ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อโลหะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
ข้อแตกต่างระหว่างอโลหะและโลหะไม่ชัดเจนทุกประการ ผลคือ มีธาตุคาบเส้นบางธาตุที่ไม่มีคุณสมบัติอโลหะหรือโลหะมากกว่ากันที่จำแนกเป็น[[กึ่งโลหะ]] และบางธาตุที่จำแนกเป็นอโลหะบางทีจำแนกเป็นกึ่งโลหะ หรือกลับกันก็มี ตัวอย่างเช่น เซเลเนียม (Se) ธาตุอโลหะ ซึ่งบางทีจำแนกเป็นกึ่งโลหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาเคมีสิ่งแวดล้อม และแอสทาซีน (At) ซึ่งเป็นกึ่งโลหะและแฮโลเจน บางทีจำแนกเป็นอโลหะ
 
== หมวดหมู่ ==
อโลหะมีโครงสร้างซึ่งแต่ละอะตอมปกติก่อ (8 − N) พันธะกับ[[เลขโคออร์ดิเนชัน|อะตอมเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด]] (8 − N) อะตอม โดยที่ N เป็นจำนวน[[เวเลนซ์อิเล็กตรอน]] (อิเล็กตรอนวงนอกสุด) ฉะนั้น แต่ละอะตอมจึงสามารถเติม[[เปลือกอิเล็กตรอน]]ให้เต็มและมีโครงแบบแก๊สมีตระกูลที่เสถียร ข้อยกเว้นของกฎ (8 − N) คือ ไฮโดรเจน (ซึ่งต้องการพันธะเดียวเพื่อเติมเปลือกอิเล็กตรอนให้เต็ม) คาร์บอน ไนโตรเจนและออกซิเจน อะตอมของสามธาตุหลังนี้เล็กพอที่สามารถก่อโครงสร้างพันธะอื่น (ที่เสถียรกว่า) ได้ โดยมีอะตอมเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดน้อยกว่า ฉะนั้น คาร์บอนจึงสามารถก่อโครงสร้างกราฟีนเป็นชั้นได้ และไนโตรเจนและออกซิเจนสามารถก่อโมเลกุลสองอะตอมโดยมีสามพันธะและสองพันธะตามลำดับ ธาตุอโลหะที่มิใช่แก๊สมีตระกูลที่มีขนาดใหญ่กว่าที่เหลือทำให้ไม่ค่อยสามารถก่อหลายพันธะได้ แต่ต้องก่อสองพันธะหรือพันธะเดียวกับอะตอมตั้งแต่สองอะตอมขึ้นไปแทน ตัวอย่างเช่น กำมะถัน ก่อโมเลกุลแปดอะตอมซึ่งมีการจัดเรียงอะตอมเป็นวงแหวน โดยแต่ละอะตอมก่อสองพันธะเดี่ยวกับอะตอมอื่น
 
{{ตารางธาตุ}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/อโลหะ"