่อ) ได้เพียง 1 ปี เกิด[[สงครามพระเจ้าอลองพญา]]อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางทหารระหว่าง[[ราชวงศ์คองบอง]]ของพม่ากับอาณาจักรอยุธยาสมัย[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]] สงครามเริ่มต้นขึ้นราวเดือนธันวาคม ฝ่ายพม่าหมายจะยกทัพมารุกรานอาณาจักรอยุธยา และนำไปสู่[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]]ในปี พ.ศ. 2310
 
เมื่อ พ.ศ. 2304 ภายหลังจากที่ “[[เนเมียวสีหบดี]]” เสร็จสิ้นจากการไปตีหัวเมืองมอญแล้ว “มังลอก” พระโอรสองค์ใหญ่ของ[[พระเจ้าอลองพญา]] จัดทัพมาตีเชียงใหม่ โดยมี “อภัยคามณี” เป็นแม่ทัพ และ “มังละศิริ” เป็นปลัดทัพพร้อมด้วยพลจำนวน 7,500 นาย พระเจ้าจันทร์ เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ กรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น ทรงแต่งหนักสือมาถวายพระเจ้าเอกทัศพร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการ มีพระประสงค์ให้เชียงใหม่เป็นเมืองออกของอยุธยา และขอกำลังทหารไปรักษาเมียงเมืองใหม่ พระเจ้าเอกทัศจึงตรัสสั่งให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เกณฑ์ทัพพลหัวเมืองเหนือจำนวน 5,000 นาย ยกไปช่วยเมืองเชียงใหม่ แต่ก่อนที่ทัพเจ้าพระยาพิษณุโลกจะไปถึงนั้น ฝ่ายพม่าก็ล้อมเมืองเชียงใหม่ แต่ฝ่ายเชียงใหม่มีกำลังไม่แข็งกล้านักจึงเสียเมืองให้แก่ฝ่ายพม่าไป โดยมี “เนเมียวสีหบดี” อยู่รักษาเมืองเชียงใหม่
 
เมื่อ พ.ศ. 2309 “[[เนเมียวสีหบดี]]” ซึ่งอยู่รักษาเมืองเชียงใหม่กับ “[[มังมหานรธา]]” ซึ่งอยู่รักษาเมืองที่ทวายได้รับหนังสือจากพระเจ้ามังระภายหลังจากที่เสด็จไปประทับกรุงอังวะ เมืองหลวงของพม่าว่าให้ยกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ก็เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าอลองพญาที่ตรัสสั่งไว้ก่อนสิ้นพระชนม์ว่าให้ตีอยุธยาให้ได้ ทั้งสองจึงต่างเกณฑ์พลยกทัพเข้าปล้นเมืองต่าง ๆ อีกฝ่ายหนึ่งบุกปล้นตั้งแต่เมืองนครสวรรค์ลงมาถึงเมืองอินทรเมืองพรหม (จังหวัดสิงห์บุรี) อีกฝ่ายหนึ่งก็ปล้นอยู่แถวเมืองสุพรรณบุรี เมืองราชบุรี และเพชรบุรี แล้วจึงมารวมทัพกัน <ref>Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta. pp. 188–190.</ref> โดยหวังทำลายกำลังฝ่ายอยุธยาตั้งแต่ชั้นนอก พระเจ้าเอกทัศจึงตรัสให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เกณฑ์ทัพหัวเมืองเหนือไปขับไล่ และให้ทัพในกรุงยกทัพไปไล่พม่าทั้งด้านเมืองนครสวรรค์และเมืองราชบุรีด้วย โดยทัพด้านเหนือให้พระยาธิเบศร์บริวัตรเป็นแม่ทัพ ทัพใต้ให้พระสุนทรสงครามเป็นแม่ทัพ ต่อมาพระเจ้าเอกทัศทรงทราบความว่าพม่าตามตีมาจนถึงธนบุรีก็ตกพระทัยเกรงว่าพม่าจะล่วงจู่โจมเข้าถึงพระนคร จึงให้พระยารัตนาธิเบศร์คุมกองทัพซึ่งเกณฑ์มาจากนครราชสีมาลงมารักษาธนบุรีอีกทัพหนึ่งให้พระยายมราชคุมกองทัพอีกกองหนึ่งลงมารักษานนทบุรีคอยสกัดพม่าเอาไว้ ส่วนทัพของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ขับไล่พม่าจนมาสิ้นสุดที่พระนครศรีอยุธยา ณ [[วัดภูเขาทอง]] ตามพระประสงค์ของพระเจ้าเอกทัศ <ref>ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 64 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)</ref> แต่เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ถือโอกาสให้เจ้าพระยาพลเทพกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชอนุญาตบรมราชานุญาตพระเจ้าเอกทัศแทนตนเพื่อขอไปปลงศพมารดาโดยให้หลวงโกษา (ยัง) และหลวงเทพเสนาคุมทัพ ต่อมาเนเมียวสีหบดีรวบรวมพลจากล้านนา และล้านช้างราว 40,000 นาย จึงยกทัพจากเชียงใหม่แบ่งมาทางตาก และทางสวรรคโลก ตีหัวเมืองเหนือเรื่อยลงมา ฝ่ายเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองเหนือเห็นข้าศึกพม่ามามากมายจึงหลบหนีเข้าป่า พม่าก็ได้หัวเมืองเรื่อยมาตั้งแต่พิชัย สวรรคโลก มาตั้งอยู่ที่สุโขทัย เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) กับเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองเหนือจึงรวบรวมพลไปรบกับพม่าที่สุโขทัย และเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) มักถือดาบพระแสงราชศัสตราหรือพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าเอกทัศตลอดเวลาขณะไปราชการศึกหัวเมืองเหนือ
 
หลังจากเจ้าพระยาพิษณุโลกยกทัพออกไปแล้ว พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจีด กรมขุนสุรินทรสงคราม พระราชโอรสของพระองค์เจ้าชายแก้วกับเจ้าฟ้าหญิงเทพ พระราชธิดาของ[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9]] (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระหรือเจ้าฟ้าเพชร) และเป็นพระราชนัดดาของ[[สมเด็จพระเพทราชา]] ขณะนั้นทรงต้องโทษอยู่ในกรุง เมื่อสถานการณ์ระส่ำระสาย เจ้าฟ้าจีดจึงตัดสินบนผู้คุมหลุดจากที่คุมขังแล้วจึงรวบรวมพรรคพวกยกกันไปเมืองพิษณุโลก เมื่อมาถึงแล้วไม่พบเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เจ้าเมือง จึงมีแผนหมายจะยึดเมืองพิษณุโลกโดยคิดหลอกให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เข้าใจผิดว่าเพื่อรักษาเมืองให้มั่นคง จึงเรียกขุนนางในเมืองสั่งความว่าตนจะเป็นเจ้าเมืองแทน ซึ่งหลวงโกษา (ยัง) ทหารเอกของเจ้าพระยาพิษณุโลกคิดเห็นชอบกับเจ้าฟ้าจีดด้วยเพราะเห็นว่าเป็นลูกหลานเจ้านาย แต่ญาติของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เห็นการณ์ ท่านผู้หญิงเชียง ภริยา และบ่าวไพร่จำนวนหนึ่งจึงรีบไปบอกความกับเจ้าพระยาพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จึงเลิกทัพกลับมา เจ้าฟ้าจีดสั่งให้ทหารเตรียมรบป้องกันเมืองแต่ทหารกลับไม่ต่อสู้ใด ๆ เพราะทหารในเมืองต่างก็นับถือเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เมื่อทหารจับตัวเจ้าฟ้าจีดได้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จึงว่ากล่าวติเตียนแล้วจับส่งตัวไปยังพระนคร แต่มีพม่าตั้งทัพอีกที่เมืองนครสวรรค์จึงลงไปพระนครไม่ได้ สั่งให้ทหารจับตัวเจ้าฟ้าจีดไปถ่วงน้ำที่เกยชัยบริเวณน้ำน่านและน้ำยม บรรดาพรรคพวกก็เอาไปประหารเสีย ในระหว่างที่เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) กลับมาปราบเจ้าฟ้าจีด พม่าถือโอกาสยกทัพล่วงเลยจากสุโขทัยมานครสวรรค์ลงมายังกำแพงเพชร หมายจะรุกรานกรุงต่อไป เมืองพิษณุโลกจึงมิได้เสียเมืองแก่พม่า (ทางไทยกล่าวว่า ''"...ทำนองเจ้าพระยาพิศณุโลกจะเปนคนเข้มแข็ง จึงรักษาเมืองพิศณุโลกไว้ได้..."'' แต่ทางพม่ากล่าวว่าพม่าได้เมืองพิษณุโลกด้วย) <ref>ดำรงราชานุภาพ.สมเด็จกรมพระยา. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 6 เรื่องไทยรบพม่าครั้งกรุงเก่า.สงครามครั้งที่ 24 คราวเสียกรุงครั้งหลัง. กรุงเทพฯ : อักษรนิติ์, 2460.</ref>
