ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "คณะกงสุลแห่งฝรั่งเศส" → "คณะกงสุลฝรั่งเศส" +แทนที่ "สมเด็จพระ" → "" +แทนที่ "ดยุค" → "ดยุก"...
บรรทัด 71:
|common_languages = [[ภาษาฝรั่งเศส]]
|currency = [[ฟรังก์ฝรั่งเศส]]
|leader1 = [[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1|นโปเลียนที่ 1]]
|year_leader1 = [[ค.ศ. 1804]] - [[ค.ศ. 1814|1814]]</br> - [[ค.ศ. 1815]]
|leader2 = [[จักรพรรดินโปเลียนที่ 2|นโปเลียนที่ 2]]
|year_leader2 = [[ค.ศ. 1814]] - [[ค.ศ. 1815|1815]]
|title_leader = [[สมเด็จพระจักรพรรดิฝรั่งเศศ|จักรพรรดิ]]
|legislature = [[รัฐสภาฝรั่งเศส|รัฐสภา]]
|house1 = [[วุฒิสภาฝรั่งเศส|วุฒิสภา]]
บรรทัด 83:
{{ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส}}
 
'''จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง''' ({{lang-fr|Premier Empire}}) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ({{lang-fr|L'Empire des Français}}; ''ล็องปีร์เดส์ฟร็องแซส์'' แปลว่า '''จักรวรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส''') ยังรู้จักกันในนาม '''มหาจักรวรรดิฝรั่งเศส''' และ '''จักรวรรดินโปเลียน''' โดยเป็นจักรวรรดิที่สถาปนาขึ้นโดย [[นโปเลียนที่ 1|จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส]] ภายหลังจากที่พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น[[จักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส]] โดยเป็นจักรวรรดิที่มีส่วนสำคัญและมีอำนาจอย่างมากใน[[ทวีปยุโรป]]ในช่วงต้น[[คริสต์ศตวรรษที่ 19]] โดยเปลี่ยนผ่านมาจาก[[คณะกงสุลแห่งฝรั่งเศส]] (French Consulate) จักรวรรดิยังเป็นผู้ริเริ่มการทำสงครามมากมายในยุโรปจากนโยบายการต่างประเทศของ[[นโปเลียนที่ 1|จักรพรรดินโปเลียน]] ที่มุ่งเน้นจะยึดครอง[[ทวีปยุโรป]]ไว้กับฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียว
 
== ประวัติศาสตร์ ==
ในปี [[ค.ศ. 1804]] [[นโปเลียนที่ 1|นโปเลียน โบนาปาร์ต]] หนึ่งในสามผู้นำของ[[คณะกงสุลแห่งฝรั่งเศส]] ได้ปราบดาภิเษกตนเองเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิและเริ่มต้นจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (First Empire) [[นโปเลียนที่ 1|จักรพรรดินโปเลียน]]ทรงปรับปรุงกองทัพฝรั่งเศสเป็น "[[กองทัพใหญ่]]" (Grand Armée) ในปี [[ค.