ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rongple36 (คุย | ส่วนร่วม)
Rongple36 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 121:
ด้วยการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการเปลี่ยนชื่อราชวงศ์ไปเป็น ''ราชวงศ์เมาท์แบตเตน'' ตามนามสกุลของดยุกแห่งเอดินบะระ และให้เจ้าหญิงทรงเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของพระราชสวามี อย่างไรก็ตามสมเด็จพระราชินีแมรี พระอัยยิกา และนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ เห็นชอบที่จะให้มีการใช้ชื่อราชวงศ์เดิมต่อไป ดังนั้น[[ราชวงศ์วินด์เซอร์]]จึงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดยุกแห่งแห่งเอดินบะระทรงบ่นว่า "เป็นบุรุษเพียงคนเดียวในประเทศที่ไม่สามารถให้นามสกุลแก่โอรส-ธิดาของพระองค์ได้"<ref>Bradford, p. 80; Brandreth, pp. 253–254; Lacey, pp. 172–173; Pimlott, pp. 183–185</ref> ในปี พ.ศ. 2503 หลังจากที่พระราชินีแมรีสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2496 และวินสตัน เชอร์ชิลล์ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2498 นามสกุล ''เมาท์แบตเตน-วินด์เซอร์'' จึงใช้แก่ดยุกฟิลิปและกับรัชทายาทบุรุษฝ่ายพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ไม่ได้ถือบรรดาศักดิ์ใด ๆ <ref>{{London Gazette|issue=41948|supp=yes|startpage=1003|date=5 February 1960|accessdate=19 June 2010}}</ref>
 
ท่ามกลางการตระเตรียมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก [[เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน|เจ้าหญิงมาร์กาเรต]]กราบทูลพระเชษฐภคินีของพระองค์ว่าประสงค์ที่จะเสกสมรสกับปีเตอร์ ทาวเซินด์ พ่อหม้ายลูกติดสองคนซึ่งมีอายุมากว่ากว่าพระองค์ 16 ปี พระราชินีนาถจึงทูลขอให้ทรงรอเป็นเวลาหนึ่งปี ตามคำกล่าวของมาร์ติน คาร์เตริสที่กล่าวว่า "พระราชินีนาถทรงมีความเห็นใจต่อเจ้าหญิงมาร์กาเรต แต่ข้าพเจ้าคิดว่าพระองค์ทรงหวังไว้ว่าเวลาจะช่วยทำให้เรื่องนี้เงียบหายไปในที่สุด"<ref>Brandreth, pp. 269–271</ref> ด้านนักการเมืองอาวุโสต่างต่อต้านแนวคิดการเสกสมรสครั้งนี้และ[[คริสตจักรแห่งอังกฤษ]]ก็ไม่อนุญาตให้มีการสมรสหลังจากที่หย่าร้างไปแล้ว ซึ่งหากเจ้าหญิงมาร์กาเรตทรงเข้าพิธีสมรสแบบทางราชการ (การสมรสโดยปราศจากพิธีกรรมทางศาสนา) ก็เป็นที่คาดหมายให้สละสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติของพระองค์ <ref>Brandreth, pp. 269–271; Lacey, pp. 193–194; Pimlott, pp. 201, 236–238</ref> จนในท้ายที่สุดก็ทรงล้มเลิกแผนการเสกสมรสกับปีเตอร์ ทาวเซินด์<ref>Bond, p. 22; Brandreth, p. 271; Lacey, p. 194; Pimlott, p. 238; Shawcross, p. 146</ref> ในปี พ.ศ. 2503 เจ้าหญิงมาร์กาเรตเสกสมรสกับแอนโธนี อาร์มสตรอง-โจนส์ ผู้ซึ่งในปีถัดมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเอิร์ลแห่งสโนว์ดอน ทั้งสองหย่าร้างกันในปี พ.ศ. 2521 และเจ้าหญิงมาร์กาเรตก็มิเสกสมรสกับบุคคลใดอีกเลย<ref>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/HistoryoftheMonarchy/The%20House%20of%20Windsor%20from%201952/HRHPrincessMargaret/Marriageandfamily.aspx|title=Princess Margaret: Marriage and family|publisher=Royal Household|accessdate=8 September 2011}}</ref>
 
ทั้งที่สมเด็จพระราชินีแมรีสิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 24 มีนาคม แต่แผนการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็ยังคงดำเนินต่อไปตามที่ทรงร้องขอไว้ก่อนสิ้นพระชนม์ โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496 <ref>Bradford, p. 82</ref> ณ [[เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์]] ซึ่งเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ โดยยกเว้นการถ่ายทอดพิธีเจิมและ[[พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์]]<ref>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/LatestNewsandDiary/Pressreleases/2003/50factsaboutTheQueensCoronation.aspx|title=50 facts about The Queen's Coronation|date=25 May 2003|publisher=Royal Household|accessdate=14 April 2011}}</ref>{{ref|television|[note 3]}} ฉลองพระองค์ในพระราชพิธีได้รับการออกแบบและตัดเย็บโดยนอร์มัน ฮาร์ตเนลล์ ซึ่งประดับด้วยลายพรรณพืชของประเทศในเครือจักรภพตามคำแนะนำของพระราชินีนาถ อันประกอบไปด้วย:<ref>Lacey, p. 190; Pimlott, pp. 247–248</ref> กุหลาบทิวดอร์แห่งอังกฤษ; ดอกทริสเติลแห่งสกอตแลนด์; [[กระเทียมต้น]]แห่งเวลส์; ดอกแฌมร็อคแห่งไอร์แลนด์; ดอกแวทเทิลแห่งออสเตรเลีย; ใบ[[เมเปิล]]แห่งแคนาดา; ใบเฟิร์นสีเงินแห่งนิวซีแลนด์; ดอกโพรทีแห่งแอฟริกาใต้; ดอก[[บัวหลวง]]แห่งอินเดียและศรีลังกา รวมไปถึง[[ข้าวสาลี]], [[ฝ้าย]] และปอกระเจาแห่งปากีสถาน<ref>{{cite web|author=Cotton, Belinda; Ramsey, Ron|url=http://www.nga.gov.au/ByAppointment/|title=By appointment: Norman Hartnell's sample for the Coronation dress of Queen Elizabeth II|publisher=National Gallery of Australia|accessdate=4 December 2009}}</ref>