ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Hnaue (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
|พรรษา = 48
|อายุ = {{อายุปีและวัน|2356|8|19|2442|1|11}}
|วัด = [[วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร]]
|จังหวัด = กรุงเทพมหานคร
|สังกัด = [[ธรรมยุติกนิกาย]]
บรรทัด 20:
}}
 
'''สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก''' เป็น[[สมเด็จพระสังฆราช]]พระองค์ที่ 9 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] สถิต ณ [[วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี [[พ.ศ. 2436]] ถึงปี [[พ.ศ. 2442]] รวม 6 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 87 พรรษา เคยเป็นสามเณร[[นาคหลวง]] ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นผู้สามารถสอบ[[เปรียญธรรม 9 ประโยค]] ได้ขณะยังเป็นสามเณร รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น ''สามเณรอัจฉริยะ'' แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
 
== ประวัติ ==
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) เดิมเป็นชาว[[ตำบลบางไผ่]] [[จังหวัดนนทบุรี]] เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 9 แรม 8 ค่ำ ปีระกา จ.ศ. 1175<ref name="เรื่องตั้ง หน้า 103">''เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑'', หน้า 103</ref> ตรงกับวันที่ [[19 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2356]] บ้านเดิมอยู่บางเชิงกราน [[จังหวัดราชบุรี]] บิดาชื่อจัน เคยอุปสมบทและชำนาญในคัมภีร์มิลินทปัญหาและมาลัยสูตรมาก จึงได้ฉายาจากประชาชนว่า ''จันมิลินทมาลัย'' มารดาชื่อสุข มีพี่น้องเกิดร่วมบิดามารดาเดียวกัน 5 คน คืออวบ, ช้าง, สา, สัง, และอิ๋ม น้องชายของสมเด็จพระสังฆราช (สา) มีชื่อว่าสัง ได้บวชเป็นพระภิกษุที่[[วัดบวรนิเวศราชวรวิหารวิหาร]] ได้สมณศักดิ์สูงสุดที่ตำแหน่งพระสมุทรมุนี แต่ภายหลังก็ลาสิกขา ไม่ปรากฏว่าสมเด็จพระสังฆราช (สา) มีนามสกุลเดิมว่าอย่างไร บ้านท่านอยู่คลองบางขุนเทียน ปัจจุบันคือซอยวัดกำแพง ถนนพิบูลย์สงคราม เมืองนนทบุรี ซึ่งเดี๋ยวนี้ยังมีทายาทผู้ที่สืบเชื้อสายมาแต่พระองค์ อาศัยอยู่ย่านนี้ (สมัยที่ลาสิกขามีภรรยาและมีบุตร) ดังนั้นผู้ที่สืบเชื้อสายมาแต่พระองค์จึงใช้นามสุกล "ปุสสเด็จ" ปุสสเทโว" เป็นต้น
 
=== การศึกษา ===
ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เดิมอยู่วัดใหม่ในคลองบางขุนเทียนบ้านหม้อ บางตนาวสี แขวงเมือง[[นนทบุรี]] ปัจจุบันคือวัดนครอินทร์ จ.จังหวัด[[นนทบุรี]] แล้วย้ายไปอยู่[[วัดสังเวชวิศยารามวรวิหารวิศยาราม]] และไปเรียนพระปริยัติธรรมในพระราชวังบวรกับอาจารย์อ่อน และโยมบิดาของท่านเอง ซึ่งเป็นอาจารย์บอกหนังสืออยู่ที่พระราชวังบวรดัวยกัน เมื่อพระชนมายุได้ 14 ปี ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรก แปลได้ 2 ประโยค จึงยังไม่ได้เป็นเปรียญ แต่คนเรียกกันว่า เปรียญวังหน้า<ref name="เรื่องตั้ง หน้า 103"/> ซึ่งมีที่มาของชื่อนี้ว่า ในการแปลพระปริยัติธรรมนั้น ผู้เข้าแปลครั้งแรกต้องแปลให้ได้ครบ 3 ประโยคในคราวเดียว จึงจะนับว่าเป็นเปรียญ ถ้าได้ไม่ครบในการสอบครั้งต่อไป จะต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ครั้งนั้น[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ]]มีพระประสงค์ที่จะอุปการะภิกษุสามเณรที่เข้าสอบ มิให้ท้อถอย ดังนั้นถ้ารูปใดแปลได้ 2 ประโยค ก็ทรงรับอุปการะไปจนกว่าจะสอบเข้าแปลใหม่ ได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค ภิกษุ สามเณร ที่ได้รับพระราชทานอุปการะในเกณฑ์ดังกล่าว จึงได้ชื่อว่า เปรียญวังหน้า<ref name="เรื่องตั้ง หน้า 104">''เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑'', หน้า 104</ref>
 
