ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวกะเหรี่ยง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
{{ความหมายอื่น|ชาติพันธุ์||กะเหรี่ยง (แก้ความกำกวม)}}
 
ชื่อของชนเผ่ากระเหรี่ยงมีคำเรียกที่หลากหลาย เช่น คาเรน (อังกฤษ: Karen),กะหยิ่น (ภาษาพม่า: ကရင်လူမျိုး, ออกเสียงว่า [กะหยิ่น] (ซึ่งมีความหมายในเชิงดูถูก ใช้เรียกคนที่รู้สึกว่าด้อยกว่า เช่นเดียวกับคนไทย เรียก เซาะกราว ไอ้บ้านนอก ลาว หรือชาวป่า ชาวเขา ชาวดอย) ภาษาไทยเรียก กะเหรี่ยง หรือยาง ในภาษากะเหรี่ยงโผล่ว (หรือกระเหรี่ยงภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากมอญ) เรียกตัวเองว่า เป่อ-โผล่ว-พู หรือ โผล่ว และในภาษากะเหรี่ยงสะกอว์ (เดิมเรียกกะหร่าง หรือกะเหรี่ยงภาคเหนือ) เรียกตัวเองว่า ปา-คา-ยอว์ หรือ คา-ยอว์ มีความหมายถึง "คน" หรือ"มนุษย์" มีภาษาพูด และภาษาเขียนคล้ายภาษาพม่า จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชนเผ่ากระเหรี่ยงส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง ทางตอนใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเมียนมาร์ มีประชากรประมาณร้อยละเจ็ดของประชากรทั้งหมดในประเทศเมียนมาร์ หรือประมาณห้าล้านถึงเจ็ดล้านคน เนื่องจากไม่สามารถทำการสำรวจสำมะโนประชากรที่แท้จริงได้เพราะมีบางส่วนอพยพหนีไฟสงครามที่รัฐบาลพม่าเผาไล่ที่ดิน ฆ่า ข่มขืน บังคับไปเกณฑ์แรงงานในการทำสงครามกวาดล้างชนกลุ่มน้อยเมื่อ 67 ปีมาแล้ว (นับจาก พ.ศ. 2559 ลงไป หรือเมื่อมีการฉีกสัญญาปางโหลง ที่ชนกลุ่มน้อยทำร่วมกับนายพลอองซาน บิดาแห่งการปฏิวัติจากการยึดครองของจักรวรรดิอังกฤษ และญี่ปุ่น) หลบซ่อนอาศัยอยู่ตามป่า ตามเขามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยตามที่ราบลุ่มต้นแม่น้ำต่างๆ ในจังหวัดทางด้านทิศเหนือลงมาถึงทิศตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอนลงมาจนถึงประจวบคีรีขันธ์ กลายเป็นคนไทย คนชายขอบ หรือคนชาติพันธุ์มากกว่าร้อยละสี่สิบของประชากรชาวเขาทั้งหมดที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบารมีโพธิสมภารในสยามประเทศ และอีกหลายแสนคนต้องอยู่ในค่ายลี้ภัยตามตะเข็บชายแดนไทย มีบางส่วนเท่านั้นที่ได้ลี้ภัยสงครามไปอยู่ในประเทศที่สาม
 
== กะเหรี่ยงในประเทศไทย ==