ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มันเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: เพิ่มยูอาร์แอล wikipedia.org
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
| binomial_authority = ([[Carolus Linnaeus|L.]]) Lam.
}}
 
[[ไฟล์:Sweet-potato-field,katori-city,japan.JPG|thumb|left|ต้นมันเทศในไร่]]
[[ไฟล์:Purple Sweet Potato.jpg|200px|thumbnail|left|หัวมันเทศสีม่วงที่พบในเอเชีย]]
'''มันเทศ''' ({{lang-en|sweet potato}}) เป็นพืชหัวใต้ดิน เถาเลื้อยราบไปบนพื้นดิน สะสมอาหารไว้ที่ราก เรียกว่าหัว ปลูกเป็นพืชไร่ มีเนื้อสีหลายสีตามสายพันธุ์ ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น เถา ใบ หัว นิยมนำมารับประทานโดย ต้ม หรือ เผา ทำเป็นอาหารคาวหวาน ส่วนผสมของอาหารสำหรับเด็ก ใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น
 
== ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Sweet-potato-field,katori-city,japan.JPG|thumb|ต้นมันเทศในไร่]]
[[ไฟล์:Purple Sweet Potato.jpg|200px|thumbnail|หัวมันเทศสีม่วงที่พบในเอเชีย]]
=== ราก ===
มันเทศมีระบบรากแบบรากฝอย ซึ่งเกิดจากข้อของลำต้นที่ใช้ปลูก หรือเกิดจากลำต้นที่ทอดไปตามพื้นดิน รากเป็นที่สะสมอาหาร มีเนื้อ อวบน้ำ และใช้รับประทานได้ เรียกว่าหัว ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของราก โดยเนื้อเยื่อ พาเรนไคมา (Parenchyma) เป็นส่วนที่สะสมแป้ง ลักษณะหัวส่วนมากมีรูปร่างทรงกระบอก ด้านหัวท้ายเรียว ตรงกลางป่องออก สีผิวของหัวและสีของเนื้ออาจจะเป็นสีแดง เหลือง ขาว หรือสีนวล แตกต่างกันไปตามพันธุ์
เส้น 38 ⟶ 39:
* ใช้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสุกร ให้มันเทศอย่างเดียว หรือผสมกับอาหารอื่นก็ได้
นอกจากหัวแล้ว ยอดมันเทศยังใช้รับประทานแทนผัก และใช้เลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดี บางแห่งปลูกมันเทศ เพื่อใช้เลี้ยงสุกรโดยเฉพาะ คือ เมื่อมันเทศทอดยอด และลงหัวดีแล้วก็ปล่อยสุกรลงไปกินยอด ใบ และขุดหัวกินเอง
 
== การปลูก ==
=== ฤดูปลูก ===
มันเทศจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ซึ่งมีอากาศ ค่อนข้างร้อน และเป็นพืชที่มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี มันเทศต้องการน้ำฝนเพียงชั่วเวลาระยะแตกยอดและใบ เมื่อทอดยอด และแตกใบโตเต็มที่แล้ว ถึงฝนไม่ตกมันเทศก็ไม่เฉา และจะลงหัว ซึ่งมีขนาดโตดีกว่าฝนตกมากเสียอีก
สามารถปลูกได้ 2 ครั้งต่อปี ในฤดูฝนการเตรียมดินจะต้องเริ่มหลังจากฝนตกครั้ง แรกในเดือนพฤษภาคม และปลูกโดยเร็วหลังจากเตรียมดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว เวลาที่ปลูกกันส่วนมากในฤดูฝน คือ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนมิถุนายน การปลูกในฤดูฝนนี้จะเก็บหัวได้ราวเดือนสิงหาคม การปลูกอีกครั้งหนึ่ง คือ หลังฤดูฝนราวเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน การปลูกในฤดูนี้ส่วนมากจะให้ผลผลิตสู้ในฤดูฝนไม่ได้ ในที่ซึ่งมีการชลประทานดีแล้ว จะปลูกมันเทศเมื่อไรก็ได้ เพราะว่ามันเทศเป็นพืชที่ไม่มีความไวต่อช่วงแสง