ต่อมา สามเณรสาได้ถวายตัวเป็นศิษย์[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เมื่อทรงผนวชพำนักที่[[วัดสมอราย]] (ปัจจุบันคือ[[วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร]]) เนื่องจากได้ยินกิตติศัพท์ว่าทรงปราดเปรื่องเรื่องภาษาบาลีจนหาผู้เทียบได้ยาก เมื่อได้สมัครเป็นศิษย์ ก็ถ่ายทอดความรู้[[ภาษาบาลี]]ให้สามเณรสา จนกระทั่งเมื่อสามเณรสาอายุได้เพียงแค่ 18 ปีก็สามารถแปล[[พระปริยัติธรรม]]ได้ถึง[[เปรียญธรรม 9 ประโยค]]<ref name="เรื่องตั้ง หน้า 104"/> เป็นที่อัศจรรย์ในความฉลาดปราดเปรื่องยิ่งนัก สมัยนั้นยังแปลพระปริยัติธรรมกันด้วยปากเปล่า (หมายถึงแปลสดให้กรรมการฟัง แล้วแต่กรรมการว่าจะให้แปลคัมภีร์อะไร หน้าเท่าไหร่) เป็นที่โจษจันไปทั่วพระนคร สามเณรสาจึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวงสายเปรียญธรรมรูปแรกใน[[กรุงรัตนโกสินทร์]]
 
=== อุปสมบทเป็นนาคหลวงแล้วสึก ===
พระองค์ได้อุปสมบท ณ [[วัดราชาธิวาส]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2376]] โดยมี[[พระสุเมธมุนี (ซาย พุทฺธวํโส)]] ซึ่งเป็นพระมอญเป็นพระอุปัชฌาย์ [[พระวชิรญาณ]] (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า ปุสฺโส นักวิชาการหลายท่านเข้าใจว่าสามเณรสา สอบ[[เปรียญธรรม 9 ประโยค]] ได้ ณ [[วัดบวรนิเวศวิหาร]] ซึ่งไม่ใช่ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2379 หลังจากสอบได้แล้วและอุปสมบทแล้ว ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่[[วัดบวรนิเวศวิหาร]]ตามพระวชิรญาณภิกขุซึ่งทรงย้ายจากวัดราชาธิวาสมาพำนักที่[[วัดบวรนิเวศวิหาร]]ตามพระราชประสงค์ของ[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระมหาสา ปุสฺโส จึงเป็นสามเณรนาคหลวงสายเปรียญธรรมรูปแรกที่จำพรรษาอยู่[[วัดบวรนิเวศวิหาร]] เพียงแต่ไม่ได้สอบบาลีได้ในสำนักนี้เท่านั้น
 
ต่อมาเมื่อปี [[พ.ศ. 2382]] [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงแต่งตั้งท่านเป็นพระราชาคณะที่[[พระอมรโมลี]] ต่อมาได้ลาสิกขาไปเป็นฆราวาสอยู่ระยะหนึ่ง<ref name="เรื่องตั้ง หน้า 104"/>
 
