ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอลนีโญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
โดยปกติ บริเวณ[[เส้นศูนย์สูตร]]เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ลมสินค้าตะวันออก (Eastery trade winds) จะพัดจากประเทศเปรู (ชายฝั่ง[[ทวีปอเมริกาใต้]]) ไปทางตะวันตกของ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] แล้วยกตัวขึ้นบริเวณเหนือ[[สาธารณรัฐอินโดนีเซีย|ประเทศอินโดนีเซีย]] ทำให้มีฝนตกมากใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]และ[[ทวีปออสเตรเลีย]]ตอนเหนือ กระแสลมสินค้าพัดให้กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันทางตะวันตก จนมีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลปกติประมาณ 60 – 70 เซนติเมตร แล้วจมตัวลง กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรซีกเบื้องล่างเข้ามาแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวซีกตะวันออก นำพาธาตุอาหารจากก้นมหาสมุทรขึ้นมา ทำให้ปลาชุกชุม เป็นประโยชน์ต่อนกทะเลและการทำประมงชายฝั่งของประเทศเปรู
 
== ปรากฏการณ์เอลนีโญกาก ==
[[ไฟล์:El nino cond.jpg|frame|right|ปรากฏการณ์เอลนีโญ]]
เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลังลง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจาก[[ประเทศอินโดนีเซีย]]และ[[ประเทศออสเตรเลีย|ออสเตรเลีย]]ตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่ง[[ทวีปอเมริกาใต้]] ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มใน[[ประเทศเปรู]]และ[[ประเทศเอกวาดอร์|เอกวาดอร์]] กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิว[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]ไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ส่งผลกระทบให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้