=== วิธีปลูก ===
* การเตรียมวัสดุปลูกนั้น แตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าจะใช้ส่วนใดปลูก
* การใช้ลำต้น หรือเถาปลูก ส่วนใหญ่ใช้ลำต้นที่แก่หลังจากเก็บหัวแล้วตัดเถาให้ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร การใช้เถานี้นิยมใช้ส่วนยอดมากกว่าส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ก็เพราะส่วนยอดนั้นเจริญเติบโต และออกรากรวดเร็ว และนอกจากนั้นยอดส่วนมาก จะไม่เป็นที่อาศัยของแมลงปีกแข็งที่ทำให้หัวมันเทศเป็นแมง
* การใช้หน่อจากหัวทำได้โดยคัดเลือกหัวมันเทศที่มีขนาดโต ปราศจากโรคและแมลง ล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่น้ำปูน เพื่อกันราไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เอาหัวมันเทศนั้นลงเพาะแบบนอนในทราย พรมน้ำให้เปียกทิ้งไว้ 6-7 วัน จะมีหน่องอกขึ้นมาตามตาของหัว ใช้มีดคมๆ และสะอาดผ่าแบ่งหัวมันเทศออกเป็นซีกๆ แต่ละซีกให้มีหน่อติดอยู่ 2-3 หน่อ เพื่อกันเน่าให้เอาปูนแดงที่ใช้กินกับหมาก ทาที่รอยแผลนั้น หรือแช่ลงในน้ำยา บอร์โดซ์มิกซ์เจอร์ (bordeaux mixture) เพื่อป้องกันรา และกันเน่า แล้วเอาซีกมันเหล่านั้นลงปลูกในแปลงเพาะชำ จนออกรากและหน่อขึ้นงามดีแล้วจึงย้ายไปปลูกในไร่
* การเตรียมเถาชำซึ่งมีใบติด 1 ใบ ในกรณีที่ขาดแคลนเถาสามารถจะใช้วิธีนี้ได้ดี โดยคัดเลือกเถาที่อวบสมบูรณ์ และปราศจากโรคและแมลง ใช้มีดคมตัดเถาออกเป็นท่อนๆ ท่อนหนึ่งมีใบติดเพียง 1 ใบ แล้วนำไปชำในแปลงเพาะจนออกราก และแตกหน่อดี แล้วจึงย้ายไปปลูกในไร่
* การใช้เมล็ดปลูกเป็นการค้านั้น ไม่นิยม เพราะจะต้องใช้เวลานาน และเสียเวลาปลูกโดยใช่เหตุ การใช้เมล็ดปลูกนั้นจะกระทำก็ต่อเมื่อต้องการผลิตพันธุ์ใหม่ให้มีลักษณะ และคุณภาพดีกว่าพันธุ์เดิม
การปลูกด้วยเถาแบ่งออกได้ 3 วิธี
# ปลูกทำมุมประมาณ 45 องศากับพื้นดินฝังเถาลงไปในดิน และให้ส่วนปลายโผล่ออกมาเหนือพื้นดิน และทำมุมประมาณ 45 องศา
# ปลูกแบบฝังให้หัวท้ายโผล่เหนือพื้นดิน ฝังเถาลงไปในดินให้ลึกประมาณ 5 นิ้ว และให้หัวและท้ายของเถาโผล่ออกมาเหนือพื้นดิน
# ปลูกแบบม้วนขมวด วิธีนี้ปลูกโดยม้วนโคนของเถาเป็นแบบวงกลม แล้วฝังส่วนนั้นไว้ใต้ดิน ส่วนปลายเถาให้โผล่เหนือพื้นดิน
ทั้งสามวิธีนี้ให้ฝังเถาลงในร่องให้ห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร
=== การให้น้ำ ===
