ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาน้ำเค็ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Georgia Aquarium - Giant Grouper.jpg|thumb|250px|[[ปลาหมอทะเล]] (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตาม[[แนวปะการัง]][[เขตร้อน]]และ[[เขตอบอุ่น]]ทั่วโลก]]
'''ปลาน้ำเค็ม''' หรือ '''ปลาทะเล''' คือ [[ปลา]]ที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็น[[น้ำทะเล]]หรือน้ำเค็มที่มีปริมาณ[[ความเค็ม]]ของ[[เกลือ]]ละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, [[ทะเลสาบน้ำเค็ม]] , [[ทะเลลึก]] หรือ[[ปากแม่น้ำ]], [[ชายฝั่ง]] หรือ[[ป่าโกงกาง]]ที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือ[[น้ำกร่อย]]
 
โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจาก[[ปลาน้ำจืด]]เท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและ[[เกลือแร่]]ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด [[ไต]]ของปลาน้ำเค็มขับ[[ปัสสาวะ]]ที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณ[[ออกซิเจน]]ในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า [[คลอไรด์เซลล์]] ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