ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองประปา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pluto p (คุย | ส่วนร่วม)
'''คลองประปา''' เป็นคลองขุดขึ้นตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ด้วยทรงเห็นว่าในขณะนั้นประชาชนทั
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ลบ|สั้นเกินไป}}
'''คลองประปา''' เป็นคลองขุดขึ้นตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ด้วยทรงเห็นว่าในขณะนั้นประชาชนทั่วไปยังคงใช้น้ำที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง น้ำทะเลจะเข้าถึงแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ดำเนินการโดย[[เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์]] ผู้บัญชาการกรมสุขาภิบาล ในระยะแรกได้กั้นแม่น้ำน้อย หรือ[[คลองเชียงราก]]ในปัจจุบันกักน้ำไว้ เรียกว่าคลองขัง แล้วขุดคลองจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]บริเวณ[[วัดสำแล]]ที่น้ำทะเลขึ้นไปไม่ถึง เข้ามาที่คลองขัง จากนั้นจึงขุดคลองอ้อมไปออก[[คลองบ้านพร้าว]]ให้เรือสัญจรได้ ขุด[[คลองบางหลวงหัวป่า]] และ[[คลองบางสิงห์]] ไปเชื่อมกับ[[คลองระพีพัฒน์]]และ[[คลองเปรมประชากร]] รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาที่คลองขัง
<ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000139648 “คลองขุดสมัยร.5 เส้นทางระบายน้ำสำคัญแห่งกทม.”]โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 17:02 น.</ref>
คลองขังมีความยาวยาว 8 กิโลเมตร กว้าง 60-100 เมตร ลึกตั้งแต่ 2-6 เมตร ใช้ผลิตน้ำประปาในตอนเริ่มแรก
 
ในระยะต่อมาได้ขุดคลองประปาจากตำบลบางพูนมายังโรงกรองสามเสน มีเขื่อนกั้นจากสามเสนถึงโรงกรองน้ำบางเขน ปลายคลองประตูน้ำกั้นไม่ให้น้ำที่ไม่สะอาดไหลเข้าคลองได้ และเวลาน้ำในคลองสามเสนลดลงประตูน้ำจะเปิดให้น้ำไหลลงคลองสามเสน ตลอดแนวคลองประปามีที่ทำการเจ้าหน้าที่รักษาคลอง 7 แห่ง ที่ตำบลสำแล เชียงราก รังสิต สีกัน บางเขน บางซื่อ และสามเสน เพื่อรักษาคลอง ขุดแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2456 <ref>[http://www.pwa.co.th/general/duty_pwa.html "ประวัติการประปาส่วนภูมิภาค"]การประปาส่วนภูมิภาค</ref> มีพระราชบัญญัติเรื่องคลองประปาในปี พ.ศ. 2456 และฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2526<ref>[http://www.library.coj.go.th/info/data/V15-01-001.pdf "พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526"]</ref>
 
ในปัจจุบันคลองประปายังถูกใช้ผลิตน้ำประปาเช่นเดิม ตัวคลองเริ่มต้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ไหลเป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอปากเกร็ด และอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี กับเขตดอนเมือง เขตหลักสี่ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร จากนั้นไหลเข้าสู่เขตบางซื่อ เขตดุสิต ไปจด[[คลองสามเสน]]ที่เขตพญาไท มีความยาว 25 กิโลเมตร กว้าง 14 เมตร และลึกประมาณ 3 เมตร
 
== อ้างอิง ==