ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เวิ้งนาครเขษม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 5:
แต่เดิมนั้น ที่ดินเวิ้งนาครเขษมเป็นที่ที่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดให้ขุดสระขนาดใหญ่ และทำเป็นสวนสำหรับเป็นที่เล่นสนานของคนทั่วไป เรียกว่า '''วังน้ำทิพย์''' (ภาษาจีนแต้จิ๋วว่า จุ้ยเจียเก็ง) ใกล้บริเวณนั้นเป็นที่อยู่ของชุมชน[[ชาวจีนแต้จิ๋ว]] ต่อมาจึงได้พระราชทานที่ดินผืนดังกล่าวแก่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] ทรงเห็นว่าบริเวณนี้มีชุมชนเกิดขึ้นแล้วจึงได้ถมจนกลายเป็นที่โล่งกว้างใหญ่ ตั้งชื่อว่า เวิ้งนาครเขษม มีความหมายถึง เวิ้งอันเป็นที่รื่นรมย์ของชาวเมือง ต่อมาชื่อเรียกเพี้ยนเป็น เวิ้งนครเกษม<ref>[http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakV5TURNMU5nPT0= เวิ้งนาครเขษม] รู้ไปโม้ด </ref>
 
ในช่วงหลังเลิกทาสแล้ว คนที่อยู่ในวังที่พ้นจากการเป็นทาส เมื่อย้ายออกจากวังได้รับทรัพย์สินของนายบางบ้าง ขโมยมาบ้าง ได้นำของมาขายในบริเวณนี้ ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ตลาดโจร” หรือ ในภาษาอังกฤษเรียกกันติดปากว่า “Thief Market” มีชาวตะวันตกก็นำของมาแลกเปลี่ยนกันบ้าง จึงเกิดเป็นตลาดค้าของเก่าขึ้น ตามมาด้วยศูนย์การค้าขนาดย่อม และเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกที่มีโรงภาพยนตร์ ชื่อ โรงภาพยนตร์นาครเขษม เป็นศิลปะแบบ[[อาร์ตเดโก]]<ref>[http://www.thairath.co.th/content/189296 กู๊ดบายประวัติศาสตร์ ทุนนิยมโกยเงิน แปลงร่าง'เวิ้งนาครเขษม']</ref> ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีความนิยมในดนตรีตะวันตกเพิ่มขึ้น เวิ้งนาครเขษมเป็นแหล่งนำเข้าเครื่องดนตรีจากตะวันตกมาขาย แและเกิดแหล่งค้าของเก่า เครื่องดนตรี หนังสือเก่า เครื่องทองเหลือง รวมทั้งร้านอาหาร ลักษณะอาคารศูนย์การค้ามีรูปแบบเป็น[[ห้องแถว]] เริ่มแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว แต่เกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. 2508 จึงได้ปรับปรุงอาคารเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้นและสามชั้นตามลำดับ อาคารมีรูปทรงแบบตะวันตก มีลายปูนปั้นตามวงกรอบประตูหน้าต่าง มีช่องระบายความร้อนและความชื้นที่แกะสลักด้วยไม้ หลังคากระเบื้องว่าว รอบสถานที่มีซุ้มประตูไม้สักฉลุลวดลายสวยงาม หลังเกิดเหตุไฟไหม้ยังมีการสร้างตลาดใหม่ ชื่อว่า “ตลาดปีระกา” เพราะสร้างเสร็จในปีระกา
 
ถึงยุคปัจจุบัน บริเวณแห่งนี้เป็นสมบัติกองมรดกรวมของตระกูล 5 ตระกูล ประกอบด้วย กิติยากร สวัสดิวัตน์ เทวกุล โสณกุล และบุณยะปานะ ซึ่งสืบสายจากพระธิดาทั้ง 5 ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต และได้โอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินให้บริษัท ทีซีซี เวิ้งนาครเขษม จำกัด บริหารจัดการ ด้วยราคาประมาณ 4,800 ล้านบาท โดยทำการโอนเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555<ref>[http://www.thairath.co.th/content/280520 'เวิ้งนาครเขษม' ตอนที่ 1 : เจ้าสัวเจริญตั้งโจทย์ขอ 300 ล้าน!!!]</ref>