ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กวางผาจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 1 interwiki links, now provided by Wikidata on d:Q1074195
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
 
== ลักษณะ ==
มีรูปร่างหน้าตาคล้าย[[แพะ]] มีหูยาว ขนตามลำตัวหยาบและหนามี[[สีเทา]]หรือน้ำตาลเทา มีแถบ[[สีดำ]]พาดอยู่กลางหลัง ตัวเมียจะมีสีขนอ่อนกว่าตัวผู้ บริเวณลำคอด้านในมีขนสีอ่อน ริมฝีปากและรอบ ๆ ตา[[สีขาว]] เขาสั้นมีสีดำ ตัวผู้จะมีเขาที่หนาและยาวกว่าตัวเมีย มีความยาวลำตัวและหัว 82-120 เซนติเมตร ความยาวหาง 7.5-20 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 50-60 เซนติเมตร น้ำหนัก 22-32 กิโลกรัม ผสมพันธุ์ในเดือน[[ตุลาคม]]-[[ธันวาคม]] ใช้เวลาตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว เป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย เมื่อตกใจจะส่งเสียงร้องสั้นและสูงเป็นสัญญานเตือนภัยถึงตัวอื่น ๆ ในฝูง ใช้ประสาทการมองมากกว่าการดมกลิ่น มักออกหากินตาม[[ทุ่งหญ้า]]โล่งในเวลาก่อน[[โพล้เพล้|พระอาทิตย์ตกดินจนถึงเวลาเช้าตรู่]] กินอาหารได้แก่ หญ้า, ยอดอ่อนของใบไม้, รากไม้ และลูกไม้เปลือกแข็งจำพวก[[ก่อ]]เป็นอาหารหลัก แม้จะอยู่ในเทือกเขาสูง แต่สามารถว่ายน้ำได้ดีเหมือน[[เลียงผา]] และเคยมีรายงานว่า เคยลงมากิน[[น้ำ]]และว่ายข้าม[[แม่น้ำ]] มีอายุเต็มที่ 11 ปี <ref>{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย
|ชื่อหนังสือ=สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน
บรรทัด 44:
 
== การอนุรักษ์ ==
สถานภาพของกวางผาจีน ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว ในประเทศไทย เป็น[[สัตว์ป่าสงวน]]ตาม[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535]] ปัจจุบัน พบว่ามีเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวที่[[ดอยม่อนจอง]] ใน[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย]] [[อำเภออมก๋อย]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] และ [[อำเภอสามเงา]] [[จังหวัดตาก]] มีชื่อเรียกของผู้คนในท้องถิ่นว่า '''ม้าเทวดา''' เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ลึกลับ หายากมาก และเมื่อพบเห็นตัวก็จะหลบหนีไปด้วยความรวดเร็ว<ref name="กวางผา"/> โดยถูกล่าเพราะมีความเชื่อส่าน้ำมันจากกะโหลกของกวางผาจีนมีคุณสมบัติทางยาเหมือนกับของเลียงผา<ref name=อม/>
 
โดยมีการเพาะเลี้ยงเพียงแห่งเดียวเท่านั้นในประเทศไทย คือ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการเพาะเลี้ยงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เริ่มจากพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์เพียง 2 ตัว ที่ได้รับมาจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 ได้มีการปล่อยกวางผาจีนที่เพาะขยายพันธุ์ได้สู่ธรรมชาติทั้งหมด 9 ตัว และมีการติดปลอกคอวิทยุเพื่อทำการติดตามศึกษาต่ออีกด้วย<ref name=อม>{{cite news|title='กวางผา' หรือ 'ม้าเทวดา' ณ ดอยม่อนจอง|work=วอยซ์ทีวี|date=December 25, 2012|accessdate=July 12, 2016}}</ref>
 
==หมายเหตุ==