ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมขลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Makkhala Wat No.jpg|thumb|350px|''นางมณีเมขลา'' ขณะเหาะลงมาช่วย[[พระมหาชนก]] ภาพจากวัดหน่อพุทธางกูร จังหวัดสุพรรณบุรี]]
'''เมขลา''' หรือ '''มณีเมขลา''' เป็นเทพธิดาประจำมหาสมุทร และเป็นนางผู้ถือดวงแก้วล่อให้[[รามสูร]]ขว้างขวานจนทำให้เกิดฟ้าร้อง แต่นางก็โยนแก้วล่อไปล่อมาทำให้เกิดฟ้าแลบแสบตา<ref>{{cite web |url=http://www.thairath.co.th/column/pol/chuckthong/398279|title=เมขลาล่อแก้ว|author=กิเลน ประลองเชิง|date=24 มกราคม 2557|work= |publisher=ไทยรัฐ|accessdate=26 มกราคม 2557}}</ref> ทั้งนี้[[จาตุมหาราชิกา]]ได้มอบหมายให้นางปกป้องสิ่งคอยช่วยเหลือผู้มีชีวิตบุญญาที่บริสุทธิ์จากเรืออัปปางตกน้ำ<ref>G.P. Malalasekera. ''Dictionary of Pali Proper Names: Pali-English''. Asian Educational Services, 2003</ref> โดยปรากฏในชาดกเรื่อง ''"[[พระมหาชนก]]"'' ซึ่งเมขลาเข้าช่วยเหลือเจ้าชายมหาชนกจากเรืออัปปาง<ref name="Monius">Anne Elizabeth Monius. ''Imagining a place for Buddhism: literary culture and religious community in Tamil-speaking South India''. Oxford University Press US, 2001, pages 111-112</ref>
 
ทั้งนี้ฉากรามสูรไล่จับเมขลาไม่ปรากฏในวรรณคดีอินเดียใด ๆ<ref name="สุจิตต์">{{cite journal|journal= สุจิตต์ วงษ์เทศ |title= เมขลาล่อแก้ว ให้รามสูรขว้างขวาน |url= http://www.sujitwongthes.com/2012/10/siam08102555/ |date= 8 ตุลาคม 2555 |accessdate= 12 พฤษภาคม 2559}}</ref>
 
== ที่มาของชื่อ ==
เมขลา เป็น[[ภาษาบาลี]] แปลว่า "สายรัดเอว" หรือ "เข็มขัดสตรี" บ้างว่าหมายถึง[[จับปิ้ง]] อันเป็นเครื่องประดับอวัยวะเพศหญิง<ref name="สุจิตต์"/> ประเทศไทยใช้ชื่อ "เมขลา" มาตั้งเป็นชื่อของพายุหมุนเขตร้อนในปี พ.ศ. 2548 และ 2551 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังใช้เป็นชื่อ[[รางวัลเมขลา|รางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์]] และ[[ศูนย์เมขลา|ศูนย์ป้องกันวิกฤตน้ำ]]
 
== ประวัติ ==
ตามนิยายพื้นบ้านของไทย ได้ยกเรื่องเมขลามาอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าร้อง โดยเล่าว่า เมขลามีแก้ววิเศษประจำตัว [[รามสูร]]เห็นดังนั้นก็พอใจในดวงแก้วและความงามของเมขลาจึงเที่ยวไล่จับ เมื่อจับไม่ทันก็เอาขวานขว้างแต่ไม่ถูก เนื่องจากนางใช้แก้วล่อจนมีแสงเป็นฟ้าแลบทำให้รามสูรตาพร่ามัวขว้างขวานไม่ถูก<ref name="เมขลา">{{cite web |url=http://www.thaifolk.com/doc/mekkala.htm|title=เมขลา รามสูร|author=|date=|work= |publisher=Thai folk|accessdate=26 มกราคม 2557}}</ref> บ้างว่าเป็นเพราะรามสูร เมขลา และพระประชุนมาชุมนุมรื่นเริงกัน พระประชุนคือพระอินทร์ในสมัยพระเวทที่มีหน้าที่ทำให้เกิดพายุฝน พระอินทร์ในหน้าที่นี้เรียกว่า ปรรชันยะ หรือ ปรรชัยนวาต ไทยเรียกเป็นพระประชุน เมื่อมีการชุมนุมรื่นเริงกันของเทพแห่งฝน เมขลาผู้มีดวงแก้วและรามสูรผู้มีขวานจึงทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า<ref name="เมขลา"/>
 