* ถ้าเป็นฤดูแล้ง การให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพระว่าถ้าหากขาดน้ำแล้วมันเทศจะเฉาและเหี่ยวตายไป การให้น้ำควรให้หลังปลูก 1 ครั้ง และหลังจากนั้นให้ห่างกันประมาณ 20 วันต่อครั้ง เมื่อมันเทศเจริญเติบโตดีแล้วควรให้น้ำ 1 เดือนต่อครั้ง การจะให้น้ำเมื่อไรนั้นให้สังเกตดูความชุ่มชื้นของดินเป็นหลัก ถ้าหากดินยังหมาดอยู่ก็ยังไม่ต้องให้น้ำ ดังนั้น การให้น้ำจึงอาจยืดหยุ่นได้ คือ อาจจะช้า หรือเร็วกว่ากำหนดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสภาพแวดล้อม เช่น แดด กระแสลม ความร้อน เป็นต้น
* ถ้าเป็นฤดูฝน ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ เพราะ ฝนตกอยู่เสมอ และมีความชุ่มชื่นเพียงพอ แต่ต้องระวังเรื่องการระบายน้ำ โดยขุดทางระบายน้ำให้ดี และอย่าให้น้ำท่วมและขังอยู่ได้ มิฉะนั้นมันเทศจะเน่าตายได้
=== การกำจัดวัชพืช ===
การกำจัดวัชพืช จะต้องทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หญ้าที่กำจัดโดยวิธีถอนจะต้องนำไปทิ้งเสียที่อื่น เพื่อไม่ให้เจริญเติบโตในแปลงปลูกได้อีก ถ้าหากเนื้อที่ปลูกมีขนาดเล็ก หลังจากกำจัดวัชพืชแล้วควรใช้จอบพรวนดินแล้วพูนโคนด้วย เพื่อให้มันเทศลงหัวได้สะดวก ถ้าหากเนื้อที่มีขนาดใหญ่ ก็สามารถทำได้โดยใช้ไถผ่านระหว่างแถว หลังจากปลูกแล้ว 1 เดือน จึงทำเช่นนี้ เพื่อไม่ให้รากได้รับความกระทบกระเทือน นอกจากนั้น ก็ไม่ควรพรวนดินขณะที่กำลังลงหัว เพราะจะทำให้รากได้รับความกระทบกระเทือนและลงหัวน้อย
=== โรคและแมลง ===
==== โรคหัวเน่า ====
เกิดจากเชื้อรา ดิโพลเดียทูเบอริโคลา (อีแอนด์อี) เทาบ์ (Diplodia tubericola (E. and E.) Teub) เชื้อราจะเข้าทางแผลที่หัว แผลนั้นจะเริ่มเปลี่ยนจากสีน้ำตาลอ่อนเป็นสีดำ ผิวของหัวจะย่น และเต็มไปด้วยเชื้อราสีดำ ทีแรกเนื้อหัวมันจะอ่อนนุ่ม และสูญเสียความชื้น แต่ภายหลังจากนั้นหัวมันจะแข็งกระด้าง
* '''วิธีป้องกันและกำจัด'''
# อย่าให้หัวมันเป็นแผลเมื่อขุดหรือขนส่ง
# เก็บหัวมันไว้ในที่ซึ่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก
# หัวที่ถูกเชื้อโรคนี้ทำลายจะต้องเผาทิ้ง
# พื้นโรงเก็บจะต้องฉีดด้วยน้ำยาเมอร์คิวริกคลอไรด์ เพื่อฆ่าสปอร์ที่ตกหล่นอยู่
==== โรคใบจุด ====
เกิดจากเชื้อราเซอร์คอสปอราบาตาตี ซิมม์ (Cercospora batatae Zimm.) อาการเริ่มแรกใบจะเป็นจุดสีน้ำตาล ขนาดของจุดนั้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 -1 เซนติเมตร ส่วนกลางของแผลจะมีสีน้ำตาลปนเหลือง จนถึงสีเทา แผลจะมีรูปร่างไม่แน่นอน แผลส่วนมากจะไม่ใหญ่ เพราะถูกเส้นใบกั้นไว้ ในกรณีร้ายแรง เชื้อโรคจะทำลายใบแก่เสียหาย และร่วงก่อนเวลาอันควร ทำให้ลำต้นอ่อนแอ และลงหัวน้อย
* '''วิธีป้องกันและกำจัด'''
# รักษาความสะอาดแปลงปลูก และนำต้นที่เป็นโรคเผาไฟทิ้งเสีย
# ฉีดแปลงปลูกด้วยน้ำยาบอร์โดซ์
'''แมลงทำลายมันเทศที่สำคัญ''' ได้แก่
==== ด้วงงวงมันเทศ ====