=== อุปสมบทใหม่อีกครั้ง ที่มาของ ''พระมหาสา 18 ประโยค'' ===
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงลาผนวชและเสด็จขึ้นครองราชย์ มีรับสั่งให้นำนายสา มาเข้าเฝ้า แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า ''จะบวชอีกมั้ย'' นายสาก็กราบบังคมทูลว่า ''อยากจะบวช'' พระองค์จึงได้ทรงจัดหาเครื่อง[[อัฐบริขาร]]ให้ ท่านจึงได้อุปสมบทครั้งที่ 2 เมื่ออายุได้ 39 ปี ตก พ.ศ. 2394 ณ พัทธสีมา วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรงเทพมหานคร โดยมีกรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์]]) เป็นพระอุปัชฌาย์ คราวนี้ได้ฉายาว่า ''ปุสฺสเทโว''
ขณะอายุได้ 38 ปี เมื่ออุปสมบทแล้ว ว่ากันว่า ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง และทรงแปลได้หมดทั้ง 9 ประโยค จึงมีผู้กล่าวถึงพระองค์ด้วยสมญานามว่า สังฆราช 18 ประโยค ในคราวอุปสมบทครั้งที่ 2 นี้ พระองค์เป็นพระอันดับอยู่ 7 ปี จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่[[พระสาสนโสภณ]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2401]] รับพระราชทานนิตยภัตเสมอ[[พระราชาคณะชั้นเทพ]] แต่ถือตาลปัตรแฉกเสมอ[[พระราชาคณะชั้นสามัญ]]<ref name="เรื่องตั้ง หน้า 104"/> คนทั่วไปเรียกกันโดยย่อว่า เจ้าคุณสา
 
ต่อมา [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงสร้าง[[วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม]]เสร็จเมื่อปี [[พ.ศ. 2408]] ซึ่งเป็นวัดแรกที่ตั้งขึ้นใหม่ของ[[ธรรมยุติกนิกาย]]ขึ้น แล้วโปรดให้พระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว) ไปดำรงตำแหน่ง[[เจ้าอาวาส]][[วัดราชประดิษฐฯดิษฐสถิตมหาสีมาราม]] มีพระภิกษุติดตามจาก[[วัดบวรนิเวศวิหาร]]อีก 20 รูป ครั้งนี้ท่านได้รับพระราชทานตาลปัตรแฉกพื้นแพรเสมอชั้นธรรม<ref name="เรื่องตั้ง หน้า 104"/> และเมื่อปี [[พ.ศ. 2415]] [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้โปรดเกล้า ฯ สถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์ ขึ้นเป็น[[พระราชาคณะเจ้าคณะรอง]]ที่[[พระธรรมวโรดม]] แต่คงใช้ราชทินนามเดิมว่า [[พระสาสนโสภณ]] ที่ [[พระธรรมวโรดม]] ต่อมาเมื่อปี [[พ.ศ. 2422]] ได้รับสถาปนาเป็น[[สมเด็จพระราชาคณะ]]ที่[[สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์]] [[เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ]]
 
=== [[สมเด็จพระสังฆราช]] ===
ปี พ.ศ. 2434 ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สถิต ณ [[วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม]] จนตลอดพระชนมชีพ ในปี [[พ.ศ. 2434]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ สถาปนาเพิ่มอิสริยยศให้เป็นพิเศษกว่าสมเด็จพระราชาคณะแต่ก่อนมา คือทรงสถาปนาให้เป็น[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ]] นับว่าเป็น พระมหาเถระรูปที่ 2 ที่ได้รับสถาปนาในพระราชทินนามนี้ อันเป็นพระราชทินนามสำหรับตำแหน่ง[[สมเด็จพระสังฆราช]] เมื่อพระองค์ได้รับสถาปนาเป็น[[สมเด็จพระสังฆราช]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2436]] พระองค์ไม่ได้รับพระราชนามพระสุพรรณบัฏใหม่ คงใช้พระสุพรรณบัฏเดิม แต่ได้รับพระราชทานใบกำกับพระสุพรรณบัฏใหม่ และมีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ 16 ตำแหน่ง (ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่พิเศษ เพราะปกติจะมี 15 ตำแหน่งเท่านั้น)
 