ศ. 1805]] การประกาศฝรั่งเศสเป็นจักรวรรดิทำให้ชาติต่างๆ รวมตัวกันอีกครั้งเป็น[[สัมพันธมิตรครั้งที่ 3]] (Third Coaltion) [[นโปเลียนที่ 1|จักรพรรดินโปเลียน]]ทรงนำทัพบุก[[เยอรมนี]] ชนะกองทัพออสเตรียที่[[อุล์ม]] แต่ทางทะเลต้องพ่ายแพ้[[อังกฤษ]]ที่[[แหลมทราฟัลการ์]]ใน[[ยุทธนาวีทราฟัลการ์]] ชัยชนะที่อุล์มทำให้จักรพรรดินโปเลียนทรงรุกคืบเข้าไปในออสเตรีย และชนะออสเตรียกับรัสเซียที่[[ยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์|เอาสเทอร์ลิทซ์]] เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ทำให้[[สัมพันธมิตรครั้งที่ 3]] สลายตัวด้วย[[สนธิสัญญาเพรสบูร์ก]] (Treaty of Pressburg) ผลของสนธิสัญญาคือ[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ต้องล่มสลายไป พระเจ้านโปเลียนตั้ง[[สมาพันธรัฐแห่งไรน์]] (Confederation of the Rhine) ขึ้นมาแทนที่ ยังผลให้[[สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ต้องเปลี่ยนพระอิสริยยศเป็น[[สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย]] ซึ่งในช่วงต้นของสงครามกับนานาประเทศ ฝรั่งเศสบุกชนะในหลายประเทศอาทิเช่น [[ออสเตรีย]] [[ปรัสเซีย]] [[โปรตุเกส]] และชาติพันธมิตรชาติอื่น ๆ อีกทั้งยังยึดครองดินแดนใน[[ทวีปยุโรป]]ไว้ได้มากมาย
 
ความสำเร็จของนโปเลียนในเยอรมนี ทำให้ปรัสเซียร่วมกับอังกฤษและรัสเซียตั้ง[[สัมพันธมิตรครั้งที่ 4]] (Fourth Coalition) แต่คราวนี้ฝรั่งเศสมีรัฐบริวารมากมายให้การสนับสนุน จักรพรรดินโปเลียนจึงนำทัพบุกปรัสเซียชนะที่[[เยนา-เออร์ชเตดท์]] และชนะรัสเซียที่[[ฟรีดแลนด์]] ทำให้เกิด[[สนธิสัญญาแห่งทิลซิต]] (Treaty of Tilsit) ที่ยุติสองปีแห่งการนองเลือดของทวีปยุโรปลงในปี [[ค.ศ. 1807]] จากสนธิสัญญานี้ทำให้ปรัสเซียสูญเสียดินแดนขนาดใหญ่ กลายเป็น[[แกรนด์ดัชชีวอร์ซอว์]] (Grand Duchy of Warsaw) และซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ร่วมเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและเข้าระบบภาคพื้นทวีป (Continental system) เพื่อตัดขาดอังกฤษทางการค้าจากผืนทวีปยุโรป แต่สองประเทศ คือ[[สวีเดน]]และ[[โปรตุเกส]] เป็นกลางและไม่ยอมเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป จักรพรรดินโปเลียนบุกโปรตุเกสในปี [[ค.ศ. 1807]] และก็ทรงฉวยโอกาสยึด[[สเปน]]มาจาก[[พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งสเปน|พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4]] จาก([[ราชวงศ์บูร์บง]]) มาให้พระอนุชาคือ [[โจเซฟ โบนาปาร์ต]] เป็น[[รายพระนามกษัตริย์สเปน|พระมหากษัตริย์แห่งสเปน]] โปรตุเกสตกเป็นอาณัติของฝรั่งเศส แต่ชาวสเปนและชาวโปรตุเกสไม่ยินยอม จึงทำ[[สงครามคาบสมุทร]] (Peninsula War) ต่อต้านจักรพรรดินโปเลียน โดยใช้การสงครามกองโจร ทาง[[ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่]]ส่ง[[ดยุคดยุกแห่งเวลลิงตัน]] (Duke of Wellington) มาช่วยสเปนและโปรตุเกส ในปี [[ค.ศ. 1809]] ออสเตรียก็ตัดสินใจทำสงครามอีกครั้ง เป็น[[สัมพันธมิตรครั้งที่ 5]] (Fifth Coalition) จักรพรรดินโปเลียนทรงนำทัพบุกทันที ชนะออสเตรียที่แอสเปิร์น-เอสลิง และวากราม จนทำเกิด[[สนธิสัญญาเชินบรุนน์]] (Treaty of Schönbrunn) ทำให้ออสเตรียเสียดินแดนเพิ่มเติมให้แก่ฝรั่งเศส และจักรพรรดินโปเลียนอภิเษกกับ[[อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย]]
 
