ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยคม (บริษัท)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WindowMaker (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
'''บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ''' (Thaicom Public Company Limited) เดิมชื่อ '''บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)''' (Shin Satellite Public Company Limited) คือหนึ่งในธุรกิจของ [[บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)]] ไทยคม เป็นบริษัทแรกและบริษัทเดียวของประเทศไทย ที่เป็นผู้ให้บริการธุรกิจดาวเทียมเชิงพาณิชย์ ได้รับสัมปทานจาก[[กระทรวงคมนาคม]] (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาถูกโอนไปยัง [[กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร]]) ในปี 2534 เพื่อดำเนินการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรและให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม รวมถึงบริหารงานโครงการ[[ดาวเทียมไทยคม]]ภายใต้ข้อตกลงแบบ BTO (Build-Transfer-Operate)
 
"ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อที่ [[ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นชื่อของดาวเทียม ซึ่งมาจากคำว่า "Thai Communications" ในภาษาอังกฤษ
 
== เหตุการณ์สำคัญ ==
บรรทัด 51:
|}
 
== รายละเอียดเกี่ยวกับดาวเทียมแต่ละดวงในจัดการ ==
{{บทความหลัก|ดาวเทียมไทยคม}}
=== ไทยคม 1/1A ===
ไทยคม 1 เป็น[[ดาวเทียม]]ดวงแรกของประเทศไทย ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ [[17 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2536]] สร้างโดย Huges Space Aircraft เดิมมีพิกัดโคจรที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก ต่อมาได้ทำการย้ายพิกัดใหม่ไปยังตำแหน่ง 120 องศาตะวันออก และเปลี่ยนการเรียกชื่อเป็น ไทยคม 1A อายุในการทำงานประมาณ 15 ปี ปัจจุบัน เป็นการใช้งานหลังช่วงอายุคาดการณ์
 
=== ไทยคม 2 ===
ไทยคม 2 เป็นดาวเทียมดวงที่ 2 ของประเทศไทย ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ [[7 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2537]] โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ดาวเทียมมีอายุใช้งาน 15 ปี ปัจจุบันใกล้หมดอายุใช้งาน และอยู่ในช่วงการถ่ายโอนการให้บริการไปยัง ไทยคม 3
 
=== ไทยคม 3 ===
ไทยคม 3 ประกอบด้วยช่องสัญญาณความถี่ย่าน [[C-Band]] จำนวน 25 ช่องสัญญาณ และ ช่องสัญญาณความถี่ย่าน Ku-Band จำนวน 14 ช่องสัญญาณ ช่องสัญญาณแบบ Global beam ของไทยคม 3 มีกำลังในการส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป ให้บริการในทวีป เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา โดยความถี่ทั้ง 2 ย่านความถี่นั้นจะให้บริการทางด้านสัญญาณรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัย หรือ DTH (Direct To Home) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ไทยคม 3 โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2
 
=== ไทยคม 4 หรือ [[ไอพีสตาร์]] ===
ดาวเทียมไอพีสตาร์ หรือ ดาวเทียมไทยคม 4 (IPStar-1 หรือ Thaicom-4) เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX ผลิตโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps และเป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่และมีน้ำหนักมากที่สุดในปัจจุบัน มีน้ำหนักถึง 6505 กิโลกรัม ไอพีสตาร์มีช่องการสื่อสารแบบ KU-Band จำนวน 87 ช่อง และ KA-Band จำนวน 10 ช่อง มีความทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ด้วยจรวดแอเรียน 5 จากดินแดนเฟรนช์เกียนาในทวีปอเมริกาใต้ มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี
 
=== ไทยคม 5 ===
ไทยคม 5 ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 จากฐานยิงจรวด ศูนย์อวกาศกิอานา เมืองคูรู จังหวัดโพ้นทะเลเฟรนช์ กิอานา พร้อมกับดาวเทียม SATMEX ของประเทศ[[เม็กซิโก]] ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Spacebus 3000A ผลิตโดย Alcatel Alenia Space ประเทศ[[ฝรั่งเศส]] มีพิสัยครอบคลุมถึง 4 ทวีป เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัย หรือ [[Direct-to-Home]] (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง ([[High Definition TV]])
 
=== ไทยคม 6/6A ===
ไทยคม 6 ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ โดยจรวดฟัลคอน 9 บริษัท สเปซ เอ็กซพลอเรชั่น เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (SpaceExploration Technologies Corporation- SPACE X) ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557 (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยดาวเทียมไทยคม 6 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจร ณ ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก (เป็นตำแหน่งเดียวกันกับดาวเทียมไทยคม 5) ประกอบด้วยย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 8 ทรานสพอนเดอร์ มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน และย่านความถี่ C-Band จำนวน 18 ทรานสพอนเดอร์ ที่ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา และมีระยะเวลาในการทำภารกิจบนอวกาศนาน 14 ปี
 
== บริษัทลูก ==