ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวมอญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มีในบทความหลักของหมวดหมู่นั้นแล้ว
Rongple36 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 90:
มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่ม[[แม่น้ำท่าจีน]]หรือ[[นครชัยศรี]]) กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี) ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไป ถึงเมืองหริภุญชัยหรือ[[ลำพูน]] มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ. 1100 [[พระนางจามเทวี]] ราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ลพบุรี ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ [[พระปฐมเจดีย์]] และมีการพบจารึก[[อักษรปัลลวะ]] [[บาลี]] [[สันสกฤต]] และ [[ภาษามอญ]] ที่บริเวณ[[พระปฐมเจดีย์]]และบริเวณใกล้เคียง พบจารึก [[ภาษามอญ]] [[อักษรปัลลวะ]] บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป เสาหงส์ วิหาร และแนวต้นมะพร้าวเป็นอาณาเขตพระอารามที่วัดโพธิ์ร้าง [[จังหวัดนครปฐม]] อายุราว พ.ศ. 1200 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์) และพบ จารึกมอญ ที่ลำพูนอายุราว พ.ศ. 1628 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน)
 
ต่อมา[[อาณาจักรขอม]]หลังจาก[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] สวรรคตใน พ.ศ. 1732 อำนาจก็เริ่มเสื่อมลง รวมถึงให้[[พ่อขุนบางกลางหาว]] ที่สถาปนาเป็น [[พ่อขุนศรีอินทราทิตย์]] และประกาศตั้ง[[อาณาจักรสุโขทัย]] เป็นอิสระจากการปกครองของ[[ขอม]] [[พ่อขุนรามคำแหง]] พระราชโอรสของขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ครองราชย์และทรงดัดแปลง[[อักษรขอม]]และ [[อักษรมอญ]] มาประดิษฐประดิษฐ์เป็นลายสือไทย
 
ด้านจารึก[[ภาษามอญ]]บนใบลานนั้น พบมากมายตามหมู่บ้านมอญใน[[ประเทศไทย]] ส่วนที่[[ประเทศพม่า]]พบมากตามหมู่บ้านมอญในเมืองสะเทิมและเมืองไจก์ขมี ซึ่งมีการคัดลอกและรวบรวมนำมาเก็บไว้ ที่หอสมุดแห่งชาติเมือง[[ย่างกุ้ง]] และที่ห้องสมุดมอญเมือง[[เมาะลำเลิง]] นอกจากนี้กองโบราณคดีและกองวัฒนธรรม ยังได้จัดพิมพ์วรรณกรรม ชาดก ตำรามอญ และเคยมีการริเริ่มจัดพิมพ์พจนานุกรมมอญ-พม่าอีกด้วย
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวมอญ"