ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมฆียกรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
ผิด←ผิก
บรรทัด 30:
โมฆียกรรม หรือนิติกรรมที่อาจเป็นโมฆะ คือ นิติกรรมที่กฎหมายถือว่าสมบูรณ์ตราบที่ยังไม่ถูกบอกล้าง ที่เป็นเช่นนี้เพราะนิติกรรมนี้มีความผิดปรกติอย่างไม่ร้ายแรงนัก กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้บุคคลผู้เกี่ยวข้องโดยตรงได้มีโอกาสตัดสินใจว่าจะเอาไว้หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองบุคคลเหล่านี้เอง<ref>ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, 2551 : 157-158.</ref>
 
ในตำราโบราณของไทยมักอธิบายว่า โมฆียกรรมนั้นมีความสมบูรณ์เต็มร้อยแล้ว แต่อาจถูกบอกล้างให้กลายเป็นโมฆะไปเสียได้<ref>จิ๊ด เศรษฐบุตร, 2522 : 192.</ref> ขณะที่นักกฎหมายปัจจุบันเห็นต่างไปจากนั้น โดยเห็นว่า โมฆียกรรมนั้นหามีความสมบูรณ์เต็มร้อยไม่ หากแต่กฎหมายถือว่าให้มีความสมบูรณ์เพียงชั่วคราวจนกว่าจะบอกล้างให้เป็นโมฆะไป หรือรับรองโดยการให้สัตยาบันก็จะสมบูรณ์ตลอดไป เพราะลำพังแต่การเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นอย่างมีความผิกผิดปรกติแล้วจะว่าสมบูรณ์เต็มร้อยไม่ได้<ref>ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, 2551 : 157.</ref> ซึ่งความผิดปรกตินี้เองก่อให้เกิดสิทธิของผู้เกี่ยวข้องที่จะตัดสินใจว่าจะเอาโมฆียกรรมนั้นอยู่หรือไม่
 
'''สารานุกรมของเวสต์ว่าด้วยกฎหมายอเมริกัน''' ({{lang-en|West's Encyclopedia of American Law}}) อธิบายถึงโมฆียกรรมไว้ว่า ในกฎหมายว่าด้วยสัญญา คำว่า "โมฆียกรรม" หมายถึง สัญญาที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายและผูกพันคู่สัญญา จนกว่าคู่สัญญาฝ่ายที่มีสิทธิจะใช้สิทธิบอกล้างหรือรับรองด้วยการให้สัตยาบันซึ่งโมฆียกรรมนั้น สัญญาจะตกเป็นโมฆียะโดยเนื่องมาจากกลฉ้อฉล ความสำคัญผิด การแถลงข้อความเป็นเท็จ (เพื่อฉ้อฉล) การมีความสามารถบกพร่องตามกฎหมาย และการผิดต่อความไว้วางใจที่ได้รับ สัญญาที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งดังกล่าวนี้มิได้ตกเป็นโมฆะโดยอัตโนมัติ แต่จะตกเป็นโมฆะตามความเห็นชอบของคู่สัญญาฝ่ายที่มีสิทธิจะบอกล้างสัญญานั้น ตัวอย่างเช่น บุคคลผู้ถูกล่อลวงโดยกลฉ้อฉลให้เข้าทำสัญญาอาจขอเลิกสัญญาโดยกระทำการบางอย่างตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อแสดงเจตนาว่าไม่ยอมรับสัญญานั้น หรือผู้ถูกล่อลวงโดยกลฉ้อฉล หลังจากเขาทราบความแล้วแล้วอาจพิจารณาให้สัตยาบันแก่สัญญานั้นเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ต่อไปก็ได้<ref name =LegalDict-01>Legal Dictionay, the Free Dictionary by Farlex; 2009 : Online.</ref>