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ไซลาส ฟอร์มิแคเรียส แฟบร์ (Cylas formicarius Fabr.) แพร่ระบาดทั่วโลก และเป็นแมลงที่ร้ายกาจ โดยทำลายมันเทศทั้งในแปลงปลูก และโรงเก็บ ตัวหนอนจะเจาะหัวมันเทศเข้าไป ทำให้มันเป็นแมง เมื่อต้มหัวจะมีกลิ่นไม่ชวนรับประเทาน และเมื่อรับประทานจะมีรสขื่นและขม ตัวแก่จะวางไข่ที่ลำตันเหนือพื้นดิน หรือที่หัวที่โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดิน ตัวหนอนที่เกิดขึ้นจะกัดกินเนื้อของหัวมัน และเข้าดักแด้ในนั้น ชีพจักรของแมลงชนิดนี้จากการวางไข่ จนถึงตัวแก่กินเวลา 35 วัน ตัวแก่เมื่อมีอายุ 1 อาทิตย์ หลังจากออกดักแด้ก็จะวางไข่ต่อไปอีก
* '''วิธีป้องกันและกำจัด'''
# ใช้แมลงทำลาย แมลงชนิดนี้ถูกทำลาย โดยแตน ๒ ชนิดด้วยกัน คือ ไมโครบราคอน ไซลาโซโวรัส โรห์เวอร์ (Microbracon cylasovorus Rohwer) และบาสซุส ไซลาโซโวรัส โรห์เวอร์ (Bassus cylasovorus Rohwer)
# ใช้พันธุ์ต้านทานปลูก
# ใช้ยา เฮบตาคลอร์ (Heptachlor) คลอร์เดน (Chlordane) และดีดีที ฉีดตามเถา และพื้นดินเพื่อกำจัดตัวแก่
# ใช้ ดีดีที ฉีดหัวมันก่อนเก็บ เพื่อป้องกันตัวแก่ทำลายและวางไข่
==== แมลงเต่าทอง ====
ทั้งตัวแก่และตัวอ่อนของแมลงเต่าทองสามชนิดด้วยกัน จะกัดกินใบมันเทศ ทำให้การปรุงอาหารของใบลดน้อยลง การวางไข่เป็นแบบฟองเดียวบนใบ และการเข้าดักแด้จะเกิดขึ้นบนใบเช่นเดียวกัน แมลงชนิดนี้ทำอันตรายต่อมันเทศไม่มากนัก
* '''วิธีป้องกันและกำจัด'''
# จับตัวหนอนในตอนเช้ามืด
# ใช้ยา แคลเซียม หรือ เล็ดอาร์เซเนท (lead arsenate) แบบผง ดีดีที ดีลดริน พาราไทออน (Parathion) และ เฮบตาคลอร์ (Heptachlor) อย่างใดอย่างหนึ่งพ่นและฉีดตามเถาและใบ
==== เสี้ยนดิน ====
แมลงชนิดนี้ทำอันตรายหัวมัน เทศอย่างร้ายแรง โดยกัดเปลือกหัว และเนื้อหัวเป็น อาหาร ทำให้มันเทศด้อยคุณภาพลงไปอย่างมาก
* '''วิธีป้องกันและกำจัด'''
# ใช้ยา อาลดริน (Aldrin) หรือดิลเดรกซ์ (Dieldrex) 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร ฉีดหลังปลูกแล้วประมาณ 1 เดือนครึ่ง จะช่วยป้องกัน และกำจัดแมลงชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี
 
== คุณค่าทางอาหาร ==
 
{{nutritionalvalue | name=มันเทศดิบ
เส้น 212 ⟶ 160:
}}
 
{{nutritional value | name=ใบมันเทศดิบ | float=left
 
| kJ=175
เส้น 259 ⟶ 207:
 
}}
 
== การปลูก ==
=== ฤดูปลูก ===
มันเทศจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ซึ่งมีอากาศ ค่อนข้างร้อน และเป็นพืชที่มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี มันเทศต้องการน้ำฝนเพียงชั่วเวลาระยะแตกยอดและใบ เมื่อทอดยอด และแตกใบโตเต็มที่แล้ว ถึงฝนไม่ตกมันเทศก็ไม่เฉา และจะลงหัว ซึ่งมีขนาดโตดีกว่าฝนตกมากเสียอีก
