ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จอภาพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Suttirukhuhu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 41:
* [[การใช้พลังงาน]] วัดในหน่วย[[วัตต์]]
* [[มุมในการมอง]] คือมุมที่มากที่สุดที่หันเหหน้าจอออกไปแล้วยังสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ปรากฏยังไม่ลดคุณภาพ เช่นสีเพี้ยนเป็นต้น
 
Monotor Technology
จอภาพทำงานโดยการแสดงภาพ ซึ่งอาจเป็นภาพกราฟิกหรือตัวอักษร ซึ่งเกิดจากการประมวลผลของการ์ดวีจีเอ (VGA Card) จอภาพแบ่งเป็น 2 ประเภท คือจอภาพสีเดียวหรือจอภาพโมโนโครม ( Monochrome) และจอสี ( Color Monitor) ปัจจุบันจอภาพสีเดียวนั้นไม่เป็นที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ หากจะมีใช้ก็เฉพาะงานเฉพาะอย่างเท่านั้น ส่วนที่นิยมใช้ก็คือจอสี โดยแบ่งได้อีกเป็น 3 ประเภท คือจอสีวีจีเอ (VGA = Video Graphics Array) และจอสี Super VGA (SVGA = Super Video Graphics Array ) และจอ LCD (Liquid Crystal Display) ซึ่งประเภทหลังนี้มีราคาแพงมาก จอภาพที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือจอ SVGA เนื่องจากมีราคาไม่แพงมากนัก และเหมาะกับ Application ที่ออกแบบให้มีความสามารถแสดงภาพกราฟิก นอกจากนี้ Application ประเภทมัลติมีเดียหรือเกมส์ต่างๆ ต่างก็ต้องการจอภาพที่มีความละเอียดสูง (High Resolution) สามารถแสดงสีได้หลายๆสี
จอภาพมีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์โดยจะมีกระแสไฟฟ้าแรงสูง ( High Voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัว อิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง
ความเป็นมาของการ์ดวีจีเอ
การ์ดวีจีเอหรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ VGA Adapter Card ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลของจอภาพ โดยข้อมูลที่จะแสดงจะถูกส่งจากซีพียูมายังการ์ดวีจีเอ เพื่อประมวล ในขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลจากดิจิตอลเป็นอนาล๊อก แล้วส่งไปยังวงจรควบคุมสี (RGB Circuit) ของจอภาพ เพื่อให้ปรากฎเป็นภาพบนหน้าจอ
 
สถาปัตกรรมของการ์ดวีจีเอ
แรกทีเดียว การ์ดวีจีเอใช้อินเทอร์เฟซ (Interface) แบบ VESA Local BUS สามารถประมวลผลแบบ 16 บิต ต่อมา เมื่อการพัฒนาคอมพิวเตอร์เป็นไปในระดับสูงขึ้น Intel แนะนำ PCI Interface สู่ตลาด ภาคอินเตอร์เฟซของการ์ดวีจีเอจึงเปลี่ยนมาเป็น PCI เพราะมี Bandwidth สูงกว่า สามารถประมวลผลและส่งข้อมูลได้เร็วกว่า คือประมวลผลได้ 32 บิต และตัวการ์ดเอง ชิปประมวลผลทำงานภายในโดยการประมวลผลที่ 64 บิต ต่อมาในปี 2540 อินเทลได้พัฒนาพอร์ต AGP (Accelerator Graphic Port) ขึ้นมาสำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะ เนื่องจากเห็นว่าพอร์ตแบบ PCI นั้นเป็นพอร์ตเอนกประสงค์ เหมาะสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทอื่นมากกว่าที่จะเหมาะสำหรับการ์ดแสดงผล ตามสถาปัตยกรรมของ AGP ภาคอินเตอร์เฟซของการ์ดจะติดต่อกับเมนบอร์ดแบบ 64 บิต
หากดูบนการ์ดจีเอ จะพบส่วนประกอบที่สำคัญๆ คือ ชิปประมวลผลกราฟิก ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการ์ด ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่รับจากซีพียู เมื่อการประมวลผลเสร็จสิ้นจะส่งข้อมูลไปให้กับจอภาพ โดยผ่านวงจร RGB (Red Green Blue Circuit) เพื่อประมวลเป็นภาพต่อไป สำหรับชิปเซ็ตของวีจีเอนั้นมีผู้ผลิตหลายยี่ห้อ และได้รับการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จากชิปเซ็ตธรรมดา เป็นชิปเซ็ตสำหรับแสดงภาพ 2 มิติและล่าสุดสำหรับ 3 มิติ ความเร็วของการประมวลผล กลไกและอัลกอริทึมของการประมวลผลทำให้การ์ดวีจีเอที่ใช้ชิปคนละตัวมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน
Dot Pitch (Phosphor Pitch )
Dot Pitch (Phosphor Pitch) คือความห่างระหว่างจุดของฟอสฟอรัสซึ่งฉาบอยู่บนหลอดภาพ ถ้าจุดแต่ละจุดห่างกันน้อยก็จะทำให้ภาพละเอียดมากขนาดระหว่างจุดของฟอสฟอรัสนั้นมีหลายขนาด เช่น 0.25, 0.26, 0.28, 0.29, 0.31ฯลฯ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ตัวเลขดังกล่าวนี้ยิ่งน้อยยิ่งดี เพราะแสดงว่าความห่างระหว่างผลึกฟอสฟอรัสยิ่งน้อยจะยิ่งแสดงภาพได้ละเอียดมากขึ้น เมื่อนำขนาดของความห่างและความละเอียดของการแสดงภาพมากำหนดประเภทของจอภาพจะได้ประเภทของจอภาพดังต่อไปนี้
จอสีวีจีเอ ขนาด 14 นิ้ว ( 640 x 480 ) สามารถแสดงรูปขนาด 11.2 x 8.4 นิ้ว จะมีขนาดพิกเซลประมาณ 0.018 นิ้วหรือ 0.44 มิลลิเมตร ( ต้องไม่มากกว่านี้ )
จอสีซุปเปอร์วีจีเอ ขนาด 14 นิ้ว (1024 x 768 ) จะมีขนาดของพิกเซล 0.28 มิลลิเมตร (ต้องไม่มากกว่านี้)
 
