ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลาพระเกี้ยว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่แหล่งอ้างอิง และจะใส่ข้อมูลเพื่อพัฒนาต่อไป
ป้ายระบุ: ผู้ใช้แก้หน้าเปลี่ยนทาง
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหัวข้อระดับสองและใส่เนื้อหา เพิ่มแหล่งอ้างอิง
บรรทัด 30:
 
'''ศาลาพระเกี้ยว''' เป็นอาคารเอนกประสงค์ของ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] สร้างในปี [[พ.ศ. 2508]]<ref>หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศาลาพระเกี้ยว. 7 พฤศจิกายน 2552. http://www.memohall.chula.ac.th/article/ศาลาพระเกี้ยว/ (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref> ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหลายอย่าง เช่น [[จุฬาฯวิชาการ]] ชั้นใต้ดินเป็น[[ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ลักษณะภายนอกของศาลาพระเกี้ยวเป็น[[สถาปัตยกรรมสมัยใหม่]] รูปทรงคล้าย[[พระเกี้ยว]] ในปี [[พ.ศ. 2559]] ศาลาพระเกี้ยวได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นจาก[[สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์]]<ref>สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. ประกาศผลการคัดเลือก รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2559. 5 พฤษภาคม 2559. http://www.asa.or.th/en/node/140800 (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref>
 
== ประวัติ ==
นับตั้งแต่ [[พ.ศ. 2500]] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมี[[นิสิต]]เป็นจำนวนมาก มีการสนับสนุนให้นิสิตทำกิจกรรมในระหว่างศึกษาในมหาวิทยาลัย ทำให้สโมสรนิสิตจำเป็นต้องมีการขยายพื้นที่ปฏิบัติงานจากอาคารจักรพงษ์ที่ใช้อยู่เดิม ในขณะนั้น[[จอมพล]] [[ประภาส จารุเสถียร]] [[อธิการบดี]]จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยในขณะนั้นมีแนวคิดที่จะสร้างอาคารเอนกประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมกิจกรรมของนิสิต สภามหาวิทยาลัยจึงอนุมัติให้สร้างอาคารหลังหนึ่งโดยใช้ชื่อว่า ศาลาพระเกี้ยว ขึ้นบริเวณด้านหลังอาคารจุลจักรพงษ์ในปัจจุบัน ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 12 ล้านบาท<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๙ ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ, กรุงเทพ: บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด, 2552.</ref>
 
ศาลาพระเกี้ยวเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ [[พ.ศ. 2508]] สร้างเสร็จลงใน [[พ.ศ. 2509]] มี[[หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ]] เป็น[[สถาปนิก]]ออกแบบ เลิศ อุรัสยนันทน์เป็นสถาปนิกผู้ช่วยและมีรชฏ กาญจนะวณิชย์เป็น[[วิศวกร]]ควบคุมการก่อสร้าง หลังจากสร้างเสร็จสมบูรณ์ได้มีพิธีเปิดในวันที่ [[26 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2510]] ซึ่งตรงกับวันครบรอบการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 50 ปี<ref>สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศาลาพระเกี้ยว. 27 พฤศจิกายน 2557. http://www.prm.chula.ac.th/cen31.html (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref>
 
ในปี [[พ.ศ. 2522]] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการปิดศาลาพระเกี้ยวเพื่อทำการปรับปรุงซ่อมแซมครั้งใหญ่ เนื่องจากความทรุดโทรมที่เกิดจากการใช้งานมายาวนานและปัญหาฐานรากทรุด ใช้งบประมาณในการซ่อมแซมในครั้งนี้เป็นเงิน 19 ล้านบาท ใช้เวลา 2 ปีครึ่งจึงแล้วเสร็จ<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๙ ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ, กรุงเทพ: บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด, 2552.</ref> หลังจากนั้น 35 ปี ในปี พ.ศ. 2557 ศาลาพระเกี้ยวปิดทำการอีกครั้งเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมครั้งใหญ่เป็นครั้งที่ 2 ประกอบไปด้วยการปรับปรุงชั้นล่าง(ชั้นใต้ดิน) ใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท<ref>สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงการปรับปรุงศาลาพระเกี้ยวชั้นล่าง. 27 พฤศจิกายน 2557. http://www.prm.chula.ac.th/projects.html (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref> และการปรับปรุงตัวอาคารศาลาพระเกี้ยว ใช้งบประมาณ 60 ล้านบาท ในครั้งนี้ใช้เวลาปรับปรุง 1 ปีจึงสามารถเปิดทำการได้ในปีการศึกษา 2558<ref>ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. แจ้งโครงการปรับปรุงศาลาพระเกี้ยว . 14 มีนาคม 2557. http://www.civil.eng.chula.ac.th/news/2014/03/14/225 (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref>
 
== อ้างอิง ==