สามารถปลูกได้ 2 ครั้งต่อปี ในฤดูฝนการเตรียมดินจะต้องเริ่มหลังจากฝนตกครั้ง แรกในเดือนพฤษภาคม และปลูกโดยเร็วหลังจากเตรียมดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว เวลาที่ปลูกกันส่วนมากในฤดูฝน คือ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนมิถุนายน การปลูกในฤดูฝนนี้จะเก็บหัวได้ราวเดือนสิงหาคม การปลูกอีกครั้งหนึ่ง คือ หลังฤดูฝนราวเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน การปลูกในฤดูนี้ส่วนมากจะให้ผลผลิตสู้ในฤดูฝนไม่ได้ ในที่ซึ่งมีการชลประทานดีแล้ว จะปลูกมันเทศเมื่อไรก็ได้ เพราะว่ามันเทศเป็นพืชที่ไม่มีความไวต่อช่วงแสง
=== วิธีปลูก ===
* การเตรียมวัสดุปลูกนั้น แตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าจะใช้ส่วนใดปลูก
* การใช้ลำต้น หรือเถาปลูก ส่วนใหญ่ใช้ลำต้นที่แก่หลังจากเก็บหัวแล้วตัดเถาให้ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร การใช้เถานี้นิยมใช้ส่วนยอดมากกว่าส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ก็เพราะส่วนยอดนั้นเจริญเติบโต และออกรากรวดเร็ว และนอกจากนั้นยอดส่วนมาก จะไม่เป็นที่อาศัยของแมลงปีกแข็งที่ทำให้หัวมันเทศเป็นแมง
* การใช้หน่อจากหัวทำได้โดยคัดเลือกหัวมันเทศที่มีขนาดโต ปราศจากโรคและแมลง ล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่น้ำปูน เพื่อกันราไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เอาหัวมันเทศนั้นลงเพาะแบบนอนในทราย พรมน้ำให้เปียกทิ้งไว้ 6-7 วัน จะมีหน่องอกขึ้นมาตามตาของหัว ใช้มีดคมๆ และสะอาดผ่าแบ่งหัวมันเทศออกเป็นซีกๆ แต่ละซีกให้มีหน่อติดอยู่ 2-3 หน่อ เพื่อกันเน่าให้เอาปูนแดงที่ใช้กินกับหมาก ทาที่รอยแผลนั้น หรือแช่ลงในน้ำยา บอร์โดซ์มิกซ์เจอร์ (bordeaux mixture) เพื่อป้องกันรา และกันเน่า แล้วเอาซีกมันเหล่านั้นลงปลูกในแปลงเพาะชำ จนออกรากและหน่อขึ้นงามดีแล้วจึงย้ายไปปลูกในไร่
* การเตรียมเถาชำซึ่งมีใบติด 1 ใบ ในกรณีที่ขาดแคลนเถาสามารถจะใช้วิธีนี้ได้ดี โดยคัดเลือกเถาที่อวบสมบูรณ์ และปราศจากโรคและแมลง ใช้มีดคมตัดเถาออกเป็นท่อนๆ ท่อนหนึ่งมีใบติดเพียง 1 ใบ แล้วนำไปชำในแปลงเพาะจนออกราก และแตกหน่อดี แล้วจึงย้ายไปปลูกในไร่
* การใช้เมล็ดปลูกเป็นการค้านั้น ไม่นิยม เพราะจะต้องใช้เวลานาน และเสียเวลาปลูกโดยใช่เหตุ การใช้เมล็ดปลูกนั้นจะกระทำก็ต่อเมื่อต้องการผลิตพันธุ์ใหม่ให้มีลักษณะ และคุณภาพดีกว่าพันธุ์เดิม
การปลูกด้วยเถาแบ่งออกได้ 3 วิธี
# ปลูกทำมุมประมาณ 45 องศากับพื้นดินฝังเถาลงไปในดิน และให้ส่วนปลายโผล่ออกมาเหนือพื้นดิน และทำมุมประมาณ 45 องศา
# ปลูกแบบฝังให้หัวท้ายโผล่เหนือพื้นดิน ฝังเถาลงไปในดินให้ลึกประมาณ 5 นิ้ว และให้หัวและท้ายของเถาโผล่ออกมาเหนือพื้นดิน
# ปลูกแบบม้วนขมวด วิธีนี้ปลูกโดยม้วนโคนของเถาเป็นแบบวงกลม แล้วฝังส่วนนั้นไว้ใต้ดิน ส่วนปลายเถาให้โผล่เหนือพื้นดิน
ทั้งสามวิธีนี้ให้ฝังเถาลงในร่องให้ห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร
=== การให้น้ำ ===