== ผลงาน ==
พระองค์ได้แต่งหนังสือเทศน์ขึ้นไว้ สำหรับใช้อ่านในวันธรรมสวนะปกติ และในวันบูชา แต่งเรื่องปฐมสมโพธิ์ย่อ 3 กัณฑ์จบ สำหรับถวายเทศน์ในวันวิสาขบูชา 3 วัน ๆ ละ หนึ่งกัณฑ์ และเรื่องจาตุรงคสันนิบาตกับ[[โอวาทปาติโมกข์]] สำหรับถวายใน[[วันมาฆบูชา]]ที่[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] และยังได้ รจนาปฐมสมโพธิ์ภาคพิสดาร สำหรับใช้เทศนาในวัด 2 คืนจบอีกด้วย พระนิพนธ์ต่าง ๆ ของพระองค์ ยังคงใช้ ในการเทศนา และศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุ สามเณร จนถึงปัจจุบัน งานพระนิพนธ์ของพระองค์มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นงานแปลพระสูตรที่มีอยู่ 20 สูตร หนังสือเทศนามี 70 กัณฑ์ และเบ็ดเตล็ดมี 5 เรื่อง
 
ในปี [[พ.ศ. 2431]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทำการสังคายนา[[พระไตรปิฎก]] ซึ่งแต่เดิมจารึกไว้ด้วย อักษรขอม ด้วยการจารลงในใบลาน การคัดลอกทำได้ช้า ทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลาย ไม่พอใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ไม่สะดวกในการเก็บรักษา และนำมาใช้อ่าน ทั้งตัวอักษรขอมก็มีผู้อ่านได้น้อยลงตามลำดับ การพิมพ์พระไตรปิฎก เป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย จะแก้ปัญหาข้อขัดข้องดังกล่าวได้ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้อาราธนาพระเถระนุเถระมาประชุม ร่วมกับราชบัณฑิตทั้งหลาย ตรวจชำระ[[พระไตรปิฎกภาษาบาลี]] แล้วจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือขึ้น (เรียกว่า[[พระไตรปิฎกฉบับ ร.ศ. 112]]) สมเด็จพระสังฆราช (สา) ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ [[สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์]] ร่วมกับ[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] ขณะทรงดำรงพระยศกรมหมื่น เป็นรองอธิบดี จัดการทั้งปวงในการสังคายนาครั้งนี้<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2431/047/408_1.PDF การสาศนูปถัมภก คือ การพิมพ์พระไตรปิฎก], เล่ม 5, หน้า 410</ref> พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ครั้งนี้มีจำนวน 1000 จบ ๆ ละ 39 เล่ม ใช้เงิน 2,000 ชั่ง พิมพ์เสร็จเมื่อปี [[พ.ศ. 2436]] เป็นที่เลื่องลือแพร่หลายไปทั่วโลก
 
และทรงผูกพระคาถาหน้าบันกระทรวงกลาโหม และตราแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 (ตราอาร์ม)
 
