ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรุกรานรัสเซียโดยฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox military conflict | conflict = การรุกรานฝรั่งเศสของรัสเซีย | partof = สงครามนโป...
 
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
| partof = [[สงครามนโปเลียน]]
| image = [[ไฟล์:French invasion of Russia collage.jpg|350px]]
| caption = ทวนเข็มจากบนซ้าย: 1) ยุทธการที่โบโรจีโน, 2) เพลิงไหม้ในมอสโก, 3) มาร์แชล แน ในยุทธการเคานัส, 4) การถอนกำลัง
| caption =
| date = 24 มิถุนายน &nbsp;– 14 ธันวาคม 1812<br/> ({{Age in months, weeks and days |month1=6 |day1=24 |year1=1812 |month2=12 |day2=14 |year2=1812 }})
| place = [[จักรวรรดิรัสเซีย]]
บรรทัด 34:
'''การรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศส''' ({{lang-en|French invasion of Russia}}) หรือในรัสเซียรู้จักกันในชื่อ '''สงครามปิตุภูมิปี 1812''' ({{lang-ru|''Отечественная война 1812 года''}}) หรือในฝรั่งเศสรู้จักกันในชื่อ '''ปฏิบัติการรัสเซีย''' ({{lang-fr|''Campagne de Russie''}}) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1812 เมื่อ[[กองทัพใหญ่]]ของ[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1]] ทำการข้าม[[แม่น้ำเนมัน]]เพื่อหวังเข้าต่อสู้และพิชิตทัพรัสเซีย ซึ่งนโปเลียนหวังที่จะบังคับให้ [[ซาร์]] [[อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย]] ยุติการติดต่อค้าขายกับพวกพ่อค้าอังกฤษ ซึ่งนโปเลียนหวังใช้เป็นข้อกดดันทางอ้อมให้อังกฤษสูญเสียรายได้จนต้องขอเข้าสู่กระบวนการสันติภาพกับฝรั่งเศส{{sfn|Caulaincourt|2005|p=9}} และปฏิบัติการนี้ก็ยังมีเป้าหมายเพื่อแย่งชิงโปแลนด์มาจากรัสเซีย
 
== เหตุการณ์ ==
=== บุกรัสเซีย ===
กองทัพใหญ่เป็นมหากองทัพที่มีทหารมากถึง 680,000 นาย (เป็นทหารฝรั่งเศสราว 300,000) นโปเลียนเคลื่อนพลเข้าไปทางตะวันตกของรัสเซียอย่างรวดเร็วโดย และพยายามให้กองทัพรัสเซียเข้าปะทะ การปะทะเล็กหลายครั้งรวมถึงศึกใหญ่ที่[[สโมเลนสค์]]ในสิงหาคมนั้น นโปเลียนเป็นฝ่ายชนะอยู่เสมอ แม้จะรุกคืบได้เสมอแต่ก็ไม่เป็นที่พอใจของนโปเลียน เนื่องจากกองทัพรัสเซียได้หลีกเลี่ยงการต่อสู้ตลอดและถอยลึกเข้าไปในแผ่นดินรัสเซีย ทิ้งเมืองสโมเลนสค์ไว้ในกองเพลิง ทำให้แผนการที่จะทำลายกองทัพรัสเซียที่สโมเลนสค์นั้นต้องเป็นหมันไป และนำทัพไล่ตามกองทัพรัสเซีย{{sfn|Caulaincourt|2005|p=77|loc="Before a month is out we shall be in Moscow. In six weeks we shall have peace."}}
 
ในระหว่างที่ทัพรัสเซียล่าถอยลึกเข้าไปในแผ่นดิน แม่ทัพรัสเซียก็สั่งให้พวก[[คอสแซค]]เผาทำลายหมู่บ้าน, เมือง และทุ่งข้าวโพดระหว่างทางผ่านให้สิ้น{{sfn|Caulaincourt|2005|p=9}} เพื่อหวังไม่ให้กองทัพนโปเลียนมาใช้ประโยชน์ได้ กลยุทธ ''[[Scorched earth]]'' ของฝ่ายรัสเซียนี้ สร้างความความยุ่งยากและความตะลึงแก่กองทัพนโปเลียนเป็นอันมากว่ารัสเซียจะสามารถทำร้ายแผ่นดินและราษฏรของตนเองเพียงเพื่อสกัดกั้นทัพข้าศึก ซึ่งยากที่แม่ทัพฝรั่งเศสจะเอาอย่างได้{{sfn|Caulaincourt|2005|p=85|loc= "Everyone was taken aback, the Emperor as well as his men – though he affected to turn the novel method of warfare into a matter of ridicule."}} ด้วยเหตุฉะนี้ กองทัพนโปเลียนจึงจำต้องพึ่งแต่กองสนับสนุนทางเสบียง ซึ่งเสบียงที่ขนส่งมากก็ไม่พอเลี้ยงหองทัพมหึมาทั้งกองทัพ ความขาดแคลนอาหารเสบียงบังคับให้ทหารจำต้องออกจากค่ายในเวลากลางคืนเพื่อหาอาหาร ซึ่งบ่อยครั้งที่ทหารเหล่านี้ต้องถูกจับหรือถูกฆ่าตายโดยพวกคอสแซค
 
