ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนลูกกาหรี่ก่อกวน
บรรทัด 34:
 
==ช่วงต้นพระชนม์ชีพ==
[[ไฟล์:Anônimo - Retrato de Dom João VI - século XVIII.jpg|left|thumb|พระบรมสาทิสลักษณ์เจ้าชายฌูเอาขณะทรงเป็นดยุคแห่งบรากังซา ไม่ปรากฏชื่อผู้วาด]]
เป็นเด็ก
เจ้าชายฌูเอาประสูติที่กรุง[[ลิสบอน]] ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2310 ในรัชสมัยของ[[พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส]] พระอัยกา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองใน[[สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส|เจ้าหญิงมารีอา]] (ว่าที่พระราชินีนาถมารีอาที่ 1 ในอนาคต) กับ[[พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส|เจ้าชายเปดรู]] ผู้มีศักดิ์เป็นพระปิตุลาของพระนางเอง (ว่าที่พระเจ้าเปดรูที่ 3 ในอนาคต) ในช่วงที่เจ้าชายฌูเอาประสูตินั้น เจ้าหญิงมารีอาทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น[[เจ้าชายแห่งบราซิล|เจ้าหญิงแห่งบราซิล]] และเจ้าชายเปดรูทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งโปรตุเกส พระเจ้าฌูเซที่ 1 พระอัยกาได้เสด็จสวรรคตและพระมารดาทรงสืบราชบัลลังก์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกสขณะที่เจ้าชายมีพระชนมายุ 10 ชันษา ในวัยเยาว์ของพระองค์ ทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างเงียบ ๆ และพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเพียงชั้นเจ้าฟ้าชายภายใต้ร่มเงาของพระเชษฐา คือ [[เจ้าชายฌูเซแห่งบราซิล|เจ้าชายฌูเซ]] ซึ่งดำรงพระอิสริยยศเป็น[[เจ้าชายแห่งบราซิล]]และ[[ดยุคแห่งบรากังซา]]พระองค์ที่ 14 ซึ่งเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ มีเสียงเล่าลือกันว่าในวัยเยาว์ พระองค์มีพระอุปนิสัยที่ค่อนข้างหยาบคาย แต่ฌอร์ฌึ ปึไดรรา อี กอชตา ยืนยันว่าพระองค์ทรงได้รับการอบรมที่เข้มงวดเช่นเดียวกับเจ้าชายฌูเซ อย่างไรก็ตาม ทูตฝรั่งเศสในขณะนั้นก็ให้นิยามพระองค์ด้วยคำที่ไม่พึงประสงค์ โดยมองว่าพระองค์มีพระอุปนิสัยโลเลและพระสติปัญญาทึบ เรื่องราวเกี่ยวกับพระชนม์ชีพในช่วงนี้ได้รับการบันทึกไว้อย่างคลุมเครือเกินกว่าที่นักประวัติศาสตร์จะสรุปตัวตนของพระองค์ไปในทางใดทางหนึ่งได้<ref>Pedreira, Jorge e Costa, Fernando Dores. ''D. João VI: um príncipe entre dois continentes''. Companhia das Letras, 2008, pp. 31–35. In Portuguese.</ref>
 
จากข้อมูลที่ยึดถือกันมาแต่ดั้งเดิม พระอาจารย์ของพระองค์ในด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยบาทหลวง[[มานูเอล ดู เซนากูลู]], บาทหลวง[[อังโตนีอู ดูมิงเกช ดู ปาซู]] และบาทหลวง[[มีเกล ฟรังซีนี]] พระอาจารย์ด้านดนตรีของพระองค์คือ[[ฌูเอา กูร์ไดรู ดา ซิลวา]] นักออร์แกน และ[[ฌูเอา โซซา ดึ การ์วัลยู]] นักประพันธ์เพลง ส่วนพระอาจารย์ด้านการทรงม้าของพระองค์คือ หัวหน้าทหารรักษาการณ์การ์ลุช อังโตรีอู ฟึไรรา มงตึ เนื้อหาสาระที่พระองค์ทรงศึกษาในแต่ละด้านไม่เป็นที่ทราบกันมากนัก แต่แน่นอว่าพระองค์ต้องทรงได้รับการศึกษาเรื่องศาสนา กฎหมาย ภาษาฝรั่งเศส และธรรมเนียมปฏิบัติ และสันนิษฐานว่าพระองค์คงจะทรงศึกษาประวัติศาสตร์จากผลงานของ[[ดูอาร์ตึ นูนึช ดึ ลึเอา]] และ[[ฌูเอา ดึ บารุช]]<ref>Pedreira e Costa, p. 42</ref>
 
