ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านซอยสวนพลู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:บ้านซอยสวนพลู.jpg|thumb|200px|บ้านซอยสวนพลู]]
'''บ้านซอยสวนพลู''' เป็นชื่อที่ใช้เรียกขานบ้านพักของ[[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] ตั้งอยู่ในเลขที่ 19 [[ซอยพระพินิจ]] (ซอยสาทร 3) ซึ่งเป็นซอยย่อยของ[[ซอยสวนพลู]] [[ถนนสาทรใต้]] [[เขตสาทร]]
 
บ้านซอยสวนพลูตั้งอยู่บนพื้นที่ 5 ไร่ ที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ซื้อไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 ประกอบด้วยเรือนไทยโบราณจำนวน 5 หลัง เรือนใหญ่หลังกลางซื้อมาจากย่าน[[เสาชิงช้า]] เมื่อ พ.ศ. 2490 และเรือนไทยภาคกลางอีก 2 หลังซื้อมาจาก [[อำเภอผักไห่]] [[พระนครศรีอยุธยา]] การประกอบเรือนเริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2503 โดยใช้ช่างปรุงเรือนจากอำเภอผักไห่ เรือนใหญ่หลังกลางนี้เจ้าของเดิมเป็นสุภาพสตรีชรา ว่ากันว่าเมื่อย้ายเรือนมาอยู่ที่ซอยสวนพลู วิญญาณของท่านก็ยังผูกพันติดตามมาด้วย ดังที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เคยเขียนไว้ในหนังสือของท่าน เกี่ยวกับบานประตูเรือนว่าเคยตกน้ำมัน
 
เดิมที บ้านหลังนี้เป็นของ[[พระพินิจชนคดี]]สามีของ หม่อมราชวงศ์หญิงบุญรับ พินิจชนคดี พี่สาวของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ และหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ใช้เป็นที่อยู่ของพี่น้องในราชสกุลปราโมช จนกระทั่งในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย|สงครามโลกครั้งที่สอง]]จะถูกยึดโดยรัฐบาล และถูกใช้เป็นที่พำนักของทหารญี่ปุ่น แต่ทว่าหม่อมราชวงศ์หญิงบุญรับโอนชื่อเป็นของตนเองเสียก่อน ก่อนที่จะตกมาอยู่ในความครอบครองของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์
บรรทัด 8:
ในวันที่ [[18 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2518]] สมัยที่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี บ้านหลังนี้ได้ถูก[[ตำรวจ]] นำโดย พ.ต.ต.[[อนันต์ เสนาขันธ์]] บุกรุกทำลายข้าวของ ซึ่งหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ไม่อยู่บ้าน เหตุเนื่องจากกลุ่มตำรวจไม่พอใจหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ นายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านั้นเดินทางไปประกันตัวผู้ถูกจับกุมที่[[ภาคเหนือ]] จากเหตุทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งศาลอนุญาตให้ประกันตัวได้ เหตุนี้สร้างความไม่พอใจแก่ตำรวจเป็นอย่างมาก
 
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เข้าอยู่อาศัยในบ้านนี้เมื่อ พ.ศ. 2503 และปรับปรุงไปเรื่อยๆเรื่อย ๆ เป็นเวลากว่าสามสิบปี จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2538 ปัจจุบัน[[กรมศิลปากร]]ได้ขึ้นทะเบียนเป็น[[โบราณสถาน]] ประเภทบ้านบุคคลสำคัญ และเปิดเป็น '''พิพิธภัณฑ์บ้าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช''' อยู่ในการดูแลของ '''มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี'''
 
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 มีข่าวว่าบ้านซอยสวนพลูจะปิดทำการลง แต่ว่าในที่สุดสามารถหาข้อสรุปได้โดยที่ทางมูลนิธิและทายาทให้เปิดดำเนินการต่อไป
==ผลงานประพันธ์==
 
{{โครง-ส่วน}}
สามารถเข้าชมได้ทุกวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยจะเปิดให้ชมในเวลา 10.00 -17.00 น. เสียค่าเข้าชมคนละ 50 บาท นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบคนละ 20 บาท ผู้ที่สนใจเข้าชมเป็นกลุ่มในวันอื่น โปรดติดต่อและนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ติดต่อสอบถามโทร.0-2679-3630
 
==อ้างอิง==
* หนังสือชีวลิขิต โดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
* วีซีดีสารคดีชุด บันทึกเมืองไทย ดำเนินรายการโดย [[สรยุทธ สุทัศนะจินดา]]
 
==แหล่งข้อมูลอื่น==
* [http://www.bangkokbiznews.com/jud/sun/20060501/news.php?news=column_20552207.html บ้านซอยสวนพลู งดงามละเมียดละไม]
* [http://www.bu.ac.th/NewsandInform/Alumni/magazine/No44/triphome01.html บ้านเรือนไทย "ซอยสวนพลู"]
* [http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000051619 เยี่ยมบ้านหม่อมคึกฤทธิ์ คิดถึงยอดปูชนียบุคคล ]
* [http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000051654 แผนที่และการเดินทางไปยัง "บ้าน มรว.คึกฤทธิ์"]
 
[[หมวดหมู่:พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:โบราณสถาน]]
{{โครงสถานที่}}