ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามเย็น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Fanclub35 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{ความหมายอื่น||ภาพยนตร์|2 คมล่าถล่มเมือง}}
[[ไฟล์:Berlinermauer.jpg|thumb|325px|ภาพถ่าย[[กำแพงเบอร์ลิน]]จากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ. 1989 เป็นสัญลักษณ์ว่าสงครามเย็นใกล้ยุติ]]
'''สงครามเย็น''' ({{lang-en|Cold War}}) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ระหว่างประเทศใน[[กลุ่มตะวันตก]] ([[สหรัฐอเมริกา]] พันธมิตร[[นาโต้]] ฯลฯ) และประเทศใน[[กลุ่มตะวันออก]] ([[สหภาพโซเวียต]]และพันธมิตรใน[[สนธิสัญญาวอร์ซอ]])
 
นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ ค.ศ. 1947–1991 สงครามเย็นได้ชื่อว่า "เย็น" เพราะไม่มีการสู้รบขนาดใหญ่โดยตรงระหว่างสองฝ่าย แม้มีสงครามในภูมิภาคสำคัญ ๆ ที่เรียก [[สงครามตัวแทน]] ในประเทศเกาหลี เวียดนามและอัฟกานิสถานซึ่งทั้งสองฝ่ายสนับสนุนก็ตาม สงครามเย็นแบ่งแยกพันธมิตรยามสงครามชั่วคราวเพื่อต่อกรกับ[[นาซีเยอรมนี]] ซึ่งสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาผงาดเป็น[[อภิมหาอำนาจ]]โดยมีข้อแตกต่างทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างลึกล้ำ คือ สหภาพโซเวียตเป็นรัฐ[[ลัทธิมากซ์–เลนิน]]พรรคการเมืองเดียว และสหรัฐอเมริกาเป็นรัฐทุนนิยมที่มีการเลือกตั้งเสรีโดยทั่วไป กลุ่มเป็นกลางที่ประกาศตนกำเนิดขึ้นด้วย[[ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด]]ซึ่งประเทศอียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซียและยูโกสลาเวียก่อตั้ง กลุ่มแยกนี้ปฏิเสธการสมาคมกับทั้งกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออก สองประเทศมหาอำนาจไม่เคยประจัญในการต่อสู้ด้วยอาวุธเต็มขั้น แต่ต่างฝ่ายต่างสั่งสมอย่างหนักเตรียมรับสงครามโลกนิวเคลียร์แบบสุดตัวที่อาจเกิดขึ้น ต่างฝ่ายมีสิ่งกีดขวางนิวเคลียร์ซึ่งกีดขวางการโจมตีของอีกฝ่าย บนพื้นฐานว่าการโจมตีนั้นจะนำไปสู่การทำลายล้างฝ่ายโจมตีอย่างสิ้นซาก คือ ลัทธิ[[อำนาจทำลายล้างซึ่งกันและกัน]] นอกเหนือจากการพัฒนาคลังนิวเคลียร์ของสองฝ่าย และการวางกำลังทหารตามแบบแล้ว การต่อสู้เพื่อครองความเป็นใหญ่ยังแสดงออกมาผ่านสงครามตัวแทนทั่วโลก การสงครามจิตวิทยา การโฆษณาชวนเชื่อและจารกรรม และการแข่งขันทางเทคโนโลยี เช่น [[การแข่งขันอวกาศ]]
 
ระยะแรกของสงครามเย็นเริ่มในสองปีให้หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติใน ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตรวบการควบคุมเหนือรัฐในกลุ่มตะวันออก ขณะที่สหรัฐอเมริกาเริ่ม[[การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนา]]ทั่วโลกเพื่อท้าทายโซเวียต โดยขยายความช่วยเหลือทางทหารและการเงินแก่ประเทศยุโรปตะวันตก (ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ใน[[สงครามกลางเมืองกรีซ]]) และการตั้งพันธมิตรนาโต้ [[การปิดล้อมเบอร์ลิน]] (ค.ศ. 1948–49) เป็นวิกฤตการณ์สำคัญครั้งแรกของสงครามเย็น{{อ้างอิง}}
 
