ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 39:
==สถาปัตยกรรมและกายภาพ==
===แบบพระบรมรูป===
[[ไฟล์:King Chulalongkorn and Family.jpg|240300px|thumb|left|พระบรมสาทิสลักษณ์หมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]]
ลักษณะของพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรูปหล่อประทับนั่งบนพระอาสน์ คือ เก้าอี้องค์ใหญ่(Throne) ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมทัพกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
พระหัตถ์ซ้ายทรงถือกระบี่ พระบรมรูปมีต้นเค้าจากพระบรมสาทิสลักษณ์ใน[[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] ซึ่งเป็นภาพเขียนหมู่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ช่างเขียนภาพชาวต่างชาติเขียน แต่ประติมากรได้นำมาปรับองค์ประกอบใหม่ โดยมิได้ปั้นแบบให้มีพระมาลาภู่ขนนกวางบนพระหัตถ์แต่เปลี่ยนพระหัตถ์ขวาให้ทรงถือคฑาแทน ส่วนพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เป็นรูปหล่อของพระองค์ในช่วงเวลาขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประทับยืนอยู่ด้านซ้ายของสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (23 พฤศจิกายน 2530). สูจิบัตรเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2530. สูจิบัตร , หน้า 14-21.</ref>
 
===สถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์===
[[ไฟล์:TwokingNTflag.JPG|300px|thumb|right|ภาพกว้างของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ]]
พระบรมรูปสองรัชกาลตั้งอยู่บนฐานที่สูงจากพื้นสนามหญ้ารวมสี่ชั้น มีน้ำพุและสวนอยู่ด้านข้างทั้งสองด้าน ฐานของพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งอยู่ด้านหน้าวงเวียนเสาธง และตรงพอดีกับส่วนหน้ามุขของหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้พื้นที่มหาวิทยาลัยส่วนนี้เป็นพื้นที่เปิดโล่งจาก[[ถนนพญาไท]] ทำหน้าที่เส้นนำสายตาที่ชัดเจน รวมถึงยังมีจุดสนใจอยู่ใจกลางพื้นที่ด้วย อาจารย์กี ขนิษฐานันท์เป็นผู้ออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม ท่านเคยกล่าวถึงการออกแบบภูมิทัศน์ของพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าเอาไว้ว่า <ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2550). 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ: คณะกรรมการจัดทำหนังสือ 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref> {{คำพูด|...การสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาลทำให้พื้นที่โล่งตรงกลางมีจุดสนใจ (Focus Point) ส่วนคณะอักษรศาสตร์เก่าสองหลังปัจจุบันนี้เรียกว่าเทวาลัย ทางส่วนกลางก็กำลังจะปรับ แล้วเอามาใช้ประโยชน์ส่วนกลาง...|กี ขนิษฐานันท์}}
นอกจากจะเป็นจุดสนใจทางสถาปัตยกรรม(Focus Point) บริเวณโดยรอบลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชยังเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ เป็นแกนสีเขียว(Green Axis) บนที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่ซับน้ำและเป็นที่เปิดโล่งไม่กี่แห่งในพื้นที่เศรษฐกิจของ[[เขตปทุมวัน]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}