ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนอรุณอมรินทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
ถนนอรุณอมรินทร์เป็น "ถนนสายที่ 2" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายใน[[จังหวัดธนบุรี]]และ[[จังหวัดพระนคร]] ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้าง[[สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์]] (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี [[พ.ศ. 2472]] รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยกำหนดแนวเส้นทางไว้ตั้งแต่[[วัดอมรินทราราม]] มาทางถนนบ้านขมิ้น ข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านถนนสายที่ 1 (ปัจจุบันคือ[[ถนนประชาธิปก]]) แล้วตรงไปตามแนวถนนคลองสานซึ่งมีอยู่แล้ว ไปบรรจบกับถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือ[[ถนนลาดหญ้า]]) ที่ปาก[[คลองสาน]] ยาวประมาณ 4,900 เมตร กว้าง 23 เมตร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=47|issue=0 ก|pages=230-240|title=พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/A/230.PDF|date=2 พฤศจิกายน 2473|language=}}</ref>
 
ถนนสายที่ 2 สร้างและขยายใหม่ตามแนวถนนที่[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] (ช่วง บุนนาค) ได้สร้างไว้ รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งจวน (บ้าน) ของสมเด็จเจ้าพระยาถึง 4 ท่านอีกด้วย ได้แก่ [[สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก]] (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์]] (ดิศ บุนนาค) [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ]] (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ดังนั้น [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]จึงทรงตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า '''ถนนสมเด็จเจ้าพระยา'''<ref name="กนก">กนกวลี ชูชัยยะ. '''พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 357-358.</ref> อย่างไรก็ตาม ถนนสายนี้ตัดสำเร็จเฉพาะส่วนปลาย โดยแยกออกเป็นสองด้านและมีเส้นทางไม่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ส่วนปลายด้านหนึ่งจาก[[วัดพิชยญาติการาม]]ถึงปากคลองสานซึ่งยังคงใช้ชื่อว่า[[ถนนสมเด็จเจ้าพระยา]]ตามเดิมมาจนถึงปัจจุบัน และส่วนปลายอีกด้านมีระยะทางเริ่มต้นจาก[[วัดอรุณราชวราราม]]ขึ้นไปจนถึง[[วัดอมรินทราราม]] จึงเปลี่ยนชื่อถนนส่วนนี้เป็น '''ถนนอรุณอมรินทร์'''<ref name="กนก"/>
 
ต่อมาจึงมีการตัดถนนอรุณอมรินทร์ขึ้นไปทางเหนือ โดยข้ามคลองบางกอกน้อยบริเวณใกล้วัดอมรินทรารามและอู่เรือหลวง ไปตัดกับ[[ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า]]และบรรจบซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 (อัศวมิตร) โดยเป็นหนึ่งในโครงการตัดถนนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางยี่ขันและตำบลศิริราช อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี [[พ.ศ. 2509]] เพื่อตัดถนนให้รับกับคอสะพานที่จะสร้างข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] (ปัจจุบันคือ[[สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า]]) และสะพานข้ามคลองบางกอกน้อย (ปัจจุบันคือสะพานอรุณอมรินทร์)<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=83|issue=108 ก|pages=830-833|title=พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางยี่ขัน และตำบลศิริราช อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี พ.ศ. ๒๕๐๙|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2509/A/108/830.PDF|date=29 พฤศจิกายน 2509|language=}}</ref>