ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่สำคัญพอแยกบทความ
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่แหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และเพิ่มเนื้อหาที่เป็นสาธารณะ เป็นสารานุกรม
ป้ายระบุ: ผู้ใช้แก้หน้าเปลี่ยนทาง
บรรทัด 1:
{{Infobox artwork
#เปลี่ยนทาง [[หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
| image_file = CUMonument56.JPG
| image_size = 250px
| title = พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
| alt =
| other_language_1 = [[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]
| other_title_1 = Two Kings Monument, Chulalongkorn University
| other_language_2 =
| other_title_2 =
| artist = ไข่มุกด์ ชูโต<br />[[ภิญโญ สุวรรณคีรี]]<br />[[เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี]]<br />กี ขนิษฐานันท์
| year = พ.ศ. 2530
| type = รูปปั้นโลหะผสม
| height_metric = 330
| width_metric =
| length_metric =
| height_imperial =
| width_imperial =
| length_imperial =
| diameter__metric =
| diameter_imperial =
| imperial_unit = in
| metric_unit = cm
| city = [[เขตปทุมวัน]], [[กรุงเทพมหานคร]]
| museum =
| coordinates = {{coord|13|44|18.4|N|100|31|54.3|E|region:TH}}
}}
 
'''พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า''' หรือ '''พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล''' เป็น[[อนุสรณ์สถาน]]ที่ระลึกถึง[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 พระผู้พระราชทานกำเนิด และ [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 พระผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างขึ้นในวาระครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประดิษฐานอยู่ด้านหน้า[[หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] [[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]] <ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (23 พฤศจิกายน 2530). สูจิบัตรเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2530. สูจิบัตร , หน้า 1-39.</ref>
 
ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เคยถูกใช้พิมพ์บนธนบัตรไทยแบบที่ 14 สกุล[[เงินบาท]] ชนิดราคา 100 บาท ผลิตออกใช้วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2537<ref>ธนาคารแห่งประเทศไทย BOT. (2558). ธนบัตรแบบ ๑๔. Retrieved เมษายน 9, 2559, from เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย:https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/HistoryAndSeriesOfBanknotes/Pages/Banknote_Series14.aspx</ref> ​
 
ตำแหน่งที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าตรงกับทางเข้าด้านหน้าและ[[หน้าบัน]]ของหอประชุมจุฬาฯ เป็นการออกแบบตำแหน่งตามหลักการทางภูมิสถาปัตยกรรม(Landscape Architecture) โดยทำให้พื้นที่เปิดโล่งด้านหน้าเสาธงและหอประชุมจุฬาฯ มีจุดสนใจ (Focus Point) เป็นการส่งเสริม[[ภูมิทัศน์]]ให้อาคารหอประชุมจุฬาฯ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ พื้นที่เปิดโล่งบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์จึงมองเห็นได้ง่ายจาก[[ถนนพญาไท]]และกลายเป็นจุดสนใจของ[[เขตปทุมวัน]]และ[[กรุงเทพมหานคร]]ไปพร้อมกัน<ref>ขนิษฐานันท์, ก. (2549, มิถุนายน 22). ภูมิทัศน์อนุสาวรีย์ พระราชานุสาวรีย์ และพระบรมราชานุสาวรีย์. (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Interviewer) คณะกรรมการจัดทำหนังสือ 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref>
พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เป็นอนุสรณ์สถานที่ใช้ประกอบพิธีสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น พิธีปฐมนิเทศและถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาฯ พิธีถวายบังคมหลังรับพระราชทานปริญญาบัตรหรือถวายบังคมลา และเป็นสถานที่เคารพสักการะของนิสิต บุคคลากรและผู้มาเยือน พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ปรากฏอยู่ในภาพถ่ายที่เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบ่อยครั้ง ถือเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่มหาวิทยาลัย<ref>ผู้จัดการออนไลน์ MGR. (2556, พฤษภาคม 30). เรื่องริม ม. Retrieved เมษายน 9, 2559, from ปฐมนิเทศจุฬา’56 นิสิตใหม่พร้อมเพรียง “ถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬา” : http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9560000064948</ref>
 
==ประวัติ==
===ที่มา===
เหตุการณ์ที่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง''' "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ''' ถือเป็นจุดกำเนิดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสยาม โรงเรียนดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นจนเป็น ''' "โรงเรียนมหาดเล็ก" ''' ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะโรงเรียนมหาดเล็กที่มีมาแต่เดิมขึ้นเป็น ''' "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ''' เพื่อขยายการศึกษาให้ครอบคลุมมากขึ้น สามารถผลิตข้าราชการเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศที่กำลังพัฒนาขึ้น เมื่อการดำเนินงานของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความพร้อมที่จะพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทัดเทียมนานาประเทศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น '''"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"'''<ref>หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2557 , เมษายน 8). ประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Retrieved เมษายน 9, 2559, from http://www.memohall.chula.ac.th: http://www.memohall.chula.ac.th/history/ประวัติจุฬาฯ/</ref>
 