<div>หมายเหตุ:</div><div>'''ประเด็นเรื่องการเสียเมืองพิษณุโลก'''</div><div>เนเมียวสีบดีพร้อมกองทัพพม่า 40,000 นาย <sup><u>(เหตุการณ์ขณะนั้นอ้างถึงประชุมพงศาวดารภาคที่ 6 เรื่องไทยรบพม่าครั้งกรุงเก่า ตอน คราวเสียกรุงครั้งหลัง)</u></sup> เดินทางมาจากเชียงใหม่มาทางเมืองสวรรคโลก และเมืองสุโขทัย ซึ่งหัวเมืองเหนือพระเจ้าเอกทัศโปรดให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) รักษาหัวเมืองอยู่ (ยังคงอยู่ที่หัวเมืองพิษณุโลก) เมื่อกองทัพพม่าเริ่มตีได้เมืองสวรรคโลกเข้ามา เจ้าพระยาพิษณุโลก จึงยกทัพไปช่วยเมืองสุโขทัย ในระหว่างนี้เจ้าฟ้าจีดถือโอกาสตั้งเป็นเจ้าเมืองเสียเอง เจ้าพระยาพิษณุโลกทราบข่าวจึงกลับมาปราบเจ้าฟ้าจีดจนสำเร็จและตั้งทัพรักษาเมืองพิษณุโลกไว้ เมืองสุโขทัยต้านทัพพม่าไม่ไหวจึงเสียเมืองให้พม่าเพราะเจ้าพระยาพิษณุโลกนำทัพกลับไปหัวเมืองพิษณุโลกไปแล้ว เมืองที่พม่าตีได้คือเมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองพิจิตร (หลวงโกษา เจ้าเมืองพิจิตรมาช่วยราชการอยู่ที่หัวเมืองพิษณุโลกอยู่ก่อนจะเสียเมือง) หลังจากนั้นกองทัพเนเมียวสีหบดีจึงมารวมที่เมืองนครสวรรค์เคลื่อนทัพผ่านสิงบุรีห์ลงไปตั้งกองทัพอยู่ที่ วัดป่าฝ้าย ชานกรุงศรีอยุธยา <sup><u>(อ้างถึงพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา)</u></sup></div><div>
'ข้อสันนิษฐาน: หากพม่าตีเมืองพิษณุโลกได้'
บรรทัด 106:
[[ไฟล์:post_ayutthaya.jpg|thumb|250px|ภาพแสดงที่ตั้งชุมนุมต่าง ๆ หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง (พ.ศ. 2310) <br>1: ชุมนุมพระยาตาก (รวมกับชุมนุมสุกี้พระนายกอง) <br>2: ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)<br>3: ชุมนุมเจ้าพระฝาง <br>4: ชุมนุมเจ้าพิมาย <br>5: ชุมนุมเจ้าพระยานครศรีธรรมราช]]
 
เมื่อ พ.ศ. 2311 หลังจากที่[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]ทรงทราบข้อมูลจาก[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)]] เกี่ยวกับเจ้าพระยาพิษณุโลก ราวเดือนตุลาคม ฤดูน้ำหลากจึงยกทัพด้วยกำลังพล 15,000 นาย ไปปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นชุมนุมแรกซึ่งเป็นชุมนุมใหญ่ เจ้าพระยาพิษณุโลกจึงได้ให้หลวงโกษา (ยัง) ยกกองทัพมาตั้งรับที่ตำบลเกยชัย เขตเมืองนครสวรรค์ คอยดักซุ่มสกัดทัพ ครั้นกองทัพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกขึ้นไปถึง ก็ได้ปะทะรบพุ่งกันอย่างสามารถ ข้าศึกทหารฝ่ายชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ได้ยิงปืนมาถูกพระชงฆ์ (หน้าแข้ง) ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับบาดเจ็บ จึงต้องยกทัพกลับ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่มที่ 3 บันทึกว่า {{คำพูด|'''''เจ้าพระพิษณุโลก (เรือง) ได้ทราบข่าวศึก จึงแต่งให้หลวงโกษา (ยัง) ยกกองทัพลงมาตั้งรับ ได้รบกันเป็นสามารถ ข้าศึกยิงปืนมาต้องพระชงฆ์ข้างซ้าย จึงให้ล่าทัพหลวงกลับมายังกรุงธนบุรี'''''}} ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวว่า {{คำพูด|'''''พระยาพิษณุโลกรู้ประพฤติเหตุ แต่งพลทหารให้หลวงโกษา (ยัง) ยกออกมาตั้งรับ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จนำพลทั้งปวงเข้ารณรงค์ด้วยข้าศึกครั้งนั้น ฝ่ายข้าศึกยิงปืนมาดังห่าฝนต้องพระชงฆ์เบื้องซ้าย เลียบตัดผิวพระมังสะไปจึงให้ลาดทัพกลับยังกรุงธนบุรี'''''}} พระยาศรีสัชนาลัยบดี (เลี้ยง ศิริปาละกะ) บันทึกว่า {{คำพูด|'''''ในปลายปีชวดนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จยกพยุหโยธาไทยจีน สรรพด้วยสรรพาวุธทั้งทางบกทางเรือ ขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลก ซึ่งเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นเจ้าแข็งเมืองอยู่ ได้รบกันเป็นสามารถ ข้าศึกยิงปืนกระสุนปืนเฉียดขาเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ซึ่งนั่งเรือหน้าพระที่ นั่งผ้านุ่งขาด กระสุนเลยไปต้องพระองค์เบื้องซ้าย จึงได้ล่าทัพกลับพระนคร'''''}}
