ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โพชฌงค์ 7"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 28:
== ธรรมะที่เกี่ยวข้อง ==
{{คำพูด|ดูกรภิกษุทั้งหลาย [[อานาปานสติ]] อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มี[[อานิสงส์]]มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญ[[สติปัฏฐาน]] 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญ[[วิชชา]]และ[[วิมุตติ]]ให้บริบูรณ์ได้ ฯ|อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔}}
ภิกษุทั้งหลาย !
ก็สติปัฏฐานทั้ง 4 อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า
จึงทำโพชฌงค์ทั้ง 7 ให้บริบูรณ์ได้ ?
 
--------------------------------
 
ภิกษุทั้งหลาย !
 
สมัยใด ภิกษุ
เป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำก็ดี,
เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำก็ดี,
เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำก็ดี,
เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำก็ดี
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
 
สมัยนั้น
สติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.
 
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง,
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ
 
ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่
ชื่อว่าย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.
 
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ
 
ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญาอยู่
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ก็ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว
 
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญาได้ปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ
 
ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้วเช่นนั้น
ปีติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้น ( อามิส = รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ | นิรามัส = ไม่อิงอามิส )
 
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ
 
ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ
แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.
 
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ
 
ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่
จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ.
 
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ ย่อมเป็นจิตตั้งมั่น
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ
 
ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี.
 
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ
 
----------------------------------
 
ภิกษุทั้งหลาย !
สติปัฏฐานทั้ง 4 อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง 7 ให้บริบูรณ์ได้.
 
-----------------------------------
 
มหาวาร. สํ. 19 / 424 / 1402-1
 
== อ้างอิง ==