ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การโฆษณา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''การโฆษณา''' ({{lang-en|advertising}}) เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ เป็นเครื่องมือสื่อสารทาง[[การตลาด]]เพื่อบอกกล่าวให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณค่าและความแตกต่าง รู้จักและก่อให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือใช้บริการนั้น<ref>[http://elearning.spu.ac.th/allcontent/ads210/lv02.htm เอกสารการบรรยายเรื่องโฆษณา จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม]</ref> ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันทำโดยเผยแพร่'''งานโฆษณา''' ({{lang-en|advertisement}}) ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ[[โทรทัศน์]] สื่อ[[วิทยุ]] เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่าง ๆ เช่น [[ป้ายโฆษณา]]กลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำ[[ตราสินค้า]]ได้อีกทางหนึ่งนนัเรยส้ด
 
== รูปแบบการโฆษณา ==
=== ที่มีสปอนเซอร์จ่ายเงินเพื่อจะได้แสดงโฆษณาของตนถือได้ว่าเป็นสื่อโฆษณาอย่างหนึ่ง สื่อโฆษณาอาจรวมถึง การเขียนกำแพง, ป้ายโฆษณา, ใบปลิว, แผ่นพับ, วิทยุ, โฆษณาในโทรทัศน์และโรงภาพยนตร์, ป้ายโฆษณาบนเว็บ, การโฆษณาบนท้องฟ้า, ที่นั่งตามป้ายรถเมล์, คนถือป้าย, นิตยสาร, หนังสือพิมพ์, ด้านข้างของรถหรือเครื่องบิน, ประตูรถแท็กซี่, เวทีคอนเสิร์ต, สถานีรถไฟใต้ดิน, สติกเกอร์บนแอปเปิล, โปสเตอร์, ด้านหลังของตั๋วการแสดง, ด้านหลังของใบเสร็จ และอื่น ๆ อีกมากมาย ===
=== การโฆษณาย่อย [[classified]] ===
การโฆษณาย่อย คือการโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างเฉพาะตัว ตอบสนองต่อสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ กลุ่มเป้าหมายต้องมีลักษณะเฉพาะที่รวมกลุ่มกันได้ เช่น [[กลุ่มผู้รักรถยนต์]], [[กลุ่มชมรมพระเครื่อง]], ชุมชนคนใช้งาน cms [[joomla]] ข้อความที่โฆษณาเป็นสิ่งที่กลุ่มผู้เป้าหมาย ค้นหาหรือสนใจอยู่ในปัจจุบัน ในลักษณะของการเอื้อหรือสอดคล้องเป็นทำนองเดียวกันกับเนื้อหา ไม่เป็นการขัดจังหวะผู้รับข่าวสาร และตรงข้ามกับ การโฆษณาแบบมหาชน [[mass media]]
 
=== การโฆษณาแบบแอบแฝง ===
การโฆษณาแบบแอบแฝง คือ การที่สื่อบันเทิงหรือสื่อใด ๆ ก็ตามกล่าวถึงหรือใช้ผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งโดยไม่ได้บอกชัดแจ้งว่าเป็นการโฆษณา ตัวอย่างเช่น ในภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ตัวเอกของเรื่องได้ใช้สินค้ายี่ห้อหนึ่งที่มีแบรนด์บอกสินค้าชัดเจน เช่น ในภาพยนตร์เรื่อง [[หน่วยสกัดอาชญากรรมล่าอนาคต]] (Minority Report) [[ทอม ครูซ]] ผู้รับบทเป็น จอห์น แอนเดอร์สัน ใช้โทรศัพท์มือถือยี่ห้อ[[โนเกีย]]ที่แสดงยี่ห้อไว้ชัดเจน และใช้นาฬิกายี่ห้อ [[Bulgari]] ตัวอย่างอื่นเช่นในภาพยนตร์เรื่อง [[ไอ โรบอท พิฆาตแผนจักรกลเขมือบโลก]] พระเอกของเรื่องกล่าวถึงรองเท้ายี่ห้อ[[คอนเวิร์ส (บริษัทรองเท้า)|คอนเวิร์ส]]ของเขาอยู่หลายครั้ง บริษัทผู้ผลิตรถยี่ห้อ[[คาดิลแลค]]ได้เลือกโฆษณากับภาพยนตร์เรื่อง [[เดอะ เมทริกซ์ รีโหลดเดด]] ทำให้ในหนังเรื่องนี้มีรถคาดิลแลคปรากฏอยู่ในหลายฉาก
 
