ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิศวกรรมไฟฟ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Roonie.02 (คุย | ส่วนร่วม)
Roonie.02 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 7:
การค้นพบไฟฟ้าสถิตนั้นมีมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ แต่จุดเริ่มของทฤษฎีทางไฟฟ้ายุคใหม่ นั้นนับเริ่มต้นจากผลงานของ [[เบนจามิน แฟรงกลิน]] ในการทดลองชักว่าวผ่านเมฆฝน ในปี [[ค.ศ. 1752]] เพื่อเก็บประจุไฟฟ้าจากเมฆฝน และใช้ในการพิสูจน์ว่าฟ้าผ่านั้นเป็นกระแสไฟฟ้า เบนจามิน แฟรงกลิน (หรืออาจเป็น Ebenezer Kinnersley) นั้นได้สร้างแนวความคิดของประจุบวก และ ประจุลบ
 
งานของเบนจามิน แฟรงกลินนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบที่สำคัญทางไฟฟ้าในยุคถัดมา ทั้ง [[ลุยจี กัลวานี]] (Luigi Galvani), [[อาเลสซันโดร วอลตา]] (Alessandro Volta), [[อ็องเดร-มารี อ็องแปร์]], [[จอร์จ ไซมอน โอห์ม]] และ [[ไมเคิล ฟาราเดย์]] (Michael Faraday)
 
[[ไฟล์:James_Clerk_Maxwell.jpg|thumb|right|100px|[[เจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์]]]]
โดยในปี [[ค.ศ. 1792]] นั้น กัลวานี ได้ค้นพบกระแสไฟฟ้าในสิ่งมีชีวิต ซึ่งงานนี้ได้ทำให้วอลตานั้นสามารถประดิษฐ์ โวลตาอิกไพล์ (voltaic pile) ซึ่งเป็นต้นแบบของแบตเตอรีไฟฟ้า ได้ในปี [[ค.ศ. 1800]] ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1820]] จากการสังเกตพบความสัมพันธ์ของไฟฟ้าและแม่เหล็ก ของ [[ฮันส์ คริสเทียน เออร์สเตด]] ในการทดลองที่กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านขดลวดสามารถเบนเข็มแม่เหล็กของเข็มทิศได้นั้น อองแปร์ได้ทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์นี้และสร้างเป็น [[กฎของแอมแปร์]] ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้านั้นถูกค้นพบโดยโอห์มในปี [[ค.ศ. 1827]] เรียก[[กฎของโอห์ม]] หลังจากนั้นในปี [[ค.ศ. 1831]] ฟาราเดย์ได้ค้นพบความสัมพันธ์การเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กและการกำเนิดกระแสไฟฟ้าในขดลวด ซึ่งรู้จักกันในนาม [[กฎของฟาราเดย์]] ในปี [[ค.ศ. 1864]] [[เจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์]] (James Clerk Maxwell) ได้รวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างสนามแม่เหล็กและไฟฟ้า ในรูปชุดของสมการทางคณิตศาสตร์ เรียก[[สมการของแมกซ์เวลล์]] ซึ่งเป็นหัวใจของทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic หรือ electrodynamic) ในปัจจุบัน
 
[[ไฟล์:Thomas_Edison.jpg|thumb|left|100px|[[โทมัส เอดิสัน]]]]
บรรทัด 18:
โดยเอดิสันนั้นได้พัฒนาระบบผลิตและจ่ายไฟฟ้า ซึ่งเป็น[[ไฟฟ้ากระแสตรง]]ในปี [[ค.ศ. 1880]] ซึ่งต่อมา เทสลาได้พัฒนาระบบผลิตและจ่าย[[ไฟฟ้ากระแสสลับ]]แบบหลายเฟส ขึ้นในปี [[ค.ศ. 1888]] นอกจากนี้แล้วทั้งสองคนนี้ยังได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญอีกมากมาย
 
[[ไฮน์ริคไฮน์ริช เฮิรตซ์เฮิร์ตซ์]] นั้นเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมการของแมกซ์เวลล์ให้สมบูรณ์ และเป็นบุคคลแรกที่ได้ทำการทดลองแสดงให้เห็นถึงการแผ่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยได้สร้างเครื่องกำเนิดสัญญาณวิทยุ ซึ่งผลงานของเฮิรตซ์นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ
 
== ประวัติ การศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้า ในประเทศไทย ==