เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 12:
::::: ขอโทษด้วยครับ ถ้าจะใส่คำว่า "เจ้าหลวง" กลับเข้าในบทความ ก็จำเป็นต้องมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือลงกำกับ แต่ผมไม่มีหนังสือสักเล่มที่ระบุเช่นนั้น เว็บไซต์วังฟ่อนเองก็ไม่มีอ้างอิงที่มาของข้อมูล คือจะมาใช้อ้างอิงในวิกิก็ได้ครับ แต่ทางวิชาการถือว่าความน่าเชื่อถือน้อยกว่าแหล่งที่มาชั้นต้น เช่น พงศาวดาร ฯลฯ และต้องยึดตามหลักฐานนี้เป็นหลัก ส่วนบทความเจ้าหลวงนครอื่น ๆ ผมได้ทยอยแก้ไขไปพักใหญ่แล้ว เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันครับ --[[ผู้ใช้:พุทธามาตย์|พุทธามาตย์]] ([[คุยกับผู้ใช้:พุทธามาตย์|พูดคุย]]) 11:47, 14 พฤษภาคม 2559 (ICT)
:::::: คุณพีรวงค์ ลองอ่านที่บทความ "[[ประเทศราช]]" ดูนะครับ จะเห็นว่าสยามเขาจัดชั้นประเทศราชของเขาไว้ 3 ชั้น คือ พระเจ้าประเทศราช เจ้าประเทศราช และพระยาประเทศราช ดังนั้น เจ้าผู้ครองนครแพร่จึงมีศักดิ์เป็นเจ้าเฉพาะที่ฝ่ายล้านนาเรายอมรับกันเอง แต่ในทางสยามยังถือเป็น "พระยาประเทศราช" เท่านั้น จนกระทั่งพระยาพิริยวิไชยได้เป็นเจ้าพิริยเทพวงษ์ จึงถือว่าเป็นเจ้าประเทศราชมาแต่นั้นครับ --[[ผู้ใช้:พุทธามาตย์|พุทธามาตย์]] ([[คุยกับผู้ใช้:พุทธามาตย์|พูดคุย]]) 17:35, 15 พฤษภาคม 2559 (ICT)
::::::: ขอบคุณมากครับที่ได้ปรับปรุงบทความนครรัฐแพร่ กรณีหัวเมืองมลายูนั้น สมัยที่ยังเป็นประเทศราชของสยาม สุลต่านแห่งเกดะห์มีเป็น''พระยาไทรบุรี'' เหมือนอย่างที่เจ้านครแพร่ได้เป็น''พระยาแพร่'' แต่สมัย ร. 5 ได้มีการตั้งพระยาไทรบุรีบางคนขึ้นเป็นเจ้าพระยาเป็นกรณีพิเศษ เหมือนอย่างที่พระยาพิริยวิไชยได้เป็นเจ้าพิริยเทพวงษ์น่ะครับ แต่ถ้าเทียบกันแล้วเจ้าพระยาไทรบุรีจะได้เครื่องราชฯ สูงกว่าครับ เพราะเมืองไทรบุรีเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สยามอยากรักษาอำนาจไว้ ส่วนคุ้มเจ้าน้อยหนู ผมไม่มีข้อมูลเลยครับ หากพบจะแจ้งอีกทีครับ --[[ผู้ใช้:พุทธามาตย์|พุทธามาตย์]] ([[คุยกับผู้ใช้:พุทธามาตย์|พูดคุย]]) 10:10, 29 พฤษภาคม 2559 (ICT)