==การอภิเษกสมรสและวิกฤตการณ์สืบราชบัลลังก์==
เส้น 54 ⟶ 57:
 
===การเดินทางสู่บราซิล===
{{main|การย้ายราชสำนักโปรตุเกสไปที่บราซิล}}
ไม่รู้
[[ไฟล์:Príncipe Regente de Portugal e toda a Família Real embarcando para Brasil no cais de Belém.jpg|thumb|300px|ภาพ''การเสด็จลงเรือพระที่นั่งของเจ้าชายฌูเอาและพระราชวงศ์'' วาดโดย[[ฟรันซิสโก บาร์โตลอซซี]] ในปี พ.ศ. 2358]]
เจ้าชายฌูเอาทรงพยายามถ่วงเวลาอย่างเต็มที่โดยทรงแสร้งจนนาทีสุดท้ายว่าโปรตุเกสจะยอมจำนนต่อฝรั่งเศสแต่โดยดี ไปจนถึงทรงแนะนำ[[พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร]] ให้ทรงประกาศสงครามหลอก ๆ ระหว่างประเทศทั้งสอง แต่ที่จริงพระองค์กลับไม่ทรงกระทำตามแผนการ[[ระบบภาคพื้นทวีป]] (การสกัดกั้นอังกฤษ) ของ[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1|จักรพรรดินโปเลียน]]แต่อย่างใด สนธิสัญญาลับฉบับใหม่ได้ถูกจัดทำขึ้นโดยอังกฤษให้การรับรองว่าจะช่วยเหลือโปรตุเกสหากราชวงศ์ของเจ้าชายฌูเอาจะต้องหลบหนีในที่สุด สัญญาฉบับนี้เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายอังกฤษมาก เนื่องจากอังกฤษมีข้อผูกพันเพียงแค่การช่วยเหลือรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นมิตรกับตนเองมาตลอดเท่านั้น และอังกฤษยังสามารถรักษาอิทธิพลเหนือโปรตุเกสและแสวงหาผลตอบแทนมหาศาลจากการค้ากับจักรวรรดิระหว่างทวีปอย่างโปรตุเกสได้ต่อไปอีกด้วย โปรตุเกสจำต้องเลือกว่าจะเข้าข้างฝ่ายใดระหว่างฝรั่งเศสหรืออังกฤษ และความลังเลที่จะติดสินใจให้เด็ดขาดก็ทำให้โปรตุเกสตกอยู่ในสถานะอันเสี่ยงต่อสงครามไม่เฉพาะกับมหาอำนาจชาติใดชาติหนึ่งเท่านั้น แต่กับทั้งสองชาติ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2350 มีข่าวรายงานว่ากองทัพฝรั่งเศสได้เคลื่อนทัพเข้ามาใกล้ และในวันที่ 16 พฤศจิกายน กองเรือรบอังกฤษเข้ามาเทียบท่าที่กรุง[[ลิสบอน]]ด้วยกำลังทหาร 7,000 นายพร้อมคำสั่งให้พาราชวงศ์โปรตุเกสลี้ภัยไปยังบราซิล หรือถ้ารัฐบาลยอมจำนนต่อฝรั่งเศสก็ให้โจมตีและยึดเมืองหลวงให้ได้ ราชสำนักแบ่งเป็นสองฝ่ายระหว่างพวกนิยมอังกฤษกับพวกนิยมฝรั่งเศส หลังจากการพิจารณาอย่างรวดร้าวภายใต้แรงกดดันของทั้งสองฝ่าย เจ้าชายฌูเอาก็ทรงตัดสินพระทัยยอมรับการอารักขาจากอังกฤษและลี้ภัยไปยังบราซิล<ref name="Andrade"/><ref>Valuguera, Alfonso B. de Mendoza Y Gómez de. "Carlismo y miguelismo". In: Gómez, Hipólito de la Torre & Vicente, António Pedro. ''España y Portugal. Estudios de Historia Contemporánea''. Editorial Complutense, 1998, pp. 13–14. In Spanish.</ref><ref>Pedreira e Costa, pp. 174–176</ref>
 