ในวรรณคดี ''เฉลิมไตรภพ'' ได้อธิบายว่า มีพระยามังกรการตนหนึ่งอมแก้วไว้เสมอ จะไปไหนก็เอาดวงแก้วทูนศีรษะไว้ มังกรการได้แปลงเป็นเทวดาไปสมสู่กับนางฟ้ามีบุตรีชื่อ ''เมขลา''<ref name= "ชานันท์">{{cite web |url=http://www.seaconsortium.net/autopagev4/show_page.php?topic_id=423&auto_id=5&TopicPk=181|title=รามเกียรติ์ : sex, ผู้หญิง, รัฐ และ อุษาคเนย์|author=ชานันท์ ยอดหงษ์|date=|work= |publisher=The Southeast Asian Consortium on Gender, Sexual and Health|accessdate=26 พฤษภาคม 2557}}</ref> เมื่อเจริญวัยขึ้นมีความงามยิ่ง มังกรการได้นำบุตรีและดวงแก้วไปมอบแก่พระอิศวร ครั้งหนึ่งเมขลาได้ขโมยดวงแก้ววิเศษนั้นไป ราหูผู้มีครึ่งตัวเพราะถูกจักรพระนารายณ์เมื่อครั้งแปลงเป็นเทวดาไปดื่มน้ำอมฤต ได้อาสาไปจับเมขลา และได้ชวนรามสูรผู้เพื่อนไปด้วย รามสูรได้ขว้างขวานจนกลายเป็นฟ้าลั่น<ref name="เมขลา"/> ดังที่[[สุนทรภู่]]ได้แต่งกลอนอธิบายการล่อแก้วของเมขลาและการขว้างขวานของรามสูรไว้ ความว่า<ref>พระสุนทรโวหาร (ภู่). "ลำนำเห่กล่อมเรื่องจับระบำ". ''ประชุมบทลำนำเล่ม 1 เห่กล่อมพระบรรทม''. 2469, หน้า 15-16</ref>
เส้น 29 ⟶ 31:
|เวียนรไวไปมา|ในจักรราศีเอย ๚}}
 
ทั้งนี้เรื่องเมขลาล่อแก้วนั้นไม่ปรากฏในวรรณคดีเรื่อง ''[[รามเกียรติ์]]'' โดยกล่าวถึงเพียงแต่ ปรศุราม (คือรามสูร) พระราชนิพนธ์ใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]ว่าเป็นอสูรเทพบุตร มีขวานเพชร ในเทศกาลวสันต์คราวหนึ่งนางอัปสรและเทวดาต่าง เทวดาและอัปสรเล่นๆ มาร่วมจับระบำกัน รามสูรเจ้าเมขลาเองก็ถือแก้วมณีไปไขว่คว้า[[นางอัปสร]]ร่วมจับระบำด้วย และรามสูรเห็นดังนั้นจึงไล่ตามจับนางเมขลาไปพบ แต่พระอรชุนเหาะมาพอดี ได้ท้ารบกัน ด้วยความโกรธรามสูรจึงจับอรชุนสองขาพระอรชุนไปฟาดเหลี่ยมเขาพระสุเมรุจนตาย<ref name="เมขลา"/>
 
== ลักษณะ ==
[[ไฟล์:Mekkhala.jpg|thumb|190px|''เมขลา'' จากหน้าปกนิตยสาร "ชาวกรุง"]]
[[ไฟล์:Makkhala Wat Pratusan.jpg|thumb|190px|''เมขลา'' ขณะเหาะหนี[[รามสูร]] ภาพจากวัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรี ต่างจากเมขลานางอื่นด้วยเปิด[[โยนี]]ล่อรามสูรแทนการใช้ลูกแก้ว]]
ในบทเห่กล่อมพระบรรทม เห่เรื่อง ''"จับระบำ"'' ที่รจนาแต่งโดย[[สุนทรภู่]] ได้พรรณนาเกี่ยวกับลักษณะของเมขลาที่กำลังล่อแก้วอยู่บนท้องฟ้า และมีความงามดุจ[[กินรี]] ความว่า
 