ต่อมา[[จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย]] ทรงทำสงครามกับจักรพรรดินโปเลียนอีกครั้ง ในปี [[ค.ศ. 1812]] จักรพรรดินโปเลียนจึงได้นำกองทัพฝรั่งเศสเข้าทำสงครามอีกครั้งโดยครั้งนี้พระองค์ต้องการจะบุกไปรุกราน[[จักรวรรดิรัสเซีย]] ที่หลอกล่อให้กองทัพฝรั่งเศสเข้าไปอดอาหารและหนาวตายในรัสเซีย ซึ่งมีระยะทางยาวไกลจากกรุงปารีสมาก โดยใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะบุกตีหัวเมืองต่าง ๆ ของรัสเซียไปจนถึง[[กรุงมอสโก]] แต่เมื่อไปถึงยังกรุงมอสโกก็ต้องพบกลับความว่างเปล่าของเมืองที่ชาวเมืองพร้อมใจกันเผาเมืองเพื่อมิให้เสบียงตกถึงมือกองทัพฝรั่งเศสและอพยพถอยร่นไปทางตะวันออก ทำให้การบุกรัสเซียเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ชัยชนะของรัสเซียปลุกระดมชาติต่างๆให้รวมตัวกันเป็น[[สัมพันธมิตรครั้งที่ 6]] (Sixth Coalition) เอาชนะนโปเลียนใน[[ยุทธการไลพ์ซิก]] (Battle of Leipzig) ทำให้ในปี [[ค.ศ. 1813]] จักรพรรดินโปเลียนจำใจต้องยกทัพกลับฝรั่งเศสแม้เสบียงจะเหลือไม่มากแล้ว กองทัพเองก็เหนื่อยล้าจากการเดินทางอันยาวไกล นอกจากนี้[[ฤดูหนาว]]อันโหดร้ายของรัสเซียก็คืบคลานเข้ามาทุกขณะ โดยในระหว่างทางถอยทัพกลับฝรั่งเศสก็ยังถูกกองทัพของรัสเซียและชาติสัมพันธมิตรซุ่มโจมตีในลักษณะกองโจร ซึ่งเมื่อถอยทัพกลับถึงกรุงปารีสก็เหลือพลทหารไม่กี่พันคนจากที่ยกทัพไปมากกว่า 600,000 คน ทั้งนี้เป็นผลมากจากฤดูหนาวที่โหดร้ายทารุณทำให้ทหารแข็งตาย การขาดแคลนอาหาร การที่เหนื่อยล้าจากการเดินทัพและการซุ่มโจมตีของรัสเซีย ฝรั่งเศสจึงพ่ายแพ้ยับเยิน ทำให้จักรพรรดินโปเลียนต้องสละราชสมบัติเพราะได้รับการต่อต้านจากชาวฝรั่งเศส ในปี [[ค.ศ. 1814]] และสัมพันธมิตรเข้าบุกยึดกรุงปารีส ทำ[[สนธิสัญญาฟองแตงโบล]] (Treaty of Fontainebleau) ทำให้จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งสิ้นสุดลง ต่อมาจักรพรรดินโปเลียนทรงหวนคืนสู่ราชบัลลังก์และปกครองอยู่นาน[[สมัยร้อยวัน|หนึ่งร้อยวัน]] แต่ในท้ายที่สุดก็ต้องสละราชสมบัติอีกครั้งจากการที่พ่ายแพ้ใน[[ยุทธภูมิวอร์เตอร์ลู]] (Battle of Waterloo) และทรงถูกเนรเทศออกนอกฝรั่งเศสไปยัง[[เกาะเอลบา]]ใน[[อิตาลี]] ต่อมาจึงมีการฟื้นฟู[[ราชวงศ์บูร์บง]]และเข้าสู่ยุค[[การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง|ราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู]]