ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
'''เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง''' หรือ '''เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง''' ({{lang-en|Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries}}) เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี และมีพื้นที่ติดต่อกับ[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร]]ในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี ที่อยู่ทางทิศตะวันตก ถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของผืนป่าตะวันตกของประเทศไทย และเป็นผืนป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ขึ้นทะเบียนเป็น[[มรดกโลก]]ทางธรรมชาติ โดยองค์การ[[ยูเนสโก]]เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีลักษณะเป็นผืนป่าที่มีความยาวจากเหนือจรดใต้วัดเป็นเส้นทางตรงมากกว่า 100 กิโลเมตร มีพื้นที่กว่า 1,737,587 ไร่ แต่ได้ผนวกรวมเพิ่มขึ้นอีก 2 ครั้ง จนขยายเป็นประมาณ 1,800,000 ไร่ ในปัจจุบัน ทางเหนือติดกับ[[อุทยานแห่งชาติแม่วงก์]] ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และ[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง]]รวมถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในจังหวัดตากและกาญจนบุรี และทิศใต้ติดกับ[[อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์]] จังหวัดกาญจนบุรี รวมถึง[[อุทยานแห่งชาติพุเตย]] จังหวัดสุพรรณบุรี มีเพียงพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเท่านั้นที่อยู่ติดกับชุมชน 3 อำเภอ คือ อำเภอบ้านไร่, อำเภอลานสัก และอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
[[ภาพ:Wildlifeee.jpeg|thumb|left|สัตว์ป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง]]
เดิมทีเป็นผืนป่าที่ได้รับสัมปทานให้ตัดไม้ แต่กลับไม่เคยถูกบุกรุก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 จึงเริ่มมีการสำรวจทางวิชาการอย่างจริงจัง และได้รับการประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำดับที่ 5 ของไทย ลักษณะภูมิประเทศมีทั้งเทือกเขาและที่ราบ โดยเป็นแนวเขาของ[[เทือกเขาถนนธงชัย]]และ[[เทือกเขาตะนาวศรี]] มีความหลากหลายทั้งภูมิประเทศ, ภูมิอากาศ และความชื้น อันเป็นที่มาของ[[ความหลากหลายทางชีวภาพ]] จนกล่าวได้ว่าที่นี่มีป่าเกือบทุกประเภท ยกเว้น[[ป่าชายเลน]]และ[[ป่าชายหาด]] หรือ[[ป่าพรุ]]น้ำจืด เท่านั้น โดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งถือเป็นพื้นที่[[เงาฝน]] เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรที่อยู่ทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ ๆ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 900 เมตร ดังนั้นเมื่อฝนมาปะทะที่ด้านทิศตะวันตกรวมถึงตะวันตกเฉียงใต้ก็จะตกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรโดยข้ามเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งไป จึงทำให้ป่าที่นี่ส่วนใหญ่ไม่ใช่ป่าดิบ จะเป็นป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะ[[ป่าไผ่]]
 
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ยังเป็นต้นน้ำของแหล่งน้ำสำคัญ 3 สาย คือ ลำน้ำทับเสลา ซึ่งไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำทับเสลา และไหลลงสู่[[แม่น้ำสะแกกรัง]]จนกระทั่งลงสู่[[แม่น้ำเจ้าพระยา]], ลำน้ำห้วยขาแข้งไหลลงสู่[[เขื่อนศรีนครินทร์]] และลำน้ำแม่กลอง–อุ้มผาง ที่ไหลจากจังหวัดกาญจนบุรีและตาก ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตไฟฟ้ารวมถึงน้ำประปาในภาคตะวันตกและกรุงเทพมหานคร
 
ความหลากหลายทางชีวภาพของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสัตว์ป่าหายากหลายชนิด บางชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เช่น [[สมเสร็จมลายู|สมเสร็จ]], [[เก้งหม้อ]], [[เลียงผาใต้|เลียงผา]], [[กระทิง]], [[วัวแดง]], [[ควายป่า]] ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ทางธรรมชาติแห่งสุดท้ายแล้วในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของ[[เสือโคร่งอินโดจีน|เสือโคร่ง]] ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และได้แพร่ขยายไปยังพื้นที่ป่าใกล้เคียงกันด้วย จากการศึกษาพบว่ามีประมาณ 70–80 ตัว จากปริมาณทั้งหมดที่มีในธรรมชาติในประเทศไทย 250–300 ตัว<ref>{{cite web|title=ห้วยขาแข้ง หัวใจแห่งป่าตะวันตก / รายการ บันทึกพงไพร|url=https://www.youtube.com/watch?v=padUtD28XGw|publisher=[[ช่อง 5]]|date=October 10, 2015|accessdate=July 12, 2016}}</ref>