ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทอร์เบิร์น เบิร์กมัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox scientist |name = ทอร์เบิร์น เบิร์กมัน |image = Torbern Olof Bergman.jpg|300px |image_size...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:00, 10 พฤษภาคม 2559

ทอร์เบิร์น โอลอฟ เบิร์กมัน (สวีเดน: Torbern Olof Bergman; 20 มีนาคม ค.ศ. 17358 กรกฎาคม ค.ศ. 1784) เป็นนักเคมีและนักวิทยาแร่ชาวสวีเดน เกิดที่เมืองคาทารินเบิร์ก (ปัจจุบันอยู่ในประเทศสาธารณรัฐเช็ก) เป็นบุตรของบาร์โธลด์ เบิร์กมันและซารา แฮก เบิร์กมันเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยอุปซอลาเมื่ออายุได้ 17 ปี โดยบิดาต้องการให้เขาเรียนกฎหมายและศาสนา ในขณะที่ตัวเบิร์กมันเองอยากเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เบิร์กมันทำงานอย่างหนักจนต้องหยุดเรียน ระหว่างหยุดเรียน เบิร์กมันสนใจด้านพฤกษศาสตร์และกีฏวิทยา และส่งตัวอย่างแมลงชนิดใหม่ ๆ หลายชนิดไปให้คาโรลัส ลินเนียส ในปี ค.ศ. 1758 เบิร์กมันกลับไปเรียนที่มหาวิทยาลัยอีกครั้งจนจบปริญญาเอกและเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย เมื่อโยฮัน กอตต์ชอล์ก วอลเลเรียสเกษียณอายุ เบิร์กมันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีต่อและอยู่ในตำแหน่งจนกระทั่งเสียชีวิต[2]

ทอร์เบิร์น เบิร์กมัน
เกิดทอร์เบิร์น โอลอฟ เบิร์กมัน
20 มีนาคม ค.ศ. 1735(1735-03-20)
คาทารินเบิร์ก สวีเดน
เสียชีวิต8 กรกฎาคม ค.ศ. 1784(1784-07-08) (49 ปี)
เมเดวี สวีเดน
สัญชาติสวีเดน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอุปซอลา
มีชื่อเสียงจากตารางความคล้ายคลึงทางเคมี
รางวัลภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (ค.ศ. 1764)
ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน (ค.ศ. 1765)[1]
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมี, วิทยาแร่
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยอุปซอลา
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกเบนต์ เฟอร์เนอร์
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอกโยฮัน อัฟเซเลียส
มีอิทธิพลต่อคาโรลัส ลินเนียส

เบิร์กมันมีส่วนในการพัฒนาการวิเคราะห์เชิงปริมาณและการจัดหมวดหมู่แร่ธาตุ ในปี ค.ศ. 1771 สี่ปีหลังจากโจเซฟ พรีสต์ลีย์คิดค้นโซดา เบิร์กมันได้สร้างกระบวนการสร้างโซดาจากชอล์กที่ทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริก นอกจากนี้เบิร์กมันยังเป็นผู้ให้การสนับสนุนคาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ นักเคมีชาวเยอรมัน/สวีเดน[2]

ด้านชีวิตส่วนตัว เบิร์กมันแต่งงานกับมาร์กาเรตา คาทารินา ทราสต์ ในปี ค.ศ. 1771 เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1784

สิ่งสืบเนื่อง

ชื่อของเบิร์กมันได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อแร่ ทอร์เบอไนต์ และแอ่งดวงจันทร์ เบิร์กมัน

อ้างอิง

  1. "Library and Archive Catalog". Royal Society. สืบค้นเมื่อ 143 December 2010. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "Torbern Olof Bergman - Encyclopedia.com". สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น