== ลำดับสมณศักดิ์ ==
* พ.ศ. 2382 เป็นพระราชาคณะที่ ''พระอมรโมลี'' (หลังจากย้ายจาก[[วัดราชาธิวาสราชวรวิหารธิวาสราช]] มาอยู่[[วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร]]ได้ 2 ปี)
* พ.ศ. 23?? ลาสิกขาบท
* พ.ศ. 2394 กลับมาอุปสมบทใหม่
* พ.ศ. 2401 เป็นพระราชาคณะที่ ''[[พระสาสนโสภณ]]'' (ตำแหน่งสมณศักดิ์ใหม่ที่[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มีพระราชดำริขึ้นเพื่อพระมหาสา ผู้กลับมาบวชใหม่และสอบได้[[เปรียญธรรม 9 ประโยค]] ณ สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารอีกครั้งโดยเฉพาะ) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์นี้เมื่อปีมะเมีย เดิมที ทรงพระราชดำริจะใช้ตำแหน่งว่า "พระสาสนดิลก" แต่พระมหาสาได้ถวายพระพรว่าสูงเกินไป จึงทรงใช้ว่า ’[[พระสาสนโสภณ’โสภณ]]’
* พ.ศ. 2415 เป็น[[พระราชาคณะเจ้าคณะรอง]]คณะใต้ที่ ''[[พระสาสนโสภณ]] วิมลญาณสุนทร บวรสังฆนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณาลังการวิสุทธิ ธรรมวรยุตติกคณาภิสัมมานิตปาโมกษ์ ที่[[พระธรรมวโรดม]]''<ref>''เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑'', หน้า 105</ref>
* พ.ศ. 2422 ได้รับสถาปนาเป็น[[สมเด็จพระราชาคณะ]][[เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ|เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ]]ที่ ''[[สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์]] ญาณอดุลย์ สุนทรนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณ วิบลยคัมภีรญาณสุนทร มหาอุดรคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี''<ref>''เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑'', หน้า 106</ref> ญาณอดุลย์ สุนทรนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณ วิบลยคัมภีรญาณสุนทร มหาอุดรคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี''
* พ.ศ. 2434 ได้รับสถาปนาเพิ่มอิสริยยศเป็น ''[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ|สมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2434/052/463_1.PDF ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์], เล่ม 8, ตอน 52, หน้า 463-465</ref> สุขุมธรรมวิธานธำรง มหาสงฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาศ ปรมินทรมหาราชหิโตปสัมปทาจารย์ ปุสสเทวาภิธานสังฆวิสุต ปาวจนุตมสาสนโสภณ วิมลศีลสมาจารวัตร พุทธสาสนิกบริสัชคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณสุนทร มหาอุดรคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสีอรัญวาสี''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2434/052/463_1.PDF ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์], เล่ม 8, ตอน 52, หน้า 463-465</ref>
* พ.ศ. 2434 ได้รับสถาปนาเป็น[[สมเด็จพระสังฆราช]]ในราชทินนามเดิมว่า ''[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ|สมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ]] สุขุมธรรมวิธานธำรง มหาสงฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุศโลภาศ ปรมินทรมหาราชหิโตปสัมปทาจารย์ ปุสสะเทวาภิธานสังฆวิสุต ปาวจนุตมสาสนโศภน วิมลศีลสมาจารวัตร พุทธสาสนิกบริสัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณสุนทร มหาอุดดรคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/036/388.PDF ประกาศในการตั้งตำแหน่งพระสงฆ์], เล่ม 10, หน้า 389</ref> ดำรงตำแหน่งประธานสมณมณฑลทั่วราชอาณาเขตและเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ
 
บรรทัด 123:
 
{{เรียงลำดับ|อริยวงศาคตญาณ (สา}}
[[หมวดหมู่:สมเด็จพระสังฆราช]][[หมวดหมู่:เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม]]{{อายุขัย|2356|2443}}[[หมวดหมู่:เปรียญธรรม 9 ประโยค]][[หมวดหมู่:สมเด็จพระสังฆราช]]
{{อายุขัย|2356|2443}}
[[หมวดหมู่:ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย]]
[[หมวดหมู่:สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์]]
[[หมวดหมู่:เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ]]
[[หมวดหมู่:เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร]]
[[หมวดหมู่:นาคหลวง]]
 
[[หมวดหมู่:เปรียญธรรม 9 ประโยค]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดนนทบุรี]]