{{บทกวี|indent=1
เส้น 51 ⟶ 53:
== เมขลาในประเทศต่าง ๆ ==
=== เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ===
เรื่องราวของเมขลา มักปรากฏตามจิตกรรมฝาผนังของวัดในประเทศอุษาคเนย์ที่นับถือพุทธศาสนาโดยภาพมาจากฉากในเรื่อง "[[พระมหาชนก]]"<ref name="Monius" /> โดยในไทยและกัมพูชาได้มีการแสดง "เมขลาล่อแก้ว" ทั้งนี้ในกัมพูชาได้มีพิธีกรรมขอฝนด้วยการเต้นดังกล่าวเพื่อเป็นการบวงสรวงเทวดา ถือเป็นเรื่องสวัสดิมงคล<ref name="สุจิตต์"/><ref>Cravath, Paul. ''Asian Theatre Journal'', Vol. 3, No. 2 (Autumn, 1986), pp. 179-203 (The Ritual Origins of the Classical Dance Drama of Cambodia) University of Hawai'i Press</ref>
 
ในอดีตชนชั้นสูงในไทยมักระบำเบิกโรงเมขลารามสูรโดยถือเป็นมงคล ส่วนโรงละครเองก็ประดับประดารูปสลักหรือภาพวาดเมขลารามสูรล่อแก้วถือเป็นมงคลอีกเช่นกัน<ref name="สุจิตต์"/>
 
=== ประเทศจีน ===
ตามคติจีน มีเทพที่ใกล้เคียงกับเมขลาอีกสององค์คือ '''[[ธิดาพญามังกร|เง็กนึ้ง]]''' ({{zh|c=玉女|p= yùnǚ}}; แปลว่า "นางหยก") และอีกองค์คือ '''[[เตียนบ๊อ]]''' ({{zh|c=電母|p= diàn mǔ}}; แปลว่า "เจ้าแห่งสายฟ้า") ต่างกับเมขลาคือถือธงหรือกระจกเงาให้มีแสงแวบวับเป็นสัญญาณให้ ''[[ลุ่ยกง]]'' ({{zh|c=雷公|p= léi gōng}}; แปลว่า "เจ้าแห่งฟ้าร้อง") รู้ก่อนว่าผู้ใดมีใจชั่วควรลงโทษด้วยการใช้ฟ้าผ่า<ref>อุทัย สินธุสาร. ''สารานุกรมไทย''. กรุงเทพฯ:อาศรมแห่งศิลป์และศาสตร์, 2520. หน้า 3500-3501</ref>
 
=== ประเทศศรีลังกา ===
ปรากฏในกาพย์ของชาวทมิฬ เรื่อง '''[[มณิเมกะไล]]''' ({{lang-ta|மணிமேகலை}})<ref>[http://www.projectmadurai.org/pmworks.html ''Manimekalai'' - Original Text in Tamil]</ref><ref>[http://gretil.sub.uni-goettingen.de/gretil/4_drav/tamil/pm/pm141__u.htm ''Manimekalai'' - English transliteration of Tamil original]</ref> เป็นเทพธิดาแห่งท้องทะเล โดยถือเป็นเทพสตรีที่นอนหลับไหลอยู่บนเกาะมณีปัลลาวัม (ปัจจุบันคือ [[เกาะนยิณาตีวู]]) รจนาขึ้นโดย[[จิตตาไล จัตตานาร์]] ถือเป็นมหากาพย์หนึ่งในห้าที่มีชื่อเสียงของชาวทมิฬ<ref>
Mukherjee, Sujit (1999). ''A Dictionary of Indian Literature: Beginnings-1850''. New Delhi: Orient Longman Limited, p. 277</ref>
 
== ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ==
เรื่องราวของเมขลา ได้รับการประพันธ์เป็นเพลง "เมขลาล่อแก้ว" ซึ่งเป็นจังหวะรำวง ขับร้องโดย[[เบญจมินทร์]]<ref>{{cite web |url=http://music.sanook.com/460/เปิดปูมเพลงไทย-เกาหลี ลูกทุ่งร้องมากว่า50 ปีแล้ว/|title=เปิดปูมเพลงไทย-เกาหลี ลูกทุ่งร้องมากว่า50 ปีแล้ว|author=|date=9 มีนาคม 2551|work= |publisher=สนุกดอตคอม|accessdate=26 มกราคม 2557}}</ref> โดยพรรณนาถึงฉากที่เมขลาล่อแก้วกับรามสูร
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เมขลา"