* ถ้าเป็นฤดูแล้ง การให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพระว่าถ้าหากขาดน้ำแล้วมันเทศจะเฉาและเหี่ยวตายไป การให้น้ำควรให้หลังปลูก 1 ครั้ง และหลังจากนั้นให้ห่างกันประมาณ 20 วันต่อครั้ง เมื่อมันเทศเจริญเติบโตดีแล้วควรให้น้ำ 1 เดือนต่อครั้ง การจะให้น้ำเมื่อไรนั้นให้สังเกตดูความชุ่มชื้นของดินเป็นหลัก ถ้าหากดินยังหมาดอยู่ก็ยังไม่ต้องให้น้ำ ดังนั้น การให้น้ำจึงอาจยืดหยุ่นได้ คือ อาจจะช้า หรือเร็วกว่ากำหนดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสภาพแวดล้อม เช่น แดด กระแสลม ความร้อน เป็นต้น
* ถ้าเป็นฤดูฝน ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ เพราะ ฝนตกอยู่เสมอ และมีความชุ่มชื่นเพียงพอ แต่ต้องระวังเรื่องการระบายน้ำ โดยขุดทางระบายน้ำให้ดี และอย่าให้น้ำท่วมและขังอยู่ได้ มิฉะนั้นมันเทศจะเน่าตายได้
=== การกำจัดวัชพืช ===
การกำจัดวัชพืช จะต้องทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หญ้าที่กำจัดโดยวิธีถอนจะต้องนำไปทิ้งเสียที่อื่น เพื่อไม่ให้เจริญเติบโตในแปลงปลูกได้อีก ถ้าหากเนื้อที่ปลูกมีขนาดเล็ก หลังจากกำจัดวัชพืชแล้วควรใช้จอบพรวนดินแล้วพูนโคนด้วย เพื่อให้มันเทศลงหัวได้สะดวก ถ้าหากเนื้อที่มีขนาดใหญ่ ก็สามารถทำได้โดยใช้ไถผ่านระหว่างแถว หลังจากปลูกแล้ว 1 เดือน จึงทำเช่นนี้ เพื่อไม่ให้รากได้รับความกระทบกระเทือน นอกจากนั้น ก็ไม่ควรพรวนดินขณะที่กำลังลงหัว เพราะจะทำให้รากได้รับความกระทบกระเทือนและลงหัวน้อย
=== โรคและแมลง ===
==== โรคหัวเน่า ====
เกิดจากเชื้อรา ดิโพลเดียทูเบอริโคลา (อีแอนด์อี) เทาบ์ (Diplodia tubericola (E. and E.) Teub) เชื้อราจะเข้าทางแผลที่หัว แผลนั้นจะเริ่มเปลี่ยนจากสีน้ำตาลอ่อนเป็นสีดำ ผิวของหัวจะย่น และเต็มไปด้วยเชื้อราสีดำ ทีแรกเนื้อหัวมันจะอ่อนนุ่ม และสูญเสียความชื้น แต่ภายหลังจากนั้นหัวมันจะแข็งกระด้าง
* '''วิธีป้องกันและกำจัด'''
# อย่าให้หัวมันเป็นแผลเมื่อขุดหรือขนส่ง
# เก็บหัวมันไว้ในที่ซึ่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก
# หัวที่ถูกเชื้อโรคนี้ทำลายจะต้องเผาทิ้ง
# พื้นโรงเก็บจะต้องฉีดด้วยน้ำยาเมอร์คิวริกคลอไรด์ เพื่อฆ่าสปอร์ที่ตกหล่นอยู่
==== โรคใบจุด ====
เกิดจากเชื้อราเซอร์คอสปอราบาตาตี ซิมม์ (Cercospora batatae Zimm.) อาการเริ่มแรกใบจะเป็นจุดสีน้ำตาล ขนาดของจุดนั้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 -1 เซนติเมตร ส่วนกลางของแผลจะมีสีน้ำตาลปนเหลือง จนถึงสีเทา แผลจะมีรูปร่างไม่แน่นอน แผลส่วนมากจะไม่ใหญ่ เพราะถูกเส้นใบกั้นไว้ ในกรณีร้ายแรง เชื้อโรคจะทำลายใบแก่เสียหาย และร่วงก่อนเวลาอันควร ทำให้ลำต้นอ่อนแอ และลงหัวน้อย
* '''วิธีป้องกันและกำจัด'''
# รักษาความสะอาดแปลงปลูก และนำต้นที่เป็นโรคเผาไฟทิ้งเสีย
# ฉีดแปลงปลูกด้วยน้ำยาบอร์โดซ์
'''แมลงทำลายมันเทศที่สำคัญ''' ได้แก่
==== ด้วงงวงมันเทศ ====