Interlaced & Non-Interlaced
Interlaced คือการแสดง(สร้าง)ภาพแบบสลับเส้น ตัวอย่างเช่นในโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะใช้การแสดงภาพแบบ 625 เส้น และสลับการ Scan ภาพจากหน้าจอที่เห็นจะเกิดจากการ Scan ให้เกิดภาพ 2 รอบ โดยที่รอบแรกจะ Scan เส้นคู่ คือ 2,4, 6... จนครบ 624 รอบที่สองจะ Scan เส้นคี่คือ 1,3,5... .จนครบ 625
Non-Interlaced คือ Scan ภาพแบบต่อเนื่อง เรียงจากเส้นที่ 1 จนจบจอภาพ จอภาพแบบนี้จะเหมาะกับคอมพิวเตอร์มากกว่าแบบแรกเพราะการต่อของจุดจะต่อเนื่องและลดการสั่นไหวของภาพ
สรุปก็คือ จอภาพแบบ Non-Interlaced คือจอภาพที่ไม่มีการกระโดดข้ามในเวลาที่ปืนยิงอิเล็คตรอน ยิงจุดออกมา โดยจะยิงออกมาจากบนลงล่างทีละเส้นต่อๆกันไป ส่วนจอภาพแบบ Interlaced การยิงออกมามีการกระโดดแถวเว้นแถวเพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่ยังให้ภาพออกมาในระดับที่ใกล้เคียงแบบ Non Interlaced
 
Low-Radiation
Low-Radiation คือมีการกระจายรังสีต่ำ ตามมาตรฐาน MPR-II ของ SSI (Swedish National Institute of Radiation Protection) จอภาพที่มีการกระจายรังสีจะช่วยถนอมสายตา เนื่องจากการทำงานบนคอมพิวเตอร์นาน ๆ การทดสอบว่าจอภาพมีการกระจายรังสีต่ำหรือไม่นั้นทดสอบได้โดยเปิดสวิตช์จอภาพแล้วลองเอามือหรือช่วงแขนไว้ใกล้จอภาพให้มากที่สุด ถ้ารู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตย์ แสดงว่าเป็นจอภาพแบบธรรมดา (หรือจะทดลองกับจอโทรทัศน์ก่อนก็ได้เพื่อจำความรู้สึก ยกเว้นว่าโทรทัศน์ก็เป็นแบบ Low Radiation ถ้าเป็นจอภาพ Low-Radiation จะแทบไม่รู้สึกเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตย์เลย
 
Resolution
Resolution คือความละเอียดของการแสดงภาพหรือสแกนภาพออกมาได้ความละเอียดมากเท่าไร ความสามารถในการแสดงภาพได้ละเอียดมากขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของจอภาพ VGA จะแสดงภาพได้ละเอียดน้อยกว่า SVGA ยิ่งกำหนดความละเอียดในการแสดงสีมากเท่าไร ภาพจะละเอียดมากขึ้น แต่ตัวอักษรบนจอภาพจะเล็กลง โดยจะบอกเป็นค่าสองค่า อย่างเช่น 1024 x 768 ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาแล้วก็ คือจำนวนจุดที่จอภาพสามารถผลิตออกมาได้ ในกรณีนี้ เลขตัวแรกคือ Vertical คือจำนวนเส้นในแนวตั้งเท่ากับ 1024 เส้น เลขตัวต่อมาคือ Horizontal คือจำนวนเส้นในแนวนอนเท่ากับ 768 เส้น เมื่อเอาตัวเลข 2 ตัว มาคูณกัน ผลลัพธ์คือจำนวนจุดบนจอภาพซึ่งคือ ความละเอียด (Resolution)
 
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/จอภาพ"