กองทัพฝรั่งเศสที่นำโดยนายพล[[ฌ็อง-อ็องด็อช ฌูว์โน]] ได้รุกคืบเข้ามาโดยประสบความยากลำบากอยู่บ้าง แต่ก็มาถึงประตูเมืองลิสบอนในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2350<ref name="Schwarcz"/> เมื่อถึงตอนนี้ เจ้าชายฌูเอาพร้อมด้วยพระราชวงศ์ทั้งหมด และขุนนางผู้ติดตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐ และข้าราชบริพารกลุ่มใหญ่ พร้อมทั้งสัมภาระที่หลากหลายอันได้แก่งานศิลปะและหนังสือที่มีค่า เอกสาร และสมบัติอื่น ๆ ได้อยู่บนเรือเรียบร้อยแล้ว ทรงปล่อยให้รัฐบาลอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการแทนพระองค์และทรงแนะกองทัพว่าอย่าปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้รุกราน การออกเดินทางอย่างรีบเร่งท่ามกลางพายุฝนที่โหมกระหน่ำนั้นได้ทำให้เกิดความอลหม่านในกรุงลิสบอน เนื่องจากประชาชนรู้สึกตกตะลึงอย่างมากและไม่อยากเชื่อว่าเจ้าชาย พระราชินี และพระราชวงศ์กำลังจะละทิ้งพวกเขา<ref>[http://multirio.rio.rj.gov.br/historia/modulo02/embarque.html ''O Embarque e a Viagem da Corte'']. Secretaria Municipal de Educação da Cidade do Rio de Janeiro. In Portuguese.</ref><ref>Pedreira e Costa, pp. 185–186</ref> บันทึกเรื่องเล่าของ[[ฌูเซ อากูร์ซีอู ดัช เนวิช]] ได้บรรยายความรู้สึกของเจ้าชายผู้สำเร็จราชการไว้ว่า
{{quote|พระองค์มีพระประสงค์ที่จะตรัสออกมาแต่ไม่สามารถทำได้ พอมีพระประสงค์จะขยับพระองค์ พระวรกายก็สั่นและย่างพระบาทไม่ออก พระองค์ทรงพระดำเนินผ่านหุบเหวลึกและทรงมีจินตนาการถึงอนาคตที่มืดมิดและไม่แน่นอนดั่งมหาสมุทรที่ทรงกำลังจะเดินทางข้ามไป ประเทศชาติ เมืองหลวง ราชอาณาจักร ข้าทาสบริวาร พระองค์ต้องสละสิ่งเหล่านี้อย่างกะทันหัน ด้วยความหวังอันริบหรี่ที่จะได้กลับมาเห็นสิ่งเหล่านี้อีกครั้ง และทั้งหมดนี้เป็นเหมือนหนามที่ทิ่มแทงพระราชหฤทัยของพระองค์<ref>''"Queria falar e não podia; queria mover-se e, convulso, não acertava a dar um passo; caminhava sobre um abismo, e apresentava-se-lhe à imaginação um futuro tenebroso e tão incerto como o oceano a que ia entregar-se. Pátria, capital, reino, vassalos, tudo ia abandonar repentinamente, com poucas esperanças de tornar a pôr-lhes os olhos, e tudo eram espinhos que lhe atravessavam o coração."'' Pedreira e Costa, p. 186</ref>}}
[[ไฟล์:Autor não identificado - Embarque da Família Real Portuguesa.jpg|left|thumb|350px|ภาพ ''การเสด็จลงเรือพระที่นั่งของพระราชวงศ์'' ไม่ปรากฏชื่อผู้วาด]]
 