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ไซลาส ฟอร์มิแคเรียส แฟบร์ (Cylas formicarius Fabr.) แพร่ระบาดทั่วโลก และเป็นแมลงที่ร้ายกาจ โดยทำลายมันเทศทั้งในแปลงปลูก และโรงเก็บ ตัวหนอนจะเจาะหัวมันเทศเข้าไป ทำให้มันเป็นแมง เมื่อต้มหัวจะมีกลิ่นไม่ชวนรับประเทาน และเมื่อรับประทานจะมีรสขื่นและขม ตัวแก่จะวางไข่ที่ลำตันเหนือพื้นดิน หรือที่หัวที่โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดิน ตัวหนอนที่เกิดขึ้นจะกัดกินเนื้อของหัวมัน และเข้าดักแด้ในนั้น ชีพจักรของแมลงชนิดนี้จากการวางไข่ จนถึงตัวแก่กินเวลา 35 วัน ตัวแก่เมื่อมีอายุ 1 อาทิตย์ หลังจากออกดักแด้ก็จะวางไข่ต่อไปอีก
* '''วิธีป้องกันและกำจัด'''
# ใช้แมลงทำลาย แมลงชนิดนี้ถูกทำลาย โดยแตน ๒ ชนิดด้วยกัน คือ ไมโครบราคอน ไซลาโซโวรัส โรห์เวอร์ (Microbracon cylasovorus Rohwer) และบาสซุส ไซลาโซโวรัส โรห์เวอร์ (Bassus cylasovorus Rohwer)
# ใช้พันธุ์ต้านทานปลูก
# ใช้ยา เฮบตาคลอร์ (Heptachlor) คลอร์เดน (Chlordane) และดีดีที ฉีดตามเถา และพื้นดินเพื่อกำจัดตัวแก่
# ใช้ ดีดีที ฉีดหัวมันก่อนเก็บ เพื่อป้องกันตัวแก่ทำลายและวางไข่
==== แมลงเต่าทอง ====
ทั้งตัวแก่และตัวอ่อนของแมลงเต่าทองสามชนิดด้วยกัน จะกัดกินใบมันเทศ ทำให้การปรุงอาหารของใบลดน้อยลง การวางไข่เป็นแบบฟองเดียวบนใบ และการเข้าดักแด้จะเกิดขึ้นบนใบเช่นเดียวกัน แมลงชนิดนี้ทำอันตรายต่อมันเทศไม่มากนัก
* '''วิธีป้องกันและกำจัด'''
# จับตัวหนอนในตอนเช้ามืด
# ใช้ยา แคลเซียม หรือ เล็ดอาร์เซเนท (lead arsenate) แบบผง ดีดีที ดีลดริน พาราไทออน (Parathion) และ เฮบตาคลอร์ (Heptachlor) อย่างใดอย่างหนึ่งพ่นและฉีดตามเถาและใบ
==== เสี้ยนดิน ====
แมลงชนิดนี้ทำอันตรายหัวมัน เทศอย่างร้ายแรง โดยกัดเปลือกหัว และเนื้อหัวเป็น อาหาร ทำให้มันเทศด้อยคุณภาพลงไปอย่างมาก
* '''วิธีป้องกันและกำจัด'''
# ใช้ยา อาลดริน (Aldrin) หรือดิลเดรกซ์ (Dieldrex) 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร ฉีดหลังปลูกแล้วประมาณ 1 เดือนครึ่ง จะช่วยป้องกัน และกำจัดแมลงชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี
 
== สายพันธุ์ ==
เส้น 267 ⟶ 266:
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
<ref>http://kanchanapisek.or.th/kp6kp6/sub/book/book.php?book=5&chap=5&page=t5t5-5-infodetail01infodetail01.html</ref>
<ref>http://www.sc.mahidol.ac.th/wiki/doku.php?id=%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8</ref>
<ref>http://www.kew.org/science-conservation/plants-fungi/ipomoea-batatas-sweet-potato</ref>
บรรทัด 273:
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8 ประวัติความเป็นมาของมันเทศ]
 
[[หมวดหมู่:พืชไร่]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มันเทศ"