ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกาะตาปู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
Anothainews (คุย | ส่วนร่วม)
เขาตาปู ไม่ใช่เขาตะปู
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Isla Tapu, Phuket, Tailandia, 2013-08-20, DD 11.JPG|thumb|300px|เกาะตะปู]]
'''เกาะตะปูตาปู''' หรือ '''เขาตะปูตาปู''' ตั้งอยู่ในบริเวณทะเลด้านนอก ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ[[อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา]] คิดเป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จากที่ทำการอุทยานฯตามลำคลองเกาะปันหยี[[จังหวัดพังงา]] อยู่ทางด้านเหนือในเวิ้งอ่าวของ[[เกาะเขาพิงกัน]] เกาะตะปูตาปู มีลักษณะเป็นเกาะเดี่ยว รูปร่างคล้าย[[ตะปูตาของปู]] มีศัพท์เฉพาะทางธรณีวิทยาว่า เกาะหินโด่ง (Stack) การชมเกาะตะปูตาปูต้องชมในระยะไกลจากเรือ หรือจากสันดอนของเกาะเขาพิงกัน ไม่สามารถขึ้นไปบนเกาะได้
 
== ที่มาและลักษณะ ==
เกาะตาปู เป็นเขา[[หินปูน]] (Limestone) มีอายุ[[ยุคเพอร์เมียน]] (Permian) หรือประมาณ 295-250 ล้านปี เนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติสึกกร่อนจากการละลายน้ำได้ง่าย ดังนั้นเกาะต่าง ๆ ในบริเวณอ่าวพังงาจึงมีรูปร่างแปลก ๆ และมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการผุพังทำลายของเนื้อ[[หิน]]
 
กำเนิดของเกาะตะปูตาปูมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง[[ระดับน้ำทะเล]]สมัยโบราณ เดิมเกาะตะปูและเกาะเขาพิงกันด้านตะวันออกมีสภาพเชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกัน และอยู่บนผืนแผ่นดิน การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกในเวลาต่อมา ทำให้เกิดมีรอยเลื่อนใหญ่เป็นแนวยาวพาดผ่านพื้นที่อ่าวพังงาด้านตะวันตก เรียกว่า[[รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย]] รอยเลื่อนนี้ทำให้เกิดรอยเลื่อนย่อย ๆ ติดตามมาดังจะเห็นได้จากรอยเลื่อนที่เขาพิงกัน รอยเลื่อน รอยแตก และรอยแยกที่พบในหินปูนเกาะตะปู นอกจากนั้น รอยเลื่อนยังทำให้เกิดการหักพังของหินขึ้นในบริเวณรอยต่อระหว่างเขาตะปูและเขาพิงกันทางด้านตะวันออก ทำให้เขาตะปูตาปูแยกออกมาเป็นเขาลูกโดด
 
แผ่นดินเขาตะปูตาปูและเขาพิงกันได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลที่แผ่ขยายเข้ามาท่วมในช่วงหลังสุดเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่เขาพิงกัน และเขาตะปูมีสภาพเป็นเกาะ โดยบริเวณเขาตะปูเป็นหัวแหลมยื่นออกไปในทะเล ต่อมาหัวแหลมถูกคลื่นกัดเซาะและขัดเกลา จนกระทั่งมีรูปทรงเรียวและขาดออกจากตัวเขาพิงกันตะวันออกอย่างเด่นชัด มีสภาพเป็นเกาะหินโด่ง
 
น้ำทะเลที่ขึ้นสูงสุดเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา มีระดับสูงกว่าระดับปัจจุบันประมาณ 4 เมตร การขึ้นลงของน้ำทะเล ได้กัดเซาะเกาะตะปูให้เกิดเป็นแนวรอยน้ำเซาะหิน เว้าเข้าไปที่ระดับดังกล่าว ต่อมาน้ำทะเลลดระดับลงมาอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 2.5 เมตร จากระดับน้ำทะเลปัจจุบัน ระดับน้ำทะเลใหม่ได้กัดเซาะส่วนล่างของเกาะตะปูให้เกิดเป็นรอยน้ำเซาะหินแนวใหม่ คือ ระดับที่เป็นส่วนคอดกิ่วที่สุด และเป็นบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตเช่น [[หอย]] [[เพรียง]] เกาะอาศัยอยู่โดยรอบเมื่อได้นำซากหอยนางรมที่ติดอยู่ในแนวรอยกัดเซาะนี้ไปหาอายุโดยวิธีคาร์บอนรังสี (C14) ได้อายุประมาณ 2,620 + 50 ปี แสดงว่ารอยคอดกิ่วนี้เกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเลเมื่อเวลาประมาณ 2,500 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นน้ำทะเลจึงลดระดับลงมาอยู่ที่ระดับปัจจุบัน ส่วนที่คอดกิ่วที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 ปีที่ผ่านมานี้เอง ทำให้เกาะตะปูตาปูมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ
 
เกาะตะปูตาปูมีปัญหาการพังทลาย อันเกิดจากการกัดเซาะกัดเซาะของน้ำทะเล การขุดเจาะเนื้อหินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์จำพวกหอยนางรม เพรียง [[ปู]] ฯลฯ ความแรงของคลื่นลมใน[[ฤดูมรสุม]] การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของ[[โลก]] เนื่องจากปฏิกิริยาเรือนกระจกอันอาจมีผลให้คลื่นลมเปลี่ยนความเร็ว และสุดท้ายคือการ ถูกรบกวนด้วยกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การจอดเรือโดยการทิ้ง[[สมอ]]การผูก[[เรือ]]ไว้รอบเกาะ รวมทั้งคลื่นจาก[[เรือหางยาว]]ที่วิ่งรอบเกาะ
 
== ภาพยนตร์ ==
[[ไฟล์:Jamesbondtapu.jpg|thumb|250px|ภาพยนตร์เรื่อง[[เจมส์ บอนด์]] ตอน เพชฌฆาตปืนทอง (The Man with the Golden Gun) ฉากหลังเป็นเกาะตะปู]]
เกาะตะปูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง จนมี[[ภาพยนตร์]][[ฮอลลีวูด]]มาถ่ายทำที่เกาะตะปูตาปูนี้ ในปี [[พ.ศ. 2517]] ภาพยนตร์เรื่อง[[เจมส์ บอนด์]] ตอน[[เพชฌฆาตปืนทอง]] (The Man with the Golden Gun) ทำให้เกาะตะปูตาปูได้รับการขนานนามอีกชื่อหนึ่งว่า ''"James Bond Island"'' หรือ ''"เกาะเจมส์ บอนด์"'' อีกด้วย
 
== อ้างอิง ==