ด้วยชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ใน[[สงครามกลางเมืองจีน]]และการอุบัติของ[[สงครามเกาหลี]] (ค.ศ. 1950–53) ความขัดแย้งขยายตัว สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาแข่งขันชิงอิทธิพลในละตินอเมริกาและรัฐแอฟริกา ตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับปลดปล่อยอาณานิคม ขณะเดียวกัน [[การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956]] ถูกโซเวียตหยุดยั้ง การขยายและบานปลายจุดประกายวิกฤตการณ์เพิ่มอีก เช่น [[วิกฤตการณ์สุเอซ]] (ค.ศ. 1956) [[วิกฤตการณ์เบอร์ลิน ค.ศ. 1961]] และ[[วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา]] ค.ศ. 1962 หลังความขัดแย้งสุดท้ายนี้ก็เริ่มระยะใหม่ซึ่งมี[[ความแตกแยกจีน–โซเวียต]]ทำให้ความสัมพันธ์ภายในเขตคอมมิวนิสต์ซับซ้อนยิ่งขึ้น ขณะที่พันธมิตรของสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศฝรั่งเศส แสดงอิสระในการปฏิบัติมากขึ้น สหภาพโซเวียตปราบปรามโครงการเปิดเสรี[[ปรากสปริง]] ค.ศ. 1968 ใน[[เชโกสโลวาเกีย]] และ[[สงครามเวียดนาม]] (ค.ศ. 1955–1975) ยุติลงด้วยความปราชัยของ[[สาธารณรัฐเวียดนามใต้]]ที่สหรัฐหนุนหลัง ทำให้มีการปรับแก้เพิ่ม
 
ในคริสต์ทศวรรษ 1970 ทั้งสองฝ่ายต่างสนใจในการผ่อนปรนเพื่อสถาปนาระบบระหว่างประเทศที่เสถียรมั่นคงและทำนายได้มากขึ้น อันเริ่มระยะ[[การผ่อนคลายความตึงเครียด]]ซึ่งมี[[การเจรจาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์]]และสหรัฐเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นการถ่วงดุลยุทธศาสตร์กับสหภาพโซเวียต การผ่อนคลายความตึงเครียดทลายลงเมื่อสิ้นทศวรรษโดย[[สงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน]]ที่เริ่มใน ค.ศ. 1979
 
ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นอีกช่วงหนึ่งที่มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น โดยการที่โซเวียตยิง[[โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007]] ตก (ค.ศ. 1983) และการซ้อมรบ "เอเบิลอาร์เชอร์" ของนาโต้ (ค.ศ. 1983) สหรัฐเพิ่มการกดดันทางการทูต ทหารและเศรษฐกิจต่อสหภาพโซเวียต ขณะเดียวกับที่สหภาพโซเวียตกำลังประสบภาวะเศรษฐกิจซบเซาอยู่แล้ว ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้นำโซเวียตคนใหม่ [[มีฮาอิล กอร์บาชอฟ]] ริเริ่มการปฏิรูปเปิดเสรี[[เปเรสตรอยคา]] (ค.ศ. 1987) และ[[กลัสนอสต์]] (ประมาณ ค.ศ. 1985) และยุติการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในอัฟกานิสถานของโซเวียต การกดดันเรียกร้องเอกราชของชาติยิ่งเติบโตขึ้นในยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศโปแลนด์ ฝ่ายกอร์บาชอฟไม่ยอมใช้ทหารโซเวียตเพื่อค้ำจุดระบอบสนธิสัญญาวอร์ซอที่ไม่มั่นคงดังที่เคยเป็นในอดีต ผลลงเอยด้วยใน ค.ศ. 1989 เกิดคลื่นปฏิวัติซึ่งโค่นระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งหมดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก พรรคคอมมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตเองเสียการควบคุมและถูกห้ามหลัง[[ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534|ความพยายามรัฐประหารอันไร้ผล]]ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 แล้วนำไปสู่การยุบสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 และการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศอื่นอย่างประเทศมองโกเลีย กัมพูชาและเยเมนใต้ สหรัฐเหลือเป็นประเทศอภิมหาอำนาจของโลกแต่ผู้เดียว{{อ้างอิง}}
 
== การใช้คำ ==