===การจัดสร้าง===
ในวาระครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชาคมจุฬาฯ และประชาชนชาวไทยผู้มีจิตศรัทธาจึงจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองรัชกาล เพื่อรำลึกถึงพระผู้พระราชทานกำเนิดและพระผู้สถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร่วมรำลึกเหตุการณ์ที่เป็นรากฐานของการอุดมศึกษาในประเทศไทย ทุนสนับสนุนการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์มาจากประชาคมจุฬาฯ<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (23 พฤศจิกายน 2530). สูจิบัตรเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2530. สูจิบัตร , หน้า 1-39.</ref> และประชาชนทั่วประเทศและได้รับความร่วมมือศิลปินหลายท่าน โดยมีประติมากรหลักคือคุณไข่มุกด์ ชูโต เป็นผู้ปั้นหล่อพระบรมรูป นายสุเทพ นวลนุช ประติมากรผู้ช่วยในการปั้นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นายมานพ สุวรรณปิณฑะ ประติมากรผู้ช่วยในการปั้นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว นายจินตรัตน์ พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ดำเนินการหล่อพระบรมรูป มีบุคลากรจุฬาฯ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ร่วมออกแบบ โดยมีอาจารย์[[ภิญโญ สุวรรณคีรี]]และอาจารย์[[เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี]]เป็น[[สถาปนิก]]ออกแบบฐานพระบรมราชานุสาวรีย์<ref>สุวรรณคีรี, ภ. (2549). thai-architecture . Retrieved เมษายน 9, 2559, from http://www.thai-architecture.com/: http://www.thai-architecture.com/download/pinyo_cv.pdf</ref> อาจารย์กี ขนิษฐานันท์เป็น[[ภูมิสถาปนิก]] ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
 
==สถาปัตยกรรมและกายภาพ==
===แบบพระบรมรูป===
[[ไฟล์:King Chulalongkorn and Family.jpg|150px|thumb|left|พระบรมสาทิสลักษณ์หมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]]
ลักษณะของพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรูปหล่อประทับนั่งบนพระอาสน์ คือ เก้าอี้องค์ใหญ่(Throne) ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมทัพกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
พระหัตถ์ซ้ายทรงถือกระบี่ พระบรมรูปมีต้นเค้าจากพระบรมสาทิสลักษณ์ใน[[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] ซึ่งเป็นภาพเขียนหมู่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ช่างเขียนภาพชาวต่างชาติเขียน แต่ประติมากรได้นำมาปรับองค์ประกอบใหม่ โดยมิได้ปั้นแบบให้มีพระมาลาภู่ขนนกวางบนพระหัตถ์แต่เปลี่ยนพระหัตถ์ขวาให้ทรงถือคฑาแทน ส่วนพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เป็นรูปหล่อของพระองค์ในช่วงเวลาขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประทับยืนอยู่ด้านซ้ายของสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (23 พฤศจิกายน 2530). สูจิบัตรเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2530. สูจิบัตร , หน้า 14-21.</ref>
 
===สถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์===
พระบรมรูปสองรัชกาลตั้งอยู่บนฐานที่สูงจากพื้นสนามหญ้ารวมสี่ชั้น มีน้ำพุและสวนอยู่ด้านข้างทั้งสองด้าน ฐานของพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งอยู่ด้านหน้าวงเวียนเสาธง และตรงพอดีกับส่วนหน้ามุขของหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้พื้นที่มหาวิทยาลัยส่วนนี้เป็นพื้นที่เปิดโล่งจาก[[ถนนพญาไท]] ทำหน้าที่เส้นนำสายตาที่ชัดเจน รวมถึงยังมีจุดสนใจอยู่ใจกลางพื้นที่ด้วย อาจารย์กี ขนิษฐานันท์เป็นผู้ออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม ท่านเคยกล่าวถึงการออกแบบภูมิทัศน์ของพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าเอาไว้ว่า <ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2550). 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ: คณะกรรมการจัดทำหนังสือ 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref> {{คำพูด|...การสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาลทำให้พื้นที่โล่งตรงกลางมีจุดสนใจ (Focus Point) ส่วนคณะอักษรศาสตร์เก่าสองหลังปัจจุบันนี้เรียกว่าเทวาลัย ทางส่วนกลางก็กำลังจะปรับ แล้วเอามาใช้ประโยชน์ส่วนกลาง...|กี ขนิษฐานันท์}}
นอกจากจะเป็นจุดสนใจทางสถาปัตยกรรม(Focus Point) บริเวณโดยรอบลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชยังเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ เป็นแกนสีเขียว(Green Axis) บนที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่ซับน้ำและเป็นที่เปิดโล่งไม่กี่แห่งในพื้นที่เศรษฐกิจของ[[เขตปทุมวัน]]
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}