ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีรถไฟจิตรลดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ย้ายป้ายโครงการวิกิประเทศไทยไปหน้าพูดคุย
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
[[ภาพ:สถานีรถไฟจิตรลดา1.jpg|thumb|สถานีรถไฟจิตรลดา ด้านถนนสวรรคโลก]]
 
'''สถานีรถไฟจิตรลดา''' หรือ '''สถานีรถไฟหลวงสวนจิตรลดา''' เป็นสถานีที่สร้างขึ้น สำหรับ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] และพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อมีการเสด็จฯ ทางรถไฟ อีกทั้งได้เคยใช้เป็นสถานที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะในบางโอกาส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] [[ถนนสวรรคโลก]] [[แขวงสวนจิตรลดา]] [[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]] ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของทางรถไฟ โดยอาคารหลังปัจจุบันนี้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2464 ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เพื่อทดแทนอาคารหลังเดิมที่เป็นอาคารไม้ สร้างมาตั้งแต่สมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5
 
==ลักษณะสถานี==
==แหล่งข้อมูลอื่น==
อาคารสถานีรถไฟจิตรลดา เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูนชั้นเดียว มีโดมซึ่งสร้างตามสถาปัตยกรรมสมัยเรอเนซองของอิตาลี เสาอาคารมีลักษณะเป็นเสาคู่ ประดับครุฑพ่าห์ที่มุมทั้งสี่ของเพดาน
 
==วโรกาสที่ใช้งาน==
ถึงแม้ว่าปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสร็จพระราชดำเนินโดยทางคมนาคมรูปแบบอื่น เช่น ทางถนน หรือ ทางอากาศ เป็นหลัก ไม่มีการเสด็จโดยขบวนรถไฟมากเหมือนอย่างในอดีต แต่สถานีนี้ยังคงมีโอกาสใช้งานสนองพระราชกรณียกิจหลายครั้ง เช่น การเสด็จพระดำเนินของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีไปทรงเปิด[[อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์]] จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530 และไปทรงเปิดห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ที่หลัง[[สถานีรถไฟท่าเรือ]] จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2535 การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ ไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงังเวยสมเด็จพระมหากษัตริย์ในอดีต ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2531 เป็นต้น
 
สำหรับพระราชอาคันตุกะที่ได้รับการต้อนรับที่สถานีรถไฟจิตรลดา เช่น [[สมเด็จพระนโรดม สีหนุ]]แห่ง[[ราชอาณาจักรกัมพูชา]] [[สมเด็จพระเจ้าเฟรดดริคที่ 9]] แห่ง[[ราชอาณาจักรเดนมาร์ก]] และ [[ซูการ์โน]]ประธานาธิปดีประเทศ[[อินโดนีเซีย]] เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2487, 12 มกราคม พ.ศ. 2502 และ 16 เมษายน พ.ศ. 2504 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสามครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินต้อนรับพระราชอาคันตุกะด้วยพระองค์เอง
 
==อ้างอิง==
* สถานีรถไฟสวนจิตรลดา การรถไฟแห่งประเทศไทย http://www.railway.co.th/station/jidlada.asp