บันทึกความทรงจำของ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี]] บันทึกไว้ว่า <ref name="refphisanulok_1">[http://www.navy.mi.th/navic/document/910802b.html วสินธ์ สาริกะภูติ, พลเรือเอก. "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตอนหักคีมพม่าและเสือพบสิงห์" นาวิกศาสตร์ สำนักงานราชนาวิสภา. 91(8) : 6 - 12 : สิงหาคม 2551.]</ref> <ref>จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี หน้า ๙๐ ข้อที่ ๒๐</ref> {{คำพูด|'''''ไปตีเกยชัย ถูกปืนไม่เข้า'''''}}
ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) นับเป็นชุมนุมใหญ่ชุมนุมแรกที่[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]ไปตีแล้วไม่สำเร็จ <ref>ชัยฤกษ์ ไชยโกมินทร์, พลเอก. ประเด็นพระยาตากเป็นกบฏ.</ref>
ผลจากการที่[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]ไม่สามารถเอาชนะชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ทำให้พระยาพิษณุโลก (เรือง) ต้องการมีอำนาจหัวเมืองเหนือ <ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วพิมพ์, 2527.</ref> จึงตั้งตนเป็นพระมหากษัตริย์เป็น "'''พระเจ้าพิษณุโลก'''" <ref>กหช.จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ.1199 เลขที่ 75</ref> <ref>แสงเพชร. สิ้นชาติ กู้แผ่นดิน จลาจลบนแผ่นดินพระเจ้าตาก. กรุงเทพฯ : วันชนะ, 2549.</ref> ทำให้ขุนนางเก่าอยุธยาบางส่วนเกิดความไม่พอใจหนีไปเป็นบริวารของ[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] ตามที่ปรากฏ '''''"มีชาวเมืองพิษณุโลก เมืองพิจิตรแตกมาสู่โพธิสมภาร'''"'' ความเข้มแข็งชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เพิ่มมากขึ้นเพราะได้ยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ถึง 3 ครั้งต่อมาก็เสด็จสวรรคต '''“พระเจ้าพิษณุโลก”''' ก็ถึงแก่อสัญกรรม '''''“เจ้าพระยาพิษณุโลกอยู่ในราชสมบัติ 6 เดือน พระชนมายุได้ 49 ปี ก็เสด็จสวรรคตไปตามยถากรรม”''''' <ref>วนรัตน์, พระ, พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาภาษามคธและคำแปล, พระยาพจนสุนทร แปล, พระนคร, พิมพ์ในงานศพท่านเลื่อม บุนนาค 2459, หน้า 32-33</ref> <ref>สังคีติยวงศ์ พงศาวดาร เรื่องสังคายนาพระธรรมวินัย สมเด็จพระวันรัตน์ วัดพระเชตุพน ในรัชกาลที่ ๑.กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร , 2521.</ref> แต่ก็มีอีกหลักฐานที่ขัดแย้งกับเหตุผลของนิธิ เอียวศรีวงศ์ดังกล่าวว่า '''''“กำเริบถือตัวมีบุญญาธิการ จึงตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินรับราชโองการอยู่ได้ประมาณ 7 วัน ก็บังเกิดวัณโรคขึ้นในคอ (โรคฝีละลอก) ถึงพิราลัย”''''' <ref>สมเด็จพระปฐมกษัตริย์ (ทองด้วง) แห่งราชวงศ์จักรี</ref> พระอินทรอากรอินทร์อากร น้องชายของเจ้าพระยาพิษณุโลกจึงได้ขึ้นครองเมืองแทน แต่ไม่ได้สถาปนาเป็นกษัตริย์ แต่อย่างไรก็ตามมีหลายหลักฐานที่ไม่ได้ปรากฏนามของ พระอินทรอินทร์อากรและไม่ได้เกี่ยวข้องกับเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) มีบางหลักฐานปรากฏว่าพระอินอินทร์อากรถูกเจ้าพระฝาง (เรือน) จับต้องโทษจนเสียชีวิต ต่อมาชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จึงอ่อนแอลง ส่งผลให้เกิดการรุกรานของชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ขึ้น