ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามกลางเมืองรัสเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 96:
{{flagicon image|RPAU flag.svg}} [[Nestor Makhno]]
|commander2={{flagicon|Russia}} [[อเล็กซานเดอร์ คอลชัค]]{{executed}}<br />{{flagicon|Russia}} [[Lavr Kornilov]]{{KIA}}<br />{{flagicon|Russia}} [[แอนตัน เดนีกิน]]<br />{{flagicon|Russia}} [[Pyotr Wrangel]]<br />
{{flagicon|Russia}} [[Nikolaiนิโคไล Yudenichยูเดนิช]]
|strength1 = 3,000,000<ref name=gfk/>
----
บรรทัด 109:
'''สงครามกลางเมืองรัสเซีย''' เริ่มในเดือนพฤษภาคม [[ค.ศ. 1918]] เมื่อกลุ่ม[[เชโกสโลวัก]] (อดีตนักโทษสงครามที่เดินทางทาง[[รถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย]]ไปยัง[[วลาดีวอสตอค|เมืองวลาดีวอสตอค]]และเป็นพวกลี้ภัย) เกิดประทะกับกองทหารโซเวียตที่บริเวณ[[ภูเขาอูรัล]] และยังมีทีท่าว่าจะยึดขบวนรถไฟ การยึดครองนี้จะทำให้กองกำลังต่อต้านการปฏิวัติ (หรือพวกขาว "Whites") สามารถจัดกองทัพต่อต้าน[[บอลเชวิค]]ใน[[ไซบีเรีย]]ตะวันตก กองกำลังฝ่ายขาวนี้ยังมีที่ตั้งมั่นอยู่ในเขตรัสเซียในยุโรป ซึ่งถูกเยอรมันยึดครองในเดือนมีนาคม ค.ศ.1918 ระหว่างเริ่มการยึดครองนั้น กองทหารอังกฤษได้เข้ามาตั้งมั่นที่เมือง[[อาร์คันเกลสค์]] [[มูร์มันสก์]] และ[[ทรานส์คอเคซัส]] เหมือนกับว่าจะช่วยฝ่ายรัสเซียขาว และกองกำลังฝรั่งเศสก็เข้ามาตั้งที่[[โอเดสซา]] แต่ปรากฏว่าทั้งสองชาติไม่ได้ต้องการที่จะเข้ามาปล่อยฝ่ายขาวอย่างจริงจัง เพราะทั้งสองได้ถอนตัวออกไปหมดในตอนปลาย ค.ศ.1919
 
พวก[[บอลเชวิค]]ถูกคุกคามจากรอบด้าน โดยในยูเครนนั้น [[เยอรมนี]]ได้สนับสนุนรัฐบาลแยกดินแดนชาว[[ยูเครน]] ส่วนทางใต้นายทหารพระเจ้าซาร์คือ นายพล[[แอนตัน เดนีกิน]] (Anton Denikin) ได้จัดตั้งกองทัพอาสาสมัครมีกำลังสำคัญคือ ทหารคอสแซคขับไล่พวกแดงออกจากคอเคซัส ในอูรัลและไซบีเรีย นายพลสมัยพระเจ้าซาร์คือนายพล [[อเล็กซานเดอร์ คอลชัค]] (A.V. Kolchak) จัดตั้งกองทัพของตนขึ้นมาพร้อมกับประกาศตนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัสเซียในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 กองกำลังของทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งเข้าโจมตี[[มอสโก]]ใน ค.ศ. 1919 แต่กองทัพคอลชัคถูกกองทัพแดงขับไล่ไปไซบีเรียใน ค.ศ. 1920 กองทัพเดนีกินถูกทำลายใน ค.ศ.1920 และเมื่อมีกองทัพของอดีตนายพลสมัยพระเจ้าซาร์อีกคนหนึ่งคือ [[นิโคไล ยูเดนิช]] ยกจากเอสโตเนียสู่เปโตรกราดในฤดูร้อน ค.ศ. 1919 ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้ เช่นเดียวกัน การคุกคามครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกเมื่อโปแลนด์ยกกองทัพบุกยูเครน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1920 กองทัพแดงขับไล่ทหาร[[โปแลนด์]]ถอยร่นไปถึง[[แม่น้ำวิสตูลา]] แต่ชาวโปลผู้รักชาติสามารถร่วมมือกันรักษา[[กรุงวอร์ซอ]]ไว้ได้ และทั้งสองฝ่ายได้ลงนามสงบศึกในเดือนตุลาคม
 
ความพ่ายแพ้ของฝ่ายขาวทุกด้าน ทำให้บอลเชวิคสามารถขยายอิทธิพลเข้าไปในทุกภูมิภาค แห่งสุดท้ายคือ [[วลาดีวอสตอค]] ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นภายหลังการยึดครองของ[[ญี่ปุ่น]] ค.ศ.1918 ได้ถอนตัวออกไปใน ค.ศ.1922