=== การโฆษณาทางโทรทัศน์ ===
การโฆษณาทางโทรทัศน์เป็นวิธีโฆษณาแบบ [[broadcast]] ที่มีผู้รับชมเป็นจำนวนมาก สังเกตได้จากค่าโฆษณาตามทีวีในช่วงรายการดัง ๆ ที่มีราคาสูงมาก ในสหรัฐอเมริกา ค่าโฆษณาในช่วง[[ซูเปอร์โบวล์]]มีราคาสูงถึง 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อสามสิบวินาที และเคยเชื่อว่ามีประสิทธิภาพที่สุดจนกระทั่งเกิดสื่อใหม่ที่เรียกว่า [[new media]] ซึ่ง new media สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในวงกว้างได้ เช่นเดียวกับการโฆษณาทางโทรทัศน์ แต่สามารถตรวจนับได้ เป็นการสื่อสารสองทาง และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับผู้ชมแต่ละรายได้
 
=== การโฆษณาและการเข้าถึงผู้ชมรูปแบบใหม่ ===
สื่อต่าง ๆ เริ่มเข้ามามีอิทธิพลเหนือโทรทัศน์มากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน เป็นเพราะผู้บริโภคเริ่มมีเวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มากกว่าการอยู่หน้าจอโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุ
 
การโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตถือเป็นปรากฏการณ์เมื่อไม่นานมานี้ ราคาค่าโฆษณาบนเว็บขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าชมเว็บนั้น
 
การโฆษณาทาง[[อีเมล]]ก็เป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่ง อีเมลที่ผู้รับไม่พึงประสงค์จะรับถูกเรียกว่า[[สแปม]]
 
บริษัทบางบริษัทติดโลโก้ของตนไว้ที่ข้างจรวดและ[[สถานีอวกาศนานาชาติ]]
 
มีข้อถกเถียงกันถึงประสิทธิภาพอันรุนแรงของการโฆษณาในระดับฝังใต้จิตใต้สำนึก (การควบคุมจิตใจ) และการโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณาชวนเชื่อคือการสื่อสารกับบุคคลหนึ่งเพื่อต้องการมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น โน้มน้าวให้เห็นด้วยกับทางเลือกที่เราเสนอ จนเกิดการตัดสินใจตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ ซึ่งอาจไม่สนใจในความถูกต้องหรือข้อเท็จจริง นำเสนอเพียงด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้การโน้มน้าวประสบผลสำเร็จ
 
การโฆษณาแบบปากต่อปากเป็นการโฆษณาที่ไม่ต้องอาศัยเงิน กล่าวคือ ผู้บริโภคจะแนะนำให้ผู้อื่นใช้กันต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งยี่ห้อสินค้านั้นอาจกลายเป็นชื่อเรียกของสินค้าไปเลย เช่น [[ซีร็อกซ์]] = [[เครื่องถ่ายเอกสาร]], [[มาม่า]] = [[บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป]], [[บรีส]]หรือ[[เปา]] = [[ผงซักฟอก]], [[ซันไลต์]]หรือ[[ไลปอนเอฟ]] = [[น้ำยาล้างจาน]] ฯลฯ ปรากฏการณ์เหล่านี้ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของผู้โฆษณา อย่างไรก็ตาม บางบริษัทก็ไม่ต้องการให้ชื่อยี่ห้อของตนกลายเป็นคำใช้เรียกสินค้าเพราะอาจทำให้เครื่องหมายการค้าของตนกลายเป็น "คำตลาด" และทำให้สูญเสียสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้านั้นไป
 
การโฆษณาผ่าน [[SMS]] เป็นที่นิยมมากในยุโรปและอเมริกา ข้อดีของการโฆษณาด้วยวิธีนี้ก็คือผู้รับข้อความสามารถตอบโต้ได้ทันทีไม่ว่าจะติดอยู่ในการจราจรที่ติดขัดหรือจะนั่งอยู่ในรถไฟฟ้า การใช้ SMS ยังทำให้เกิดการโฆษณาแบบปากต่อปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
== อ้างอิง ==