ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดินแดนปาเลสไตน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Fanclub25 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 53:
}}
 
'''ดินแดนปาเลสไตน์'''หรือ'''ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง'''ประกอบด้วย[[เวสต์แบงก์]] (รวม[[เยรูซาเลมตะวันออก]]) และ[[ฉนวนกาซา]]<ref>{{cite web |url=http://www.state.gov/p/nea/ci/pt/ |title=Palestinian Territories |publisher=State.gov |date=2008-04-22 |accessdate=2012-12-26}}</ref> ในปี 2536 ตาม[[ข้อตกลงออสโล]] ในทางการเมือง บางส่วนของดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้เขตอำนาจของ[[องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์]] (พื้นที่เอและบี) ในปี 2550 ฉนวนกาซาที่ฮามาสปกครองแยกจากองค์การบริหารปาเลไสตน์อย่างรุนแรง และปกครองพื้นที่กาซาเป็นอิสระนับแต่นั้น อิสราเอลยังควบคุมทางทหาร (military control) สมบูรณ์ และตามข้อตกลงออสโลอสโล ควบคุมทางพลเรือน (civil control) เหนือ 61% ของเวสต์แบงก์ (พื้นที่ซี) ในเดือนเมษายน 2554 ภาคีปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติยังสะดุดอยู่หลังจากนั้น ความพยายามปรองดองปรงดองต่อมาในปี 2555 ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเชนเดียวกัน
 
พื้นที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซาเป็นส่วนของดินแดนทางตะวันตกของ[[แม่น้ำจอร์แดน]]ใน[[ปาเลสไตน์ในอาณัติ]]ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งในปี 2465 นับแต่[[สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948|สงครามอาหรับ–อิสราเอล ปี 2491]] กระทั่ง[[สงครามหกวัน]] ปี 2510 เวสต์แบงก์ถูกจอร์แดนยึดครองและผนวก (เฉพาะสหราชอาณาจักรและปากีสถานรับรองการผนวก) และฉนวนกาซาถูกอียิปต์ยึดครอง แม้[[All-Palestine Government|รัฐบาลปาเลสไตน์ล้วน]] (All-Palestine Government) ใช้อำนาจอย่างจำกัดในกาซาตั้งแต่เดือนกันยายน 2491 ถึงปี 2502 ก็ตาม แนวพรมแดนซึ่งเป็นเรื่องของการเจรจาในอนาคต ประชาคมนานาชาติถือโดยทั่วไปว่านิยามโดยเส้นสีเขียวอันแทนเส้นการสงบศึกภายใต้[[ความตกลงการสงบศึก ค.ศ. 1949|ความตกลงการสงบศึกปี 2492]] ซึ่งประกาศเส้นการสงบศึกอย่างชัดเจน มิใช่พรมแดนระหว่างประเทศนะ
 
เนื่องจากอิสราเอลยึดดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาจากจอร์แดนและอียิปต์ตามลำดับใน[[สงครามหกวัน]] ปี 2510 และได้รักษาการควบคุมดินแดนดังกล่าวนับแต่นั้น ประชาคมนานาชาติ รวมทั้ง[[สหประชาชาติ]]และองค์การกฎหมายระหว่างประเทศจึงมักเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง"
 
ในปี 2523 อิสราเอลผนวกเยรูซาเลมตะวันออกอย่างเป็นทางการ การผนวกดังกล่าวถูกนานาชาติประณามและ[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]]ประกาศให้ "ไม่มีผลและเป็นโมฆะ" ขณะที่ชาติอิสราเอลมองว่า [[เยรูซาเลม]]ทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของประเทศ ในปี 2531 ด้วย[[องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์]]มีเจตนาประกาศ[[รัฐปาเลสไตน์]] จอร์แดนจึงยอมสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเวสต์แบงก์ รวมเยรูซาเลมตะวันออก ตั้งแต่คำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ในปี 2531 มีชาติสมาชิกสหประชาชาติประมาณ 130 ชาติรับรองรัฐปาเลสไตน์ อันประกอบด้วยดินแดนปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลและชาติตะวันตกบางชาติ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ยังไม่รับรอง ทว่า ไม่นาน องค์การบริหารปาเลสไตน์ถูกตั้งขึ้นตามผลของข้อตกลงออสโล ปี 2536 โดยควบคุมเหนือบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาอย่างจำกัด