ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หง ซิ่วเฉฺวียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
หง ซิ่วเฉฺวียนตระเตรียมฐานที่มั่นของกองทัพไว้แถบภูเขาจื่อจิงซาน มีกำลังพลนับหมื่นคน ทางราชสำนักแมนจูจึงส่งกองทัพไปปราบในช่วงเดือน[[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2393]] แต่ก็พ่ายแพ้ และในครั้งนี้มีชนพื้นเมือง เช่น [[ชาวจ้วง]], [[ชาวม้ง]] ร่วมกบฏด้วย
 
กองกำลังสมาคมบูชาพระเจ้า (ไป้ส้างตี้หุ้ย) ของหง ซิ่วเฉฺวียนรบชนะกองทัพหลวง ก็เลยประกาศสถาปนา "ไท่ผิงเทียนกั๋ว" (太平天国) (เมืองแมนแดนสันติ) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ไท่ผิง" (太平) ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในอุดมคติ หง ซิ่วเฉฺวียนสถาปนาตัวเองเป็น "เทียนหวาง "(ราชาแห่งสวรรค์) ประกาศยกเลิกประเพณีเก่า ๆ ที่เป็นการลิดรอนสิทธิมนุษยชนและขัดต่อศาสนาคริสต์ เช่น การรัดเท้าผู้หญิง,การมี[[โสเภณี]], การสูบ[[ฝิ่น]], การกราบไหว้บูชารูปเคารพ เป็นต้น รวมถึงให้มีการสอบ[[จอหงวน]] ซึ่งได้ผู้ชนะเลิศป็นเป็นจอหงวนหญิงคนเดียวในประวัติศาสตร์จีน คือ [[ฟู่ ซ่านเสียง]]<ref>หน้า 14, ''ฟู่ซ่านเสียง จอหงวนหญิงหนึ่งเดียวในประวัติศาสตร์'' โดย ฮ.ศุภวุฒิ จันทสาโร ทีมงานนิตยสารต่วย'ตูน. "ไทยรัฐ ซันเดย์ สเปเชียล". '''ไทยรัฐ'''ปีที่ 67 ฉบับที่ 21320: วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก</ref> และได้ยกพลสามหมื่นบุกเข้าโจมตีเมืองต่างๆ แถบกวางสีและกวางตุ้ง ได้รับชัยชนะยึดได้เมืองต่างๆ มากขึ้น
จนกระทั่งสามารถตีนคร[[นานกิง|หนานจิง]] ตั้งเป็นเมืองหลวงใช้ชื่อว่า "เทียนจิง" (เมืองสวรรค์) ตั้งสหายร่วมรบคนอื่น ๆ เป็น "หวาง" ([[อ๋อง]]) มากมายหลายคน แล้วหง ซิ่วเฉฺวียนก็วางมือ ไม่ค่อยยุ่งกับการบริหารดูแลบ้านเมือง ปล่อยให้หวางคนอื่น ๆ รับหน้าที่บริหาร ซึ่งเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้กบฏไท่ผิงต้องล้มสลายในที่สุด เนื่องจากบรรดาหวางทั้งหลายชิงดีชิงเด่นกัน ต่างคนก็พยายามช่วงชิงผลประโยชน์ส่วนตัวให้ได้มากที่สุดและหนักสุดถึงขนาดฆ่ากันเอง ในขณะที่ตัวผู้นำคือ หง ซิ่วเฉฺวียน ก็ได้วางมือเร็วไปก่อนเวลา ท้ายสุดในปี [[พ.ศ. 2407]] กบฏไท่ผิงก็ถึงจุดล่มสลายเมื่อพ่ายแพ้อย่างราบคาบต่อราชสำนักที่ผสมกำลังปราบปรามร่วมกับกำลังของชาติตะวันตกที่มีผลประโยชน์กับจีน เช่น อังกฤษ, [[ฝรั่งเศส]] และหง ซิ่วเฉฺวียน ได้ฆ่าตัวตาย เมื่อ [[พ.ศ. 2407]] มีกบฏล้มตายเป็นจำนวนถึง 30 ล้านคน