ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามกลางเมืองรัสเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Anarchy34 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 101:
103,000 Revolutionary Insurrectionary Army of Ukraine
|กำลังพล2 = รัสเซียขาว 2,400,000 นาย
|casualties1casualties1 = 1,212,824 casualtiesนาย
The records are incomplete.<ref name=gfk>G.F. Krivosheev, ''Soviet Casualties and Combat Losses in the Twentieth Century'', pp. 7–38.</ref>
|casualties2casualties2 = At leastอย่างน้อย 1,500,000 นาย
|notes = Various anti-soviet factions also fought each other, for example pro-German armies fought against Baltic countries while Armenia and Azerbaijan fought each other etc.
}}
บรรทัด 109:
'''สงครามกลางเมืองรัสเซีย''' เริ่มในเดือนพฤษภาคม [[ค.ศ. 1918]] เมื่อกลุ่ม[[เชโกสโลวาเกีย]] (อดีตนักโทษสงครามที่เดินทางทาง[[รถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย]]ไปยัง[[วลาดีวอสตอค|เมืองวลาดีวอสตอค]]และเป็นพวกลี้ภัย) เกิดการปะทะกับกองทหารโซเวียตที่บริเวณ[[ภูเขาอูรัล]] และยังมีทีท่าว่าจะยึดขบวนรถไฟ การยึดครองนี้จะทำให้กองกำลังต่อต้านการปฏิวัติ (หรือพวกขาว "Whites") สามารถจัดกองทัพต่อต้าน[[บอลเชวิค]]ใน[[ไซบีเรีย]]ตะวันตก กองกำลังฝ่ายขาวนี้ยังมีที่ตั้งมั่นอยู่ในเขตรัสเซียในยุโรป ซึ่งถูกกองทัพเยอรมันยึดครองในเดือนมีนาคม ค.ศ.1918 ระหว่างเริ่มการยึดครองนั้น กองทหารอังกฤษได้เข้ามาตั้งมั่นที่เมือง[[อาร์คันเกลสค์]] [[มูร์มันสก์]] และ[[ทรานส์คอเคซัส]] เหมือนกับว่าจะช่วยฝ่ายรัสเซียขาว และกองกำลังฝรั่งเศสก็เข้ามาตั้งที่[[โอเดสซา]] แต่ปรากฏว่าทั้งสองชาติไม่ได้ต้องการที่จะเข้ามาปล่อยฝ่ายขาวอย่างจริงจัง เพราะทั้งสองได้ถอนตัวออกไปหมดในตอนปลาย ค.ศ.1919
 
พวก[[บอลเชวิค]]ถูกคุกคามจากรอบด้าน โดยในยูเครนนั้น [[เยอรมนี]]ได้สนับสนุนรัฐบาลแยกดินแดนชาว[[ยูเครน]] ส่วนทางใต้นายทหารพระเจ้าซาร์คือ นายพล[[แอนตัน เดนีกิน]] (Anton Denikin) ได้จัดตั้งกองทัพอาสาสมัครมีกำลังสำคัญคือ ทหารคอสแซคขับไล่พวกแดงออกจากคอเคซัส ในอูรัลและไซบีเรีย นายพลสมัยพระเจ้าซาร์คือนายพล [[อเล็กซานเดอร์ คอลชัค]] (A.V. Kolchak) จัดตั้งกองทัพของตนขึ้นมาพร้อมกับประกาศตนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัสเซียในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 กองกำลังของทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งเข้าโจมตี[[มอสโก]]ใน ค.ศ. 1919 แต่กองทัพคอลชัคถูกกองทัพแดงขับไล่ไปไซบีเรียใน ค.ศ. 1920 กองทัพเดนีกินถูกทำลายใน ค.ศ.1920 และเมื่อมีกองทัพของอดีตนายพลสมัยพระเจ้าซาร์อีกคนหนึ่งคือ [[นิโคไล ยูเดนิช]] ยกจากเอสโตเนียสู่เปโตรกราดในฤดูร้อน ค.ศ. 1919 ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้ เช่นเดียวกัน การคุกคามครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกเมื่อโปแลนด์ยกกองทัพบุกยูเครน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1920 กองทัพแดงขับไล่ทหาร[[โปแลนด์]]ถอยร่นไปถึง[[แม่น้ำวิสตูลา]] แต่ชาวโปลโปแลนด์ผู้รักชาติสามารถร่วมมือกันรักษา[[กรุงวอร์ซอ]]ไว้ได้ และทั้งสองฝ่ายได้ลงนามสงบศึกในเดือนตุลาคม
 
ความพ่ายแพ้ของฝ่ายขาวทุกด้าน ทำให้บอลเชวิคสามารถขยายอิทธิพลเข้าไปในทุกภูมิภาค แห่งสุดท้ายคือ [[วลาดีวอสตอค]] ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นภายหลังการยึดครองของ[[จักรวรรดิญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]] ค.ศ.1918 ได้ถอนตัวออกไปใน ค.ศ.1922
 
ชัยชนะของบอลเชวิคเกิดขึ้นด้วยหลายปัจจัย เช่น การที่[[เลออน ตรอตสกี]] (Leon Trotsky) สามารถระดมกำลังทหารของ[[พระเจ้าซาร์]]จัดเป็นกองทัพแดงที่แข็งแกร่ง การควบคุมเขตอุตสาหกรรมสำคัญทางภาคกลาง และความสามารถในการส่งกำลังจากมอสโกออกไปยังที่ที่ต้องการได้เป็นรัศมีที่กว้าง