ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประกันภัยยานพาหนะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{มุมมองสากล}}
{{ต้นฉบับ}}
'''ประกันภัยรถยนต์''' คือ การประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้รถยนต์ ในที่นี้รวมถึง รถโดยสารส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก การประกันรถยนต์ เกิดขึ้นหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]]ในหลายเมืองใหญ่ ในช่วงนั้นการขับรถยนต์ค่อนข้างมีอันตราย ในตอนนั้นยังไม่มีการบังคับประกันรถยนต์ นั่นหมายถึงผู้ประสบภัยรถยนต์มักไม่ค่อยได้รับการชดเชยจากอุบัติเหตุ และผู้ขับมักได้รับพิจารณาว่าต้องจ่ายค่าเสียหายต่อรถยนต์รับทรัพย์สิน การบังคับประกันภัยรถยนต์ มีการใช้ครั้งแรกในสหราชอาณาจักร จากพระราชบัญญัติการจราจรทางบก ค.ศ. 1930<ref>http://www.legislation.gov.uk/ukpga/1988/52/contents</ref>
 
ในประเทศไทยแบ่งการประกัยวินาศภัยสำหรับรถยนต์ออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ และ ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ โดยทั้งสองกรมธรรม์จะให้การคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับกรมธรรม์ที่บังคับโดยกฎหมายกล่าวคือรถยนต์ทุกคันไม่ว่าจะเป็น รถใหม่ป้ายแดง หรือ รถเก่านาน 10 ปี จะต้องมีกรมธรรม์ดังกล่าว โดยในประเทศไทยเรียกกันสั้นๆ ว่า พรบ.รถยนต์ ซึ่งบังคับให้รถทุกคันจะต้องลงทะเบียน และต่อในทุกๆ ปี เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะถูกจับดำเนินคดีตามกฏที่ได้ระบุไว้ใน พรบ.รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535