ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขความผิดพลาดการพิมพ์
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 51:
ในปี [[พ.ศ. 2310]] ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพระฝางมีความสำคัญมาก คือ เป็นศูนย์กลางของชุมชนพระฝาง ซึ่งมี "เจ้าพระฝาง" (เรือน) เป็นหัวหน้าสามารถขยายอาณาเขตกว้างขวางจากทิศเหนือ ถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน ทิศใต้ถึงเมืองพิษณุโลก ทิศตะวันออกถึงลาว และทิศตะวันตกถึงเมืองศรีสัชนาลัย เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และเป็นชุมนุมสุดท้ายที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมเป็นอาณาเขตเดียวกันกับกรุงธนบุรี เมื่อ [[พ.ศ. 2313]]
วันที่ [[25 ต.ค.]] [[พ.ศ. 2444]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ([[รัชกาลที่ 5]]) ได้เสด็จฯ มาสักการะวัดพระฝาง ปรากฏข้อความในพระราชนิพนธ์ของพระองค์ตอนหนึ่งว่า “เมื่อถึงหน้าเมืองฝางก็มีหาดโต เมืองนั้นตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก มีพระวิหารกลางใหญ่ มีลายประตูเป็นลายสลักก้านขดหน้าสัตว์ต่าง ๆ เช่น บานวัดสุทัศน์ แต่เด่นออกมามากกว่า[[วัดสุทัศน์]] ทำงามดีมาก”
พระฝางเป็น[[พระพุทธรูป]]ปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบเศษ สร้างขึ้นสมัย[[พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]แห่งกรุงศรีอยุธยาประมาณ พ.ศ. 2280 มีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของแผ่นดินไทยอีกองค์หนึ่ง สันนิษฐานว่าผู้สร้างคือเจ้าพระฝาง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระฝาง เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระฝางหรือวัดสว่างคบุรีมุนีนาถ [[พ.ศ. 2313]] [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] ยกทัพหลวงมาตีชุมนุมพระฝางได้ และโปรดเกล้าฯ ให้รับละครขึ้นมาสมโภชพระพุทธรูปองค์สำคัญนี้ ที่วัดพระฝางถึง 3 วัน เท่ากันกับการสมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองไทยองค์หนึ่ง ในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่5) ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระฝางไปประดิษฐานที่[[วัดเบญจมบพิตร]]ฯจนถึงปัจจุบัน
 
== ปูชนียสถาน โบราณวัตถุ ==