กองทัพรัสเซียใช้เวลาราวสามเดือนในการถอยทัพลึกเข้าไปในแผ่นดิน การสูญเสียดินแดนจำนวนมากแก่นโปเลียนเริ่มทำให้ขุนนางรัสเซียกลัดกลุ้ม พวกขุนนางจึงรวมตัวกดดันซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ให้ปลดจอมพล ไมเคิล บาร์เคลย์ ผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิรัสเซียเชื้อสายสก็อตแลนด์ลงจากตำแหน่ง ในที่สุดพระองค์ก็ยินยอมแต่งตั้งทหารเก่าแก่ เจ้าชายมีฮาอิล คูตูซอฟ ขึ้นมาเป็นผู้บัญชาการกองทัพแทนอย่างไม่ค่อยยินดีพระทัยนัก กระบวนการถ่ายโอนตำแหน่งนี้กินเวลากว่าสองสัปดาห์
เส้น 42 ⟶ 44:
วันที่ 7 กันยายน กองทัพนโปเลียนก็เผชิญหน้ากับกองทัพรัสเซียที่ขุดดินซุ่มอยู่เชิงเขาก่อนถึงหมู่บ้านเล็กๆที่ชื่อโบโรจีโน ราว 110 กิโลเมตรทางตะวันตกของ[[มอสโก]] การปะทะในวันนั้นถือเป็นการปะทะที่นองเลือดที่สุดในวันเดียวของสงครามนโปเลียน ซึ่งมีทหารเสียชีวิตกว่ากว่า 70,000 นาย แม้ว่าฝ่ายนโปเลียนจะได้รับชัยชนะในเชิงยุทธวิธี แต่ก็ต้องเสียนายพลไปถึง 49 นายและทหารอีกหลายหมื่น กองทัพรัสเซียที่เหลือรอดสามารถหนีไปได้ในวันต่อมา{{sfn|Riehn|1991|p=236}}
 
=== ยึดมอสโก ===
หนึ่งสัปดาห์ต่อมาในวันที่ 14 กันยายน นโปเลียนกรีฑาทัพถึงมอสโก ซึ่งสร้างความงุนงงแก่เหล่าทหารมากที่เมืองทั้งเมืองเป็นเมืองร้างที่แทบไร้ผู้คน เนื่องจากรัสเซียได้อพยพผู้คนเกือบทั้งหมดออกไปก่อนหน้าแล้ว จุดยุทธศาสตร์ในมอสโกจำนวนมากก็ได้ถูกเผาตามคำสั่งของนายกเทศมนตรี นโปเลียนตัดสินใจปักหลักในมอสโกเพื่อรอให้รัสเซียประกาศยอมแพ้ แต่การเสียมอสโกซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองก็ไม่ทำให้ซาร์แห่งรัสเซียยอมจำนน หลังอย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักดีถึงความโหดร้ายของหน้าหนาวในรัสเซีย เช่นนั้นแล้วก่อนที่หน้านโปเลียนจึงต้องการพิชิตรัสเซียให้เร็วที่สุด นโปเลียนรออยู่ในมอสโกหนึ่งเดือน เขาเศษก็ยกทัพไปตะวันตกเฉียงใต้ยังเมืองคาลูกา ซึ่งจอมพลคูตูซอฟแห่งรัสเซียตั้งค่ายทัพหลวงอยู่ที่นั่น
 
=== นโปเลียนถอนทัพ ===
[[ภาพ:Night Bivouac of Great Army.jpg|thumb|กองทัพนโปเลียนต้องเผชิญสภาพอากาศเลวร้ายระหว่างถอนทัพ]]
การเคลื่อนพลของนโปเลียนไปยังคาลูกาถูกจับตาโดยหน่วยสอดแนมของรัสเซีย นโปเลียนได้ปะทะกับรัสเซียอีกครั้งที่มาโลยาโรสลาเวตในวันที่ 24 ตุลาคม แม้ว่าจะได้รับชัยชนะ แต่นโปเลียนก็เลิกล้มที่จะยังคาลูกาเนื่องจากเริ่มเข้าฤดูหนาว เช่นนั้นแล้วนออกจากรัสเซีย ซึ่งระหว่างที่ถอนกำลัง กองทัพนโปเลียนก็ต้องเผชิญกับความหฤโหดของหน้าหนาวในรัสเซีย ทั้งการขาดที่พักและเสบียงทั้งของทหารและม้า (ผลจากยุทธวิธี ''[[Scorched earth]]'' ของรัสเซีย), ความขาดแคลนเสื้อกันหนาว, ภาวะตัวเย็นเกิน, ภาวะเหน็ดเหนื่อย ทำให้กองทัพนโปเลียนด้อยศักยภาพลง นี่จึงเป็นโอกาสทองของรัสเซีย รัสเซียได้ทีจึงยกทัพคอยตามตีอยู่เนืองๆ ในวันที่กองทัพนโปเลียนข้าม[[แม่น้ำเบเรซีนา]]ในเดือนพฤศจิกายน มีทหารที่พร้อมรบเหลือเพียง 27,000 นาย กองทัพใหญ่ได้สูญเสียกำลังพลในปฏิบัติการนี้ถึง 380,000 นายและตกเป็นเชลยอีกกว่า 100,000 นาย<ref>The Wordsworth Pocket Encyclopedia, page 17, Hertfordshire 1993</ref> ปฏิบัติการครั้งนี้สิ้นสุดลงเมื่อข้าศึกนายสุดท้ายออกจากแผ่นดินรัสเซียในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1812
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง|2}}
 
{{สงครามนโปเลียน}}