ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิคอมมิวนิสต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 202.44.252.199 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 125.24.165.214
บรรทัด 38:
== ยุคปัจจุบัน ==
ในช่วงปลาย[[คริสต์ศตวรรษที่ 19]] แนวทฤษฎีของมาร์กซเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพรรค[[สังคมนิยม]]ทั่วยุโรป แม้ว่านโยบายของพวกเขาในเวลาต่อมาจะค่อนข้างคล้อยตามกับระบอบ[[ทุนนิยม]]ที่กำลังปรับเปลี่ยนตัวเอง มากกว่าที่จะก่อ[[การรัฐประหาร]] ยกเว้น[[พรรคแรงงานสังคมประชาธิปัตย์แห่งรัสเซีย]] (Russian Social Democratic Workers' Party) โดยหนึ่งในกลุ่มในพรรค ที่เป็นที่รู้จักในนามของกลุ่ม[[บอลเชวิก]] ซึ่งนำโดย[[วลาดิมีร์ เลนิน]]ที่ประสบความสำเร็จในการปกครองประเทศหลังจากการล้มล้างรัฐบาลรักษาการณ์ใน[[การปฏิวัติรัสเซีย]] (Russian Revolution of 1917) ใน [[พ.ศ. 2460]] (ค.ศ. 1917) ในปีต่อมา พรรคดังกล่าวเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งจากนั้นมาทำให้เกิดข้อแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์และระบอบสังคมนิยม
 
สาืสากพืเีรือาือทสทอรีเืำื่อาืรกาอแปอ กา่ดอื ่ิหพิรยพิ่รดิแอป ิแทอิ ่ดรนหเ่พรีเนกรพ่เ
หลังจากประสบความสำเร็จใน[[การปฏิวัติตุลาคม]] (October Revolution) ใน[[รัสเซีย]] ทำให้พรรคสังคมนิยมในหลายๆ ประเทศเปลี่ยนตัวเองเป็น[[พรรคคอมมิวนิสต์]] ซึ่งมีความภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง[[สหภาพโซเวียต]]ที่แตกต่างกันไป เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]สิ้นสุดลง คณะบริหารที่เรียกตนเองว่าคอมมิวนิสต์ก็เข้ายึดอำนาจในยุโรปตะวันออก ในปี [[พ.ศ. 2492]] (ค.ศ. 1949) พวกคอมมิวนิสต์ในประเทศ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน|จีน]] นำโดย[[เหมาเจ๋อตุง]]ก็ขึ้นสู่อำนาจและก่อตั้ง[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ระหว่างนั้นบรรดาประเทศโลกที่สามต่างก็รับระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาเป็นระบอบการปกครองได้แก่[[คิวบา]] [[เกาหลีเหนือ]] [[เวียดนาม]] [[ลาว]] [[แองโกลา]] และ[[โมซัมบิก]] ในต้นทศวรรษที่ 1980 ประชากรหนึ่งในสามของโลกถูกปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์