เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Smile Muchalin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Smile Muchalin (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 706:
#* ka'''n'''ri = คันริ
#* da'''n'''sei = ดันเซ
=== ข้อยกเว้น ===
* '''วิสามายนาม''' วิสามายนามในภาษาญี่ปุ่น เมื่อเจ้าตัว, เจ้าของ, ตัวแทนอย่างเป็นทางการ, ผู้ทรงลิขสิทธิ์ หรือองค์กรในภูมิภาคกำหนดหรือใช้อย่างเป็นทางการในประเทศไทยเช่นไร ก็ควรใช้เช่นนั้น แม้ไม่ต้องตามวิธีทับศัพท์นี้ เช่น ชื่อบุคคล, ตัวละคร, บริษัท, ห้างร้าน, หน่วยงาน, สิ่งประดิษฐ์, วรรณกรรม, สิ่งบันเทิง, กีฬา ฯลฯ เป็นต้นว่า
** 三菱 (Mitsubishi, ตามหลักต้องว่า "มิสึบิชิ") แต่มีชื่ออย่างเป็นทางการ (ชื่อบริษัทยานยนต์) ในประเทศไทยว่า "มิตซูบิชิ" ก็ให้ใช้อย่างหลังนี้ (ดู [[มิตซูบิชิ]])
* '''คำที่ทับศัพท์จากภาษาอื่น''' คำในภาษาญี่ปุ่นที่ทับศัพท์จากภาษาอื่นมักเขียนด้วย[[คะตะกะนะ]] อาจให้ทับศัพท์ตามภาษาต้นทาง เช่น
** カノン (Kanon, ตามหลักต้องว่า "คะนง") ทับศัพท์จากคำภาษาอังกฤษว่า "Kanon", ก็ให้ทับศัพท์ตามคำอังกฤษนั้น และโดยวิธีทับศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็น "แคนอน", แต่เนื่องจากเป็นชื่ออะนิเมะ (วิสามานยนาม) ซึ่งในประเทศไทยใช้อย่างเป็นทางการว่า "คาน่อน" จึงให้เขียนชื่ออะนิเมะนี้ว่า "คาน่อน" (ดู [[คาน่อน]])
** チャオリンシェン (Chao Rinshen, ตามหลักต้องว่า "เชา รินเช็ง") ทับศัพท์จากคำภาษาจีนว่า "超鈴音" (Chāo Língchén), ก็ให้ทับศัพท์ตามคำจีนนั้น และโดยวิธีทับศัพท์ภาษาจีน เป็น "เชา หลิงเฉิน", แต่เนื่องจากเป็นชื่อตัวละคร (วิสามานยนาม) ซึ่งในประเทศไทยใช้อย่างเป็นทางการว่า "เจ้า หลินเฉิง" จึงให้เขียนชื่อตัวละครนี้ว่า "เจ้า หลินเฉิง" (ดู [[เจ้า หลินเฉิง]])
** วิดีโอเกมที่ผลิตโดยญี่ปุ่นแต่อิงจากภาษาอื่น หรืออาจใช้ตามความนิยมของนักเล่นเกมส่วนใหญ่ โดยอาจใช้อ้างอิงหรือมีการอภิปรายประกอบ
* '''คำที่นิยมเขียนเป็นอื่น''' คำในภาษาญี่ปุ่น ที่ในประเทศไทยนิยมเขียนแบบอื่นซึ่งไม่ต้องตามวิธีทับศัพท์นี้ ก็อาจใช้ต่อไปตามนั้น เช่น
** 将軍 (shōgun, ตามหลักต้องว่า "โชงุง") แต่นิยมว่า "โชกุน" (ดู [[โชกุน]])
** 餅 (mochi, ตามหลักต้องว่า "โมะชิ") แต่นิยมว่า "โมจิ" (ดู [[โมจิ]])
** ちゃん (chan, ตามหลักต้องว่า "ชัง") อันเป็นวิภัตติอย่างหนึ่งในภาษาญี่ปุ่น มักใช้เป็นสร้อยชื่อ และในประเทศไทยนิยมว่า "จัง"
* '''คำที่ราชบัณฑิตยสถานรับรอง''' คำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติเอง ให้ใช้ตามนั้น แม้ไม่ต้องตามวิธีทับศัพท์นี้ก็ตาม เช่น
** 東京 (Tōkyō, แยกพยางค์เป็น Tō-kyō, และตามหลักต้องว่า "โทเกียว") ราชบัณฑิตยสถานให้ว่า "โตเกียว" โดยชี้แจงว่า ก่อนประกาศใช้หลักเกณฑ์นี้ มีการทับศัพท์ว่า "โตเกียว" แพร่หลายอยู่แล้ว
** 津波 (tsunami, ตามหลักต้องว่า "สึนะมิ") ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า "สึนามิ" ตามความนิยม