ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กวางผาจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 47:
 
== การอนุรักษ์ ==
สถานภาพของกวางผาจีน ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว ในประเทศไทย เป็น[[สัตว์ป่าสงวน]]ตาม[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535]] ปัจจุบัน พบว่ามีเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวที่[[ดอยม่อนจอง]] ใน[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย]] [[อำเภออมก๋อย]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] และ [[อำเภอสามเงา]] [[จังหวัดตาก]] มีชื่อเรียกของผู้คนในท้องถิ่นว่า '''"ม้าเทวดา'"'' เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ลึกลับ หายากมาก และเมื่อพบเห็นตัวก็จะหลบหนีไปด้วยความรวดเร็ว<ref name="กวางผา"/> โดยถูกล่าเพราะมีความเชื่อว่าน้ำมันจากกะโหลกของกวางผาจีนมีคุณสมบัติทางยาสมานกระดูกรักษาโรคไขข้ออักเสบได้เหมือนกับของเลียงผา<ref name=อม/>
 
โดยมีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เพียงแห่งเดียวเท่านั้นในประเทศไทย คือ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการเพาะเลี้ยงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เริ่มจากพ่อแม่พันธุ์เพียง 2 ตัว ชื่อ "ม่อนจอง" และ"ซีเกมส์" ที่ได้รับมาจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 ได้มีการปล่อยกวางผาจีนที่เพาะขยายพันธุ์ได้สู่ธรรมชาติทั้งหมด 9 ตัว และมีการติดปลอกคอวิทยุเพื่อทำการติดตามศึกษาต่ออีกด้วย<ref name=อม>{{cite news|title='กวางผา' หรือ 'ม้าเทวดา' ณ ดอยม่อนจอง|work=วอยซ์ทีวี|date=December 25, 2012|accessdate=July 12, 2016|url=http://news.voicetv.co.th/thailand/59121.html}}</ref>