เพื่ออธิบายพระองค์เองต่อประชาชน เจ้าชายฌูเอามีพระบัญชาให้ติดป้ายประกาศตามถนนสายต่าง ๆ โดยระบุว่าการเดินทางของพระองค์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แม้ว่าได้ทรงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาความเป็นปึกแผ่นและความสงบสุขของราชอาณาจักรแล้วก็ตาม ข้อความในประกาศแนะนำให้ทุกคนอยู่ในความสงบและไม่ต่อต้านผู้รุกรานเพื่อจะได้ไม่มีการนองเลือดไปโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากการเสด็จออกเดินทางอย่างเร่งรีบ เจ้าชายผู้สำเร็จราชการ, สมเด็จพระราชินีนาถมารีอา, [[จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล|เจ้าชายเปดรู เจ้าชายแห่งไบรา]] (ต่อมาคือ พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกสและจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล) และ[[พระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส|เจ้าชายมีเกลแห่งโปรตุเกส]] (ต่อมาคือ พระเจ้ามีเกลแห่งโปรตุเกส) ทั้งหมดจึงประทับอยู่ในเรือลำเดียวกัน นี่เป็นการตัดสินใจที่ประมาทถ้าพิจารณาถึงอันตรายในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในสมัยนั้น และเป็นการเสี่ยงต่อการสืบราชสันตติวงศ์หากเรือพระที่นั่งเกิดอับปางกลางมหาสมุทร ส่วนพระนางการ์โลตา โคอากีนากับเหล่าเจ้าหญิงประทับบนเรือพระที่นั่ง 2 ลำอื่น<ref>Gomes, pp. 64–70</ref> จำนวนของผู้ตามเสด็จไปพร้อมกับเจ้าชายฌูเอายังคงเป็นที่ถกเถียง ในศตวรรษที่ 19 มีการกล่าวว่ามีผู้ตามเสด็จถึง 30,000 คน<ref>Bortoloti, Marcelo. [http://veja.abril.com.br/200607/p_114.shtml "Controvérsias na corte"]. In: ''Revista Veja'', Edição 2013, {{date|2007-06-20}}. In Portuguese.</ref> ในยุคหลังประเมินกันว่ามีผู้ตามเสด็จระหว่าง 500 ถึง 15,000 คน ข้อสรุปหลังนี้น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดในการจุผู้คนในกองเรือรบ 15 ลำ ซึ่งรวมลูกเรือด้วย ถึงกระนั้นเรือก็ยังคงแออัดมากเกินไป ปึไดรรา อี กอชตา ได้พิจารณาข้อมูลการประเมินต่าง ๆ แล้วสรุปว่าจำนวนผู้ตามเสด็จที่เป็นไปได้มากที่สุดอยู่ระหว่าง 4,000 ถึง 7,000 คนรวมทั้งลูกเรือ
 
หลายครอบครัวถูกพรากจากกัน แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนยังจับจองที่นั่งบนเรือไว้ไม่ได้และถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง การเดินทางครั้งนี้ไม่สงบนัก เรือหลายลำอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัยและความแออัดบนเรือได้ทำให้กลุ่มขุนนางถูกบั่นทอนเกียรติลง โดยส่วนใหญ่ต้องนอนเบียดกันในที่เปิดหรือตรงดาดฟ้าท้ายเรือ สุขลักษณะก็ไม่ดี เกิดการระบาดของเหา หลายคนไม่ได้เปลี่ยนเสื้อผ้า หลายคนป่วย เสบียงอาหารก็มีน้อยทำให้ต้องแบ่งสรรปันส่วนกันไป นอกจากนี้ กองเรือดังกล่าวต้องใช้เวลาสิบวันในเขตเส้นศูนย์สูตรภายใต้ความร้อนที่แผดเผาเพราะแทบไม่มีลมช่วยพัดใบเรือ ทำให้อารมณ์ของคนเริ่มขุ่นมัวและมีเสียงบ่นพึมพำ กองเรือรบยังต้องเผชิญพายุอีกสองลูกและในที่สุดก็กระจัดกระจายกันบริเวณหมู่เกาะ[[มาเดรา]] ในช่วงกลางของการเดินทาง เจ้าชายฌูเอาทรงเปลี่ยนพระทัยและตัดสินพระทัยเดินทางสู่เมือง[[ซัลวาดอร์]]ใน[[รัฐบาเยีย]] คงด้วยเหตุผลทางการเมือง กล่าวคือ เพื่อให้ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นั่นรู้สึกพอใจขึ้นหลังจากที่ซัลวาดอร์ได้สูญเสียสถานะเมืองหลวงของอาณานิคมไป ในขณะที่เรือพระที่นั่งที่มีเหล่าเจ้าหญิงประทับอยู่ได้เดินทางไปตามเส้นทางเดิมสู่รีโอเดจาเนโร<ref>Pedreira e Costa, pp. 186–194</ref><ref>Gomes, pp. 72–74; 82–100</ref>
 
===การเปลี่ยนสภาพอาณานิคม===