ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อานามสยามยุทธ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
 
== อันนัมสยามยุทธ ==
ต่อมาบางส่วนของพม่าต้องตกเป็น[[จักรวรรดิอังกฤษ|อาณานิคมของอังกฤษ]] ประกอบกับไทยเลือกที่จะไม่ปะทะกับอังกฤษด้วยการขยายอิทธิพลลงไปในแหลมมลายู ทำให้ในรัชกาลที่ 3 สามารถเลือกที่จะเผชิญหน้ากับญวนทางตะวันออกได้อย่างเต็มที่ โดยทำสงครามกับญวนที่เรียกว่า สงครามอานัมสยามยุทธ หรือสงครามไทย-ญวน ระหว่าง พ.ศ. 2376–2390 ซึ่งเป็นสงคราม 14 ปี ระหว่างสองชนชาติใหญ่ที่เหลืออยู่ในขณะนั้นของ[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] สงครามครั้งนั้นเกิดขึ้นเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในเขมร อันเป็นดินแดนกั้นกลางระหว่างไทยกับญวน สงครามที่เนิ่นนานเช่นนี้ได้ก่อความเสียหายให้ทั้ง 2 ฝ่ายอย่างมาก
 
ใน พ.ศ. 2376 เมือง[[โฮจีมินห์|ไซง่อน]]ก่อการจลาจลโดยฝ่ายกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] เป็นแม่ทัพบกยกกองทัพไปตีเขมรและหัวเมืองญวนลงไปถึงเมืองไซง่อนเพื่อช่วยฝ่ายกบฏ และให้[[เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)]] เป็นแม่ทัพ[[เรือ]]ไปตีหัวเมือง[[เขมร]]และ[[ญวน]]ตามชายฝั่งทะเล โดยไปสมทบกับกองทัพบกที่เมือง[[ไซง่อน]] ในส่วนของกองทัพเรือต้องยกกำลังไปหลายครั้งเช่นเดียวกับการรบทางบก
บรรทัด 20:
 
== ผลสรุป ==
ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถรบชนะอีกฝ่ายได้เด็ดขาด ทำให้ต้องทำ[[สนธิสัญญา]]สงบศึกกัน โดยไทยยังคงไว้ซึ่งสิทธิในการสถาปนา[[กษัตริย์เขมร]] แต่เขมรก็ยังคงต้องส่งเครื่องบรรณาการแก่ญวนทุก ๆ 3 ปี ถือเป็นข้อตกลงที่น่าพอใจทั้ง 2 ฝ่าย สงครามจึงยุติลง
 
== หนังสืออ